Advertisement
ชนใดไม่มีประวัติศาสตร์ ชนนั้นไม่มีอนาคต” ซึ่งในโลกการบินก่อนที่จะมีการพัฒนามาจนถึงปัจจุบันนั้น ได้มีการคิดค้นทดลองและเสี่ยงตายมาหลายท่าน บ้างก็บาดเจ็บ บ้างก็เสียชีวิตในขณะทำการทดลอง จนในปัจจุบันได้มีการนำเอาผลการคิดค้นทดลองของบุคคลผู้เสียสละมาพัฒนาให้ก้าวหน้าและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น จึงถือได้ว่าบุคคลที่เสียสละไปนั้นเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่าในประวัติศาสตร์การบิน
ในยุคเริ่มแรกเลยนั้น มนุษย์มีความคิดที่จะบินได้ดั่งนก ซึ่งปรากฎหลักฐานในเทพนิยายกรีกมีความว่า ไดดารัสและอิคารัส สองพ่อลูกถองจองจำไว้ในคุกที่เกาะครีตได้นำขนนกมาทาขี้ผึ้งและติดไว้ที่แขนเพื่อบินหนีออกจากคุก ในที่สุดก็ได้บินหนีออกจากคุกสำเร็จ แต่ทว่าเขาได้สนุกกับการบินมากเกินไปจึงได้เบินเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์มากจนเกินไป ขี้ผึ้งที่ทาไว้ได้ละลายจนทำให้ขนนกหลุดออกมา เขาจึงตกลงมาตาย ในปี ค.ศ. 1060 บาทหลวงไอเมอร์ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ ได้เลียนแบบนกโดยติดปีกไว้ที่แขนและขาโดยโดลงมาจากยอดอาราม ผลปรากฏว่าเสียชีวิตคาที่
สองรูปนี้เป็นภาพวาดของสองพ่อลูกไดดารัสกับอิคารัส
ในปี ค.ศ. 1486 Leonado Da Vinci ได้วาดภาพบนผืนผ้าเลียนแบบปีกนก ซึ่งสามารถกระพือได้ มีชื่อว่า Ornithopter ปัจจุบันคือ Helicopter (Heli มาจากภาษากรีกแปลว่า ลอย Copter แปลว่าหมุน)
ต่อมาในปี 1853 Sir George Caylay วิศวกรชาวอังกฤษเป็นบุคคลแรกที่เห็นว่าการใช้ปีกนกไม่ได้ผล เนื่องจากมนุษย์เราใช้พลังงานกล้ามเนื้อไม่พอเมื่อเทียบกับนก เขาจึงได้ประดิษฐ์ปีกเลียนแบบว่าวมีหางพบว่ามีคุณสมบัติลอยตัวในอากาศ นอกจากนั้นเขายังได้คิดค้นทฤษฎีหลายๆอย่าง จึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งศาสตร์การบิน ซึ่งจากการคิดค้นของเขานั้นเป็นพื้นฐานของเครื่องบินปีกตรึงในปัจจุบัน
ค.ศ. 1891 Otto Lilienthal ได้คิดค้นแผนแบบเครื่องร่อนโดยพัฒนารูปแบบมาจาก Caylay เขาได้ใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา คือไม้สนุ่นเป็นโครงในการยึดผ้าใบ ในการทดลองของเขานั้นเขาได้วิ่งจากเชิงเขาและกระโดลงจากที่สูง แต่ในการทดลองครั้งสุดท้ายนั้นของชีวิตนั้นได้เกิดลมกรรโชกอย่างแรงทำให้เขาได้กระแทกกับพื้นเสียชีวิตในวันต่อมา
ค.ศ. 1900 Count Ferdinand Von Zeppelin ชาวเยอรมันได้คิดค้นพโยมนาวา(Airship) ซึ่งแน่นอนว่าจะก่อนหน้านี้จะต้องมี Balloon เกิดขึ้นมา หลักการก็คือใช้แก๊สร้อนซึ่งเบากว่าอากาศเป่าเข้าไปในถุงลม (คล้ายๆกับโคมลอยในบ้านเรา)Zeppelin ได้ประดิษฐ์โครงสร้างขนาดใหญ่ จุคนได้มาก โดยมีความคิดที่ว่าการที่จะลอยได้นั้นจะต้องเบากว่าอากาศ เขาจึงได้ใช้ก๊าซไฮโดรเจน พโยมนาวาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสมัยนั้นก็คือ ไฮเดนเบิร์ก มีขนาดใหญ่และมีศักยภาพมากที่สุดในสมัยนั้น แต่ก็มีข้อเสียคือเกิดความยุ่งยาก มีขั้นตอนที่วุ่นวาย การที่จะเทียบพโยมาวาที่นั้นจะต้องลดระดับลอยให้ต่ำแล้วจึงให้คนใช้เชือกโรยตัวลงมาแล้วจึงลากมายึดกับหลักที่เตรียมไว้ (ลองนึกถึงลูกโป่งที่ลอยได้ การที่ผูกมันทีนั้นจะต้องผูกกับหลัก คิดดูว่านี่เป็นพโยมนาวาขนาดใหญ่ ขั้นตอนมันจะยุ่งยากสักแค่ไหน) แต่ก็เกิดเหตุโศกนาฏกรรมขึ้นเมื่อจะเข้าเทียบท่าที่นิวยอร์ค เกิดการระเบิดลุกไหม้ทั้งลำ จนบัดนี้ก็ยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร ล่าสุดบอกว่า เกิดStatic Discharge เพราะว่าในขณะที่จะเข้าเทียบนั้นสภาพอากาศแย่ ได้มีการบินวนถึงสองครั้ง พอถึงครั้งที่สามซึ่งจะเข้าเทียบ Static Discharge ได้ทำให้ผิวยานซึ่งเคลือบสารชนิดหนึ่งไว้เกิดประกายไฟ จึงลามมาโดน ก๊าซไฮโดรเจนซึ่งบรรจุไว้ภายในระเบิดลุกไหม้ทั้งลำ
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้คนทั้งโลกโดยเฉพาะคนเยอรมันได้ตกตะลึงอย่างมากและได้เกิดความกังวลที่ว่าการเดินทางทางอากาศถือเป็นเรื่องเสี่ยงและอันตรายอย่างมากในยุคนั้น หลังจากนั้นได้เข้าสู่ยุคสองพี่น้องตระกูลไรท์ ทำให้พโยมนาวานั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยมแพร่หลายมากนักเนื่องจากหยุดการพัฒนาทางด้านโครงสร้างเพียงแค่ใช้แค่การสังเกตการณ์เท่านั้น
ในปี ค.ศ. 1901 สองพี่น้องตระกูลไรท์ได้เริ่มทำการทดลองสร้างเครื่องร่อน และได้พัฒนาเครื่องร่อนนั้นมาจนสามารถติดตั้งเครื่องยนต์ได้ ได้ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 17 ธ.ค. 1903 ซึ่งถือว่าวันนี้เป็นวันการบินโลก ในการบินครั้งนั้นยังไม่มี Ailerons มีเพียง Stabilizer เท่านั้น ดังนั้นการบังคับจึงต้องใช้การถ่ายน้ำหนัก เพื่อเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วง มีคันโยกเพื่อใช้บังคับ เวลาเลี้ยงนั้นเป็นแค่การเลี้ยวในวงกว้างๆ (คล้ายๆกับอาการ Side slip turn ในปัจจุบัน) การบินครั้งนั้นบินถือว่าไกลในสมัยนั้น ยังมีความเสี่ยงอยู่แต่ไม่มากเพราะว่าใช้ความสูงและความเร็วที่ต่ำ
นับจากวันนั้นมาจนถึงปัจจุบันได้ใช้เวลาเพียงแค่ร้อยปีเท่านั้น ในการพัฒนาให้ก้าวหน้าจนสามารถลดความเสี่ยงลงได้ ถือได้ว่ารวดเร็วอย่างมาก
ต่อมา Charles Lindbergh ได้ทำการ"บินเดี่ยว"ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคโดยไม่หยุดพักเป็นบุคคลแรก ใช้เครื่องบินที่ชื่อว่า Spirit of St. Louis ใช้ระยะทาง 3610ไมล์ ใช้เวลาทั้งหมด 33 ชม. และในช่วงเวลาใกล้เคียงกันได้มีวีรสตรีคนแรกบินข้ามหาสมุทรแอตแลนติคเช่นกัน หลังจากนั้นเธอได้บินหายตัวไปจนบัดนี้ก็ยังไม่มีข้อมูล เชื่อกันว่าเธอเสียชีวิตไปแล้ว
เมื่อมนุษย์ทำความคิดที่จะบินได้เป็นผลสำเร็จ บินได้นานขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น จึงเกิดการพัฒนามาเป็น อันดับแรกคือ General Aviation คือการบินทั่วๆไปอันดับต่อมาเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดเทคโนโลยีคือ Military เมื่อมนุษย์สามารถบินได้ ก็เริ่มเกิดความขัดแย้งในยุโรป โดยอากาศยานใช้คู้กับ Balloon ซึ่ง Balloonได้ใช้สังเกตการณ์ข้าศึก (จึงเป็นเป้านิ่งได้อย่างดีที่จะให้ข้าศึกสอยเล่น นับได้ว่าเสี่ยงอย่างมาก ความคืดที่จะใช้ Balloon จึงหมดไป) ซึ่งในทาง Military เองนั้นไดนำการบินไปใช้ในการสงคราม ซึ่งตัวเทคโนโลยีต่างๆที่ใช้ในการสงคราม ภายหลังได้ถูกนำมาพัฒนาประยุคเข้ากับการขนส่งในปัจจุบัน อาจจะพูดได้ว่าเทคโนโลยีทางการทหารจะนำหน้าพลเรือนอยู่ก้าวหนึ่ง เช่นความต้องการที่จะใช้อากาศยานที่บินเร็วกว่าข้าศึก มีสมรรถนะเหนือกว่า จึงได้เกิดการพัฒนาเครื่องยนต์ Jet ซึ่งได้นำไปติดตั้งกับ Me 262 ของเยอรมัน ถือว่าเป็นเครื่องบินเจ็ทลำแรกของโลกในการสงคราม ภายหลังสงครามสงบจึงได้มีการพัฒนาไปติดตั้งให้กับเครื่องบินโดยสาร จุดประสงค์ก็คือใช้ในการขนส่ง
หลังจากนี้จะกล่าวถึงยุคในการพัฒนาอากาศยานหลังจากยุคค้นพบ ซึ่งจะมีรายละเอียดปลีกย่อยหลายหัวข้อมาก จึงขอยกตัวอย่างในสิ่งหลักๆมาให้ดูกัน อาจจะเป็นความรู้เล็กๆน้อยๆได้เป็นอย่างดี
ในยุคนี้มนุษย์มีความกระหายในการทำลายล้าง สงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นอเมริกาได้ขายลิขสิทธิ์การติดตั้งปืนบนเครื่องบินให้กับเยอรมัน โดยเจ้าสิ่งนี้แหละเรียกว่า Interrupt Gear ซึ่งจะทำงานโดยให้กระสุนปืนยิ่งผ่านใบพัดอากาศยานไปได้ และอังกฤษได้มีการติดตั้งพลปืนหลังอีกด้วย ข้อเสียของพลปืนหลังก็คือการยิงโดนหางตัวเอง การที่เพิ่มน้ำหนักของอากาศยานทำให้ความคล่องตัวต่ำลง (ถ้าใครเคยดูหนังเรื่อง Fly Boy ลองจินตนาการภาพตาม)
เมื่อมาจนถึงยยุคสงครามโลกครั้งที่สองได้มีความคิดที่ว่าเครื่องบินจะต้องมีสมรรถนะที่สูงกว่าข้าศึก บินเร็วกว่าจึงจะมีความได้เปรียบ ซึ่งเจ้าเครื่องเจ็ทที่ว่านี้คือ Me 262 เป็นของชาติเยอรมัน ซี่งทำความเร็วได้ถึง 600 กม./ชม. เมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย คือกินน้ำมันในปริมาณที่มากมายมหาศาล และเนื่องด้วยความเร็วที่มากมายนักบินจึงไม่คุ้นเคย ยากต่อการควบคุม ในปัจจุบันได้เหลือเพียงสามลำในโลก (เคยติดตามข่าวว่ามีการทำการบินอีกครั้ง ซึ่งเป็นเครื่องที่สร้างขึ้นมาใหม่แต่อาจจะไม่ใช่เครื่องที่สร้างสมัยสงครามโลก คือมีการนำพิพม์เขียวมาสร้างใหม่)
เมื่ออากาศยานบินเร็วขึ้นปีกแบบเก่าๆนั้นก็จะต้องเกิดการพัฒนาแปรเปลี่ยนคุณสมบัติทางอากาศพลศาสตร์ไปตามความเร็วของเครื่องบินด้วย จึงมีการคิดค้นในรูปแบบต่างๆของปีก เช่นการลู่ปีกไปข้างหลังก็จะสามารถบินได้ที่ย่านความเร็วสูงขึ้น และยังช่วยลดแรงต้านอีกด้วย การพัฒนาของเครื่องยนต์โดยมีปัจจัยสำคัญที่สุดในยุคนั้นคือความเร็ว (สมัยนั้นยังไม่ค่อยตระหนักถึงเรื่องสภาพแวดล้อมและความสิ้นเปลืองเท่าไหร่) โลกเราในสมัยนั้นจึงถือว่าแคบลงทันตาเห็น
นอกเหนือจากตัวอากาศยานเองแล้ว ยังมีการพัฒนาทางด้านอุปกรณ์เพื่อช่วยลดความเสี่ยง เช่น อุโมงลม คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ อุโมงลมนั้นมีประวัติมายาวนานซึ่งในยุคของสองพี่น้องนั้นก็มีหลักฐานว่ามีการทดสอบแพนอากาศด้วยอุโมงลมซึ่งทำขึ้นมาจากไม้ โดยถือหลักการที่ว่าอากาศยานไหลปะทะกับอากาศ และ อากาศไหลปะทะกับอากาศยานมีลักษณะที่เหมือนกัน แต่ข้อเสียของอุโมงลมอย่างแรกคือ Scale Effect ถ้าเราลองเอาอากาศยานลำใหญ่โตมาทดสอบ ลองคิดดูเล่นๆว่าจะต้องใช้อุโมงลมที่มีขนาดใหญ่แค่ไหน จึงต้องมีการสร้างโมเดลเสมือนจริงขึ้นมาทดสอบหาค่าต่างๆ ส่วนในเรื่องของสัดส่วนนั้นก็ว่าด้วยเรื่องทางวิศวกรรมกันต่อไป ส่วนข้อเสียอีกประการหนึ่งก็คือแพงมาก ยิ่งมีลูกเล่นมากกหรือขนาดที่ใหญ่มากๆก็จะแพงตาม
อุโมงลมของสองพี่น้องไรท์ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่อันแรกของโลก แต่ก็ยุคนั้นถือว่าทันสมัยมากทีเดียว
อุโมงลมนั้นแบ่งได้ง่ายๆคือ Low speed wind tunnel ใช้ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของพาราฟินไปใส่ใน Smoke generator แล้วจึงพ่นในอุโมงลม จะแสดงผลเป็นการไหลแบบสามมิติ ส่วนอีกแบบหนึ่งนั้นจะเป็น High speed wind tunnel ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ใช้สำหรับเครื่องบินที่บินที่ความเร็วสูงโดยจะไม่ใช้ควัน เมื่อให้อากาศไหลผ่านโมเดลด้วยความเร็วสูงก็จะเกิดการอัดตัวของอากาศทำให้เกิดความหนาแน่นของอากาศที่แตกต่างกัน ตรงที่อากาศเกิดการอัดตัวนี่แหละจะฉายแสงเข้าไป ตามหลักการที่ว่าความหนาแน่นแตกต่างกันแสงก็จะเกิดการหักเห ทำให้สามารถศึกษาพฤติการการไหลของอากาศความเร็วสูงได้
จะเห็นได้ว่าโมเดลจะต้องมีสัดส่วนที่ถูกต้องจากของจริง ไม่งั้นจะทำให้ค่าที่ได้ผิดพลาดออกไป
ส่วนภาพนี้จะเป็นอุโมงลมความเร็วสูง ใช้หลักการการอัดตัวของอากาศซึ่งจะทำให้เกิดความหนาแน่นที่แตกต่างกัน แล้วหลังจากนั้นจึงฉายลำแสงเข้าไปเพื่อดูลักษณะการหักเหของแสง
อุปกรณ์ชนิดต่อไปก็คือ คอมพิวเตอร์และโปรแกรม ในสมัยก่อนนั้นการที่จะทดลองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นจะต้องมีการสร้างอุปกรณ์ขึ้นมาและนำไปทดลองจริงๆ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก แต่ในสมัยนี่ได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจำลองสถานะการณ์ต่างๆโดยไม่ต้องไปเสี่ยงทำจริงๆ ส่วนในเรื่องโปรแกรมนั้นเพียงแค่เขียนมันขึ้นมาแล้วเราใส่ค่าที่ได้จากการทดลอง โปรแกรมก็จะคำนวนให้ทันที นับว่าเป็นเรื่องที่สะดวกอย่างมาก เพียงแต่ในปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา การที่เราจะซื้อขายนั้นยังทำได้ลำบากอยู่
จะเห็นได้ว่ากว่าที่การบินจะก้าวหน้าเติบโตมาในยุคปัจจุบัน ก็จะต้องมีการประดิษฐ์คิดค้นทดลองที่แลกด้วยความลำบาก ระยะเวลา ความพยายาม ความเสียสละ หรือแม้กระทั่งชีวิตของบุคคล ไปจนถึงการเข่นฆ่าทำลายล้าง เมื่อมนุษย์มีกระหายในสงครามก็จะมีการแข่งขันประดิษฐ์เทคโนโลยีเพื่อให้เหนือกว่าฝ่ายตรงข้าม เมื่อมนุษย์ได้เห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องดีจึงนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางที่ดีแก่มวลมนุษยชาติดั่งเช่นทุกวันนี้
โดย บุปผาชน-Aviation Technology, KASETSART Engineering
วันที่ 15 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,196 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 43,227 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,613 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,833 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,180 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,963 ครั้ง |
|
|