Advertisement
ศักยภาพของหัวใจ คือ รักคนได้ทั้งโลก |
|
ช่วงนี้คนไทยรักกันน้อยลง หันมองไปทิศทางไหน มีแต่คนที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกัน แยกเขี้ยวยิงฟัน พร้อมจะลุกฮือขึ้นมาเข่นฆ่า ทำร้ายกันได้ทุกเมื่อ ในสถานการณ์เช่นนี้ เราควรจะย้อนกลับมาดูศักยภาพแห่งหัวใจของเราว่า โดยรากฐานเดิมแท้นั้น เราสามารถรักคนได้ทั้งโลก แต่แล้วทำไมความรักในหัวใจเราจึงหดหายลงไปทุกวัน
ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ ผู้เขียนต้องขอทบทวน ความรักและพัฒนาการของความรักเสียก่อน เพราะถ้าเราเห็นพัฒนาการของความรัก เราก็จะตอบได้ว่า อะไรคือรักที่แท้ในทรรศนะพุทธศาสนา ความรักนั้นในทรรศนะของผู้เขียนจัดเป็น 4 ระดับด้วยกัน
1.รักตัวกลัวตาย
2.รักใคร่ปรารถนา
3.รักเมตตาอารี
4.รักมีแต่ให้
รักตัวกลัวตาย เป็นความรักขั้นพื้นฐานที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน และที่เรียกว่าสรรพชีพสรรพสัตว์ทุกชนิด สรรพชีพหมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหลายซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นด้วยตา ทั้งอยู่ในโลกเดียวกันกับเราหรืออยู่ในโลกอื่นออกไป
สรรพสัตว์ หมายถึงสัตว์ทั้งปวงที่เรามองเห็นได้ด้วยตา สิ่งมีชีวิตทั้งหมดไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าคน หรือไม่เรียกชื่อว่าคนก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีความรักขั้นพื้นฐานคือรักตัวกลัวตาย ความรักอย่างนี้เป็นความรักอิงสัญชาตญาณการดำรงชีวิตรอด
สิ่งมีชีวิตทั้งหมดเกิดมาก็มีความรักชนิดนี้อยู่กับตัวแล้ว แต่ความรักชนิดนี้ยังไม่ใช่รักแท้ เพราะในแง่ลบมันมีโอกาสสูงมากที่จะกลายเป็นความเห็นแก่ตัว นั่นคือด้วยเหตุที่พยายามที่จะเอาตัวรอด ก็เป็นเหตุให้ต้องทำร้ายทำลายชีวิตอื่น ดังนั้นความรักตัวกลัวตายจึงไม่เพียงพอ และยังไม่ใช่รักที่แท้ ต้องพัฒนาต่อไป
รักใคร่ปรารถนา เป็นความรักในเชิงชู้สาว ซึ่งเกิดขึ้นทั้งกับคนและกับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงซึ่งคือสรรพชีพ สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มีความผูกพันกันในเชิงชู้สาว ความรักชนิดนี้อิงอยู่กับสัญชาตญาณการสืบพันธุ์
แท้ที่จริงรากฐานของความรักชนิดนี้ ก็มาจากความรักชนิดที่หนึ่งคือรักตัวกลัวตายนั่นเอง แต่ว่าประณีตขึ้น แสดงออกละเมียดละไมมากขึ้น ดูเหมือนว่าแทนที่จะรักตัวกลัวตายอย่างเดียว มีการเผื่อแผ่ใจออกไปรักคนอื่นด้วย แท้ที่จริงที่รักคนอื่นก็เพื่อให้คนอื่นนั้นมารักตัวเอง หากมองอย่างลึกซึ้ง รักใคร่ปรารถนาก็ยังเป็นความรักที่มีความเห็นแก่ตัวปนอยู่นั่นเอง ฉะนั้นรักใคร่ปรารถนาจึงยังไม่พอ
รักเมตตาอารี คือ ความรักอิงความผูกพันทางสายเลือด ทางนามสกุล ทางศาสนา ทางชาติพันธุ์ ทางชนชั้นวรรณะ ทางภาษาและทางวัฒนธรรม พูดง่ายๆ ว่า เป็นความรักซึ่งเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ตระหนักรู้ว่าผู้ที่ร่วมสายพันธุ์เดียวกันกับตนนั้นเป็นพวกเดียวกันกับตน ความรักชนิดนี้ บางครั้งเราก็เรียกว่า ความรักอิงสายเลือด หรือบางครั้งเราก็เรียกว่าเป็นความรักอิงความเมตตา เช่นเราพบในพ่อแม่รักลูก ครูบาอาจารย์รักลูกศิษย์ เพื่อนรักเพื่อน นายรักลูกน้อง มนุษย์ด้วยกันรักมนุษย์ สัตว์ด้วยกันรักสัตว์ คนชาติเดียวกันรักคนชาติเดียวกัน เช่น คนไทยรักคนไทยมากกว่าฝรั่ง ฝรั่งก็จะรักฝรั่งมากกว่าคนไทย จีนก็จะรักจีนมากกว่าแขก นี่เรียกว่ารักเมตตาอารี แม้จะเป็นความรักที่มีรากฐานอยู่บนพื้นฐานของเมตตา แต่ก็ยังไม่ปลอดภัยอยู่นั่นเอง เพราะยังมีข้อจำกัดว่า เลือกรักเลือกเมตตาเฉพาะ เผ่าพันธุ์ พงศาคณาญาติของฉัน แม้จะดูกว้างขวางแต่ก็ยังไปไม่พ้นพรมแดนของการถือเขาถือเราอยู่นั่นเอง
รักมีแต่ให้ เป็นความรักของมนุษย์ผู้ที่ได้ค้นพบภาวะความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานในหัวใจอย่างลึกซึ้ง แล้วหลุดพ้นจากกิเลสขึ้นมากลายเป็นอารยชน ความรักมีแต่ให้นี้ เป็นความรักซึ่งเกิดขึ้นจากการมองเห็นความไร้แก่นสาร หรือความไม่มีตัวตนของตนเอง เมื่อมองเห็นความไร้แก่นสาร หรือความไม่มีตัวตนของตนเองจึงไม่มีตัวตนไว้สำหรับเห็นแก่ตัว เมื่อไม่เห็นแก่ตัว ก็จึงเห็นแก่โลกทั้งผอง
หัวใจนั้นไร้พรมแดน เกิดความรักขั้นสูงสุด มองคน มองสรรพชีพ มองสรรพสัตว์ทั้งหลายในลักษณะโลกทั้งผองพี่น้องกัน ความรักชนิดนี้ เป็นความรักที่แท้ เปิดเผย บริสุทธิ์ จริงใจ ให้ออกไปโดยไม่เรียกร้องการตอบแทน เปรียบเสมือนแสงเดือนแสงตะวันที่สาดโลมผืนโลกโดยไม่เคยเรียกร้องสิ่งตอบแทน เปรียบเสมือนสายฝนและดวงดอกไม้ ที่ชโลมผืนโลก ให้ความชุ่มเย็น งดงาม แล้วก็ไม่ต้องการให้ใครมามองเห็นคุโณปการของตัวเอง เป็นดอกไม้ก็ส่งกลิ่นหอม แล้วก็ร่วงโรยไปตามวันเวลาอย่างสงบเงียบ ไม่ปรารถนาที่จะเป็นที่ปรากฏอะไร เช่นเดียวกัน พระอรหันต์ทั้งหลาย อริยชนทั้งหลาย ตั้งแต่พระโสดาบันบุคคลขึ้นไป ก็ทำงานเพราะมีความรักที่แท้เป็นแรงผลักดัน ทำงาน ก็เพราะว่างานนั้นเป็นสิ่งที่วิถีชีวิตของท่านควรทำ ไม่มีแรงจูงใจในลักษณะเกิดจากลาภสักการะ ผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น เหมือนเราทุกคนเกิดมาแล้วก็หายใจ ที่เราหายใจเพราะการหายใจคือส่วนหนึ่งของชีวิต เราหายใจโดยที่เราไม่จำเป็นจะต้องเรียกร้อง โดยไม่จำเป็นจะต้องบังคับ
การหายใจก็คือการหายใจ การหายใจมีความสมบูรณ์อยู่แล้วในตัวเองฉันใด ผู้ที่มีรักแท้ในหัวใจก็พร้อมที่จะรักคนทั้งโลกโดยที่ไม่เรียกร้องอะไรตอบแทนฉันนั้น เพราะมันเป็นธรรมชาติอันเป็นธรรมดานั่นเอง ด้วยเหตุนั้นรักแท้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า กรุณา หรือการุณยธรรม เกิดขึ้นหลังจากที่ปัจเจกบุคคลคนหนึ่งได้ค้นพบปัญญาคือ ความตื่นรู้ แล้วเกิดวิสุทธิภาวะ คือจิตใจที่หลุดพ้นเป็นอิสรภาพจากอวิชชาอย่างสิ้นเชิง ปัญญาที่ตื่นรู้ วิสุทธิภาวะของจิตที่หลุดพ้นจากอวิชชาอย่างสิ้นเชิง จะก่อให้เกิดคุณธรรมชนิดใหม่ ซึ่งเปรียบเสมือนธารน้ำที่หลั่งไหลมาของความรัก ก็คือกรุณา
ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า "มหาการุณิกะ" แปลว่าบุคคลผู้เปี่ยมด้วยความรักอันไพศาล นั่นแหละรักแท้คือ กรุณา
มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะค้นพบรักที่แท้ในหัวใจของตัวเองได้ทุกคน เพราะรักแท้หรือกรุณา มันมาจากพุทธภาวะในหัวใจของเราทุกคน ฉะนั้นขอแค่เราเป็นคนเท่านั้นแหละ เราก็มีธรรมชาติเดิมแท้เป็นความรักแท้ที่จำพรรษาอยู่ในใจเราทุกคนอยู่แล้ว รอแต่ว่าเมื่อไหร่เราจะมาค้นพบเท่านั้นเอง เขารอเราอยู่ตลอดเวลา ทุกภพทุกชาติทุกวินาที
โปรย
หัวใจนั้นไร้พรมแดน เกิดความรักขั้นสูงสุด มองคน มองสรรพชีพ มองสรรพสัตว์ทั้งหลาย ในลักษณะโลกทั้งผองพี่น้องกัน ความรักชนิดนี้เป็นความรักที่แท้ เปิดเผย บริสุทธิ์ จริงใจ ให้ออกไปโดยไม่เรียกร้องการตอบแทน เปรียบเสมือนแสงเดือนแสงตะวันที่สาดโลมผืนโลก โดยไม่เคยเรียกร้องสิ่งตอบแทน
ที่มา http://www.posttoday.com/
|
วันที่ 14 พ.ค. 2552
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,219 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,176 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,287 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,237 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,174 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,176 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 112,522 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,831 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,245 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,207 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,928 ครั้ง |
|
|