การจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ ปี 3000
by Pinayo Prommuang
การจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ ปี ศตวรรษหน้านี้ คือ Flexible Learning
Flexible learning คือ การเรียนรู้อย่างยืดหยุ่น เพราะเหตุใดจึงต้องมีการเรียนรู้แบบนี้ คำตอบก็คือ กระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านไอทีและการสื่อสาร 3C คือ
1. Change การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การดำรงชีวิต และการทำงาน
2. Competition การแข่งขันรุนแรง ไร้พรมแดน ซึ่งมนุษย์จะต้องเปลี่ยนแปลง
3. Customer ลูกค้ามีทางเลือกมายิ่งขึ้น และมีอิสระในการตัดสินใจ
ด้วยเหตุนี้ การจัดการเรียนอย่างยืดหยุ่น (Flexible Learning) น่าจะเป็นวิวัฒนาการทางการศึกษาล่าสุดที่กำลังจะเกิดขึ้นในสังคมในปัจจุบันนี้ จากการที่ได้สืบค้นพบ 155,000,000 รายการ และมีงานวิจัยในต่างประเทศที่เขาทำเสร็จสมบูรณ์ และเผยแพร่ใน http://www.ncver.edu.au/research/proj/nr8007.pdf ในประเทศไทยเองมีการใช้แนวคิดนี้สำหรับการฝึกอบรม เช่น การฝึกภาษาอังกฤษให้กับพนักงานการบินไทย และมหาลัยเปิดอย่างเช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งน่าจะพัฒนามาจาก E-learning สำหรับต่างประเทศหลักสูตรออนไลน์เปิดจนถึงระดับปริญญาเอก แม้แต่มหาวิทยาลัยชื่อดัง อย่างเช่น Oxford มีหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว
แนวคิดในการจัดการศึกษาแบบนี้เพื่อที่จะเอื้อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้เลือกเรียนตามความสนใจ และความถนัดของตนเอง แน่นอนว่าจะต้องมีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนต้องมีความสามารถเพียรพยายามและวิเคราะห์ข้อมูลหรือสารสนเทศ รู้จักการวางแผนการใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์และตรงกับความต้องการมากที่สุด
ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น ประกอบด้วย
1. รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมต้องมีความหลากหลาย เพื่อเอื้อต่อวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีทางเลือกในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นตลอดเวลา การนำวิธีที่ยืดหยุ่น (Flexible approach) มาใช้ในการเรียนและการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ได้หลายวิธี เช่น การเรียนแบบเปิด (Open learning) การเรียนทางไกล(Distance learning) การเรียนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ (Computer Mediated Learning) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Directed Learning) ซึ่งมีข้อดี คือ
1) สามารถเรียนได้มากและรวดเร็ว
2) สามารถเข้าถึงบริการการศึกษาได้ง่าย
3) สามารถเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
4) สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
5) สามารถเข้ารับบริการการศึกษาได้อย่างทั่วถึงและอยู่ที่ไหนก็เรียนได้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
2. เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเนื้อหาและกิจกรรมต้องตอบสนองความสนใจของผู้เรียน และผู้เรียนสามารถเรียนได้เต็มศักยภาพ โดยเน้นการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดสภาพการเรียนรู้ควรจัดในลักษณะดังต่อไปนี้
1) ให้ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกเวลาเรียนได้ตามความต้องการ
2) ผู้เรียนสามารถเลือกสถานที่เรียนได้ตามความสะดวก
3) ผู้เรียนสามารถเลือกเนื้อหาที่จะเรียนได้ตามความสนใจ
4) การจัดหน่วยการเรียน (Modules) หรือโปรแกรมการเรียนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาและเลือกที่จะเรียนกับครูและเพื่อนคนอื่น ๆ ได้หลากหลาย
5) กิจกรรมการเรียนและการประเมินต้องสัมพันธ์กันอาจจัดได้หลากหลายให้เป็นทางเลือกในการเรียนการสอน ได้แก่ การเรียนเป็นคู่ หรือการเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือเรียนโดยการปรึกษากับครู
6) สภาพการเรียนรู้ ต้องเกิดจากผู้เรียนลงปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง (Active Learners) ไม่ใช่การเรียนแบบเป็นผู้รับ (Passive Learners) ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนและการประเมิน ในลักษณะต่าง ๆ
การเพิ่มความยืดหยุ่นในการเรียนการสอนทำได้โดยการปรับกระบวนการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กับผู้เรียน กล่าวคือ
1) ด้านโครงสร้างของหลักสูตร การจัดโครงสร้างหลักสูตรต้องเป็นหลักสูตรที่เป็นทางเลือกตามความสนใจของผู้เรียน ไม่ใช่เป็นหลักสูตรหรือวิชา ที่ถูกบังคับให้เรียน
2) ด้านเนื้อหาของหลักสูตร การจัดเนื้อหาของหลักสูตรต้องเป็นหลักสูตรแกนผนวกกับโครงงานหรือกรณีศึกษาหรือเป็นสัญญาการเรียนที่ครูกับนักเรียนร่วมกันกำหนด
3) ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน วิธีการจัดเรียนการสอนต้องเป็นการเรียนรู้จากปัญหา หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง
Teaching and learning Methods
Lecture, Tutorials Problem-based learning Self-directed learning
Less flexible More flexible
4) ด้านการปฏิสัมพันธ์ ต้องมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนมีการประชุมปรึกษาร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียนและนักเรียนกับนักเรียนหรือมีครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา
Interaction
Presentation Tutorials/Conferencing Consultation
Less flexible More flexible
5) ด้านการประเมินผล ต้องเป็นการประเมินโดยกลุ่มเพื่อนและการประเมินตนเองหรือมีการประเมินผลร่วมกัน และครู
Assessment
Teacher directed Peer/Group/Self Negotiated
Less flexible More flexible
2. มีแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทั้งนี้ การเรียนรู้อย่างยืดหยุ่นมีพื้นฐานมาจากการเรียนโดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นฐานเพราะความยืดหยุ่นในการเรียนที่สำคัญที่สุดคือการใช้ข้อมูลที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ ด้วยความเชื่อว่าผู้เรียนสามารถที่จะได้สิ่งต่อไปนี้คือ
1) มีความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ที่หลากหลาย
2) มีความสามารถในการเลือกและวิเคราะห์ข้อมูลจากเนื้อหาที่กำหนดให้และนำเสนอในรูปแบบของการรายงาน
3) มีความสามารถในการวางแผนการใช้แหล่งข้อมูลเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ
4) มีความสามารถในการพัฒนาทักษะการจัดข้อมูล
5) มีความสามารถในการพัฒนาการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่นห้องสมุด ข้อมูลการเรียนรู้ที่เป็นเอกสาร สื่อคอมพิวเตอร์ แหล่งข้อมูลการเรียนรู้จากเน็ตเวอร์ค วีดิโอเทป แผ่นโปร่งใสและสไลด์ เป็นต้น ซึ่งองค์ประกอบของการเรียนรู้ที่ใช้แหล่งข้อมูลเป็นฐานต่างๆ เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าเป็นกลวิธีในการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดความสามารถที่จะค้นหาและใช้ข้อมูล และความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
สันติ วิจักขณาลัญฉ์ แนวคิดเกี่ยวกับความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ Flexible Learning. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2552, จาก
www.kku.ac.th