ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

วิวัฒน์แห่งนาฏดุริยล้านนา


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,451 ครั้ง
วิวัฒน์แห่งนาฏดุริยล้านนา

Advertisement

❝ ศึกษา เรียนรู้ ความเป็นมาของดนตรี นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ ภูมิปัญญาอันงดงาม ❞

                                                   

                                             ย้อนรอย แห่ง วิถีนาฏดุริยางค์ล้านนา...

                                                  ที่มา  ( www.lannacorner.net )

                                                   ที่มา  (www.isan.clubs.chula.ac.th )    

     
        การดนตรีและการฟ้อนรำของล้านนานั้น  มีมาแต่เดิมแล้วโดยสืบทอดมาจากบรรพชนในยุคต้นๆ แต่มีลักษณะเป็นระบำมากกว่า  ซึ่งตรงกับภาษาพื้นเมืองว่า “ฟ้อน” ลักษณะลีลาท่ารำเลียนแบบและดัดแปลงมาจากอากัปกริยาของมนุษย์  การเคลื่อนไหว  การเชื่อมท่ารำจากท่าหนึ่งไปท่าหนึ่ง  และท่าทางที่ฟ้อนออกมานั้น  แตกต่างกันออกไปต่างเผ่าพันธุ์และความเชื่อในกลุ่มชนนั้นๆ เช่น  ฟ้อนเงี้ยว (ไทยใหญ่) ฟ้อนดาบ  ฟ้อนม่าน (พม่า) ฟ้อนผี  ฟ้อนเจิง (ชั้นเชิง) ส่วนเครื่องดนตรีนั้นน่าจะมีมาแล้วเช่นกัน  แต่มีไว้เพื่อใช้ผ่อนคลายอารมณ์เฉพาะตัว  และใช้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแอ่วสาว (เกี้ยวสาว) มากกว่า  ไม่มีการนำไปใช้ในพิธีกรรมใดๆ ทั้งสิ้น 

         ส่วนที่มีการนำไปเกี่ยวพันกับความเชื่อและพิธีกรรมหรือความเชื่อใด ๆ นั้น  เพิ่งจะมีขึ้นในสมัยหลังประมาณต้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ทั้งนี้เพราะอิทธิพลราชสำนักสยามติดขึ้นมากับขบวนของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีฯ นั่นเอง  สำหรับรูปร่างลักษณะของเครื่องดนตรี ก็ดัดแปลงไปตามความนิยมของท้องถิ่นและเผ่าพันธุ์  ผสมกับวัสดุที่มีในท้องถิ่น  อาทิเช่น  กลองแบบต่างๆ  สำหรับเทคนิคหรือวิธีการรวมทั้งหลักการบรรเลงทำนองเพลงไม่เป็นมาตรฐาน  สุดแต่ผู้ใดจะใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่บรรเลงออกมาให้เป็นสำเนียงหรือท่วงทำนองตามที่ต้องการ


 
ปฐมบทแห่งการดนตรีและการฟ้อนรำล้านนา

         หากเราศึกษาประวัติศาสตร์อาณาจักรล้านนาให้ลึกซึ้งเราพอจะทราบได้ว่าชนพื้นเมืองนั้นมีหลายเผ่าพันธุ์และส่วนหนึ่งเคลื่อนย้ายมาจากทิศเหนือ  ดังนั้นลักษณะลีลาท่ารำ  จึงไม่เหมือนกับทางใต้  ไม่เข้มงวดในการใช้มือสื่อความหมาย  หรือใช้มือทั้งสองข้างเหมือนภาคกลางแต่กลับมีกระบวนการและลำดับการแสดงเป็นแบบระบำซึ่งเรียกเป็นภาษาพื้นเมืองว่า “ฟ้อน”  หากนำไปเปรียบเทียบกับท่าทางการรำ และวิธีการฟ้อนแล้ว  จะมีความคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับการแสดงของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในแคว้นมณีปุระมาก  คงมีอยู่แต่เฉพาะเพียงในกลุ่มชนของตนเท่านั้น  อาทิ ฟ้อนเงี้ยวของชาวไทยใหญ่  ฟ้อนม่านของชาวพม่า  และ ฟ้อนแห่ครัวตาน  เท่านั้น

                                                        ที่มา ( www.sangaban.org )        

          ในพุทธศักราช  2413  สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์  เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์เชื้อเจ็ดตน 
อิทธิพลของการดนตรีและการละคอนในราชสำนักสยามได้เริ่มแผ่ขึ้นมาปกคลุมนครเชียงใหม่  โดยเริ่มจากคุ้มเจ้าหลวงก่อน  ยังไม่ได้แพร่ขยายออกไปถึงประชาชนในท้องถิ่น 
          จนพุทธศักราช 2453  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติสืบต่อ  และพระเจ้าอินทวิชยานนท์พิราลัย  เจ้าแก้วนวรัฐฯขึ้นครองนครเชียงใหม่สืบต่อ  นับเป็นองค์ที่ 9 และเป็นองค์สุดท้ายของวงศ์เชื้อเจ็ดตน  การละคอนฟ้อนรำ และ การดนตรีในนครเชียงใหม่จึงมีการดำเนินกิจการกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  ทำให้การฟ้อนรำการดนตรีที่มีอยู่เดิมถูกนำมาพัฒนาแก้ไข ปรับปรุงจนเจริญก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้  
        

                                                       ที่มา ( www.banramthai.com

        ในขณะเดียวกัน  ก็เกิดการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจนว่า  ลีลาท่ารำของชนพื้นเมืองนั้น  มีความเป็นตัวของตัวเอง  คือ  เรียบง่าย  ผิดกับแบบในคุ้มในวังของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีฯ   ซึ่งนำเอาแบบอย่างราชสำนักสยามมาเป็นหลักในการฝึกซ้อม  ฝึกหัดนักแสดงที่อยู่ในคุ้มด้วยความผูกพันและฝังแน่นอย่างลึกซึ้งใน       ขนบธรรมเนียมประเพณีในราชสำนักสยาม  พระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯจึงนำเอาขนบธรรมเนียมประเพณีและวิธีการต่างๆที่พบเห็นในราชสำนักสยามมาใช้ในคุ้มของท่าน  มีการตั้งคณะดนตรี  ปี่พาทย์และคัดเลือก (ผู้หญิง)สาวมาหัดรำ  เรียกว่า “ช่างฟ้อน”  ดังนั้นวงปี่พาทย์และการฟ้อนรำจึงเกิดขึ้นในคุ้มเจ้าหลวงนครเชียงใหม่  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

                                                     ที่มา  (www.openbase.in.th )
 
          การฟ้อนพื้นเมืองภาคเหนือ เป็นการแสดงพื้นเมืองที่มีมาแต่โบราณ  ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา
 การฟ้อนและการทำบุญ สำหรับชาวล้านนานั้นเป็นของคู่กัน  เพราะทุกครั้ง ที่มีการทำบุญ  ก็จะมีการฟ้อนควบคู่กันไปโดยถือว่า การฟ้อนเป็นการทำบุญไปด้วยในตัว  โดยประเพณีของชาวล้านนานั้น  เมื่อฤดูทำนาแล้ว ชาวบ้านมักมีงานบุญและบอกบุญไปยังหมู่บ้านอื่นให้มาร่วมทำบุญเป็นการฉลองซึ่งเรียกว่า งานปอย  มีการตกแต่ง เครื่องไทยทาน  จัดเป็นขบวนแห่ เครื่องอัฐบริขารต่างๆ ที่เรียกว่า เครื่องครัวทานให้ผู้หญิงฟ้อนนำขบวนมาประมาณ 8 – 10 คน  จึงจะเห็นได้ว่า โอกาสที่จะใช้ในการแสดง  แต่ก่อนแสดง ในงานบุญ   ในปัจจุบัน  ฟ้อนพื้นเมืองของล้านนาได้แสดงในโอกาสต่าง ๆ รวมถึงการแสดง ให้ชาวต่างชาติได้ชื่นชมด้วย

                                                    ที่มา  (www.blogspot.com

           และนี่ก็คือ วิวัฒน์แห่งนาฏดุริยล้านนา ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่สืบทอด สานต่อจากรุ่นสู่รุ่น เสมือนหนึ่ง    วัฐจักรของชีวิต ที่หมุนเวียนเปลี่ยนผ่านตามกาลเวลา   จนผ่านพ้นมาถึงในปัจจุบัน ให้ผู้คนในยุคนี้ได้เรียนรู้ ศึกษา ให้เป็นแบบอย่าง  วิถีแนวทางที่ดีงาม ของการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม 

                                                     ที่มา ( www.farm2.static.flickr.com )

         แต่ในยุคโลกาภิวัฒน์ โลกที่ไร้ที่พรมแดน  กระแสทางสังคม วัฒนธรรมต่างชาติ วัตถุนิยม ที่ทะลักเข้ามา ดุจกระแสน้ำเชี่ยวกราด  สภาพวิถีสังคมที่แปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ยากที่จะไล่ตามให้ทัน ทั้งทางด้าน วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี  รวมถึง โรคภัยต่าง ๆ  ช่างน่าเป็นห่วง และวิตกว่า วัฒนธรรมภูมิปัญญาจะหยั่งรากลึก ทนต้านทานต่อกระแสวิกฤตเหล่านี้หรือไม่    เราในฐานนะของคนในรุ่นนี้ ที่จะเป็นแรงพลัง เห็นคุณค่า ร่วมรักษ์ ในสิ่งที่ดีงาม ให้สืบสานสู่คนรุ่นต่อไป
          ฤาจะให้ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า วัฒนธรรมภูมิปัญญา อันทรงคุณค่า ได้สูญสิ้นหมดไปในยุคสมัยนี้ มีเหลือ ไว้เพียง รูปภาพและตัวหนังสือ ให้ได้ทรงจำ 

 

อ้างอิงแหล่งที่มา

ธีรยุทธ  ยวงศรี. (2534). 20 ปี วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่. เชียงใหม่การพิมพ์. เชียงใหม่.
 www.sangaban.org
www.lannacorner.net
 www.openbase.in.th
www.banramthai.com
www.isan.clubs.chula.ac.th
www.farm2.static.flickr.com
www.blogspot.com 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 2880 วันที่ 14 พ.ค. 2552


วิวัฒน์แห่งนาฏดุริยล้านนา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

นิยามนักเรียน (ขำขำ)

นิยามนักเรียน (ขำขำ)


เปิดอ่าน 6,396 ครั้ง
เอามาให้ดู...

เอามาให้ดู...


เปิดอ่าน 6,409 ครั้ง
โชคชะตาฟ้าลิขิต

โชคชะตาฟ้าลิขิต


เปิดอ่าน 6,407 ครั้ง
เฮฮาสารานุกรม

เฮฮาสารานุกรม


เปิดอ่าน 6,399 ครั้ง
กระจกแสนสนุก

กระจกแสนสนุก


เปิดอ่าน 6,406 ครั้ง
สัพเพเหระ

สัพเพเหระ


เปิดอ่าน 6,418 ครั้ง
13 วีธี เข้าถึงลูกวัยรุ่น

13 วีธี เข้าถึงลูกวัยรุ่น


เปิดอ่าน 6,431 ครั้ง
สื่อที่(ไม่มีวัน)]ล้าสมัย 4

สื่อที่(ไม่มีวัน)]ล้าสมัย 4


เปิดอ่าน 6,400 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

"ลองเปิดดู ทั้งสวย ทั้งแปลก">>ภาพสวย 360 องศา!!!รอบทิศทางครับ

"ลองเปิดดู ทั้งสวย ทั้งแปลก">>ภาพสวย 360 องศา!!!รอบทิศทางครับ

เปิดอ่าน 6,411 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การดูลักษณะชายหญิงจากสะดือ
การดูลักษณะชายหญิงจากสะดือ
เปิดอ่าน 6,605 ☕ คลิกอ่านเลย

สารอาหารที่หัวใจเรียกร้อง
สารอาหารที่หัวใจเรียกร้อง
เปิดอ่าน 6,403 ☕ คลิกอ่านเลย

ส่งสารเด็ก
ส่งสารเด็ก
เปิดอ่าน 6,410 ☕ คลิกอ่านเลย

อยากเป็นเจ้าของหน้าอกกระชับและเต่งตึง... ไม่ยาก
อยากเป็นเจ้าของหน้าอกกระชับและเต่งตึง... ไม่ยาก
เปิดอ่าน 6,405 ☕ คลิกอ่านเลย

สุขภาพดวงตา...ที่อ่อนเยาว์
สุขภาพดวงตา...ที่อ่อนเยาว์
เปิดอ่าน 6,403 ☕ คลิกอ่านเลย

เพลงเพื่อนพึ่งพายามยาก
เพลงเพื่อนพึ่งพายามยาก
เปิดอ่าน 6,418 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

4 วิธี ช่วยให้ผิวคุณสวยไปตลอดกาล
4 วิธี ช่วยให้ผิวคุณสวยไปตลอดกาล
เปิดอ่าน 13,917 ครั้ง

สรุปจำนวนผู้สมัครสอบแข่งขัน ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2560
สรุปจำนวนผู้สมัครสอบแข่งขัน ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2560
เปิดอ่าน 26,434 ครั้ง

ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
เปิดอ่าน 34,086 ครั้ง

เอกสารแนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2559
เอกสารแนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2559
เปิดอ่าน 27,738 ครั้ง

1 กันยายน วันรำลึกถึง สืบ นาคะเสถียร
1 กันยายน วันรำลึกถึง สืบ นาคะเสถียร
เปิดอ่าน 15,908 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ