"แบ็กแพ็ก" หรือกระเป๋าเป้หลัง กลายเป็นอุปกรณ์ใส่ของยอดฮิต ในหมู่เด็กนักเรียนและวัยรุ่น เพราะใส่ของได้มากมายตามต้องการ แต่ต้องไม่ลืมว่าการแบกเป้หนักๆ อาจทำให้ปวดหลังและทำร้ายร่างกายตัวเองได้ โดยเฉพาะที่กระดูกสันหลังนั่นเอง ถ้าหากแบกเป้ไม่ถูกวิธีก็มีแต่เจ็บตัว
เคล็ดลับในการแบกเป้แบบไม่ให้ปวดหลังนั้น ควรเริ่มตั้งแต่รู้ว่าตัวเรา จะสามารถแบกรับน้ำหนักได้มากน้อยเพียงใด และข้อควรระวังอื่นๆ ดังนี้
โดยทั่วไปแล้วนักเรียนนักศึกษาไม่ควรแบกของที่น้ำหนักเกิน 15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวเอง เช่น น้ำหนักตัว 50 กก. ไม่น่าแบกเป้ บรรจุของเกิน 7.5 กก. เป็นต้น
เมื่อจะจัดของลงเป้ ควรนำสิ่งของที่มีน้ำหนักมากกว่าอันอื่น ไว้ที่ก้นกระเป๋าเพื่อให้ร่างกายทรงตัวได้สมดุล เป้อันไหนที่มีสายคาดเอวก็ควรจะล็อกสายนั้นด้วยเพื่อช่วยเฉลี่ยน้ำหนัก
ควรปลดเป้ลงเมื่อต้องยืนนานๆ เพราะยิ่งแบกเป้นานน้ำหนักและแรงกด ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นลงไปบนกระดูกสันหลัง
ควรเลือกเป้ที่มีสายเป้รองไหล่หนาๆ เพื่อน้ำหนักจะได้ไม่กดบริเวณไหล่ จนเกินไป ภายในเป้ที่มี การแบ่งเป็นหลายช่องจะช่วยให้น้ำหนักกระจายได้ดีกว่า
เมื่อจะแบกเป้ควรคุกเข่าลงแล้วใช้แรงจากขา ในการยกจึงจะเป็นท่าที่ถูก ไม่ควรใช้หลังยกเป้ และควรให้เป้อยู่แนบติดหลังขณะที่แบกเดินทาง
ข้อสุดท้ายจำไว้ให้แม่น นำสิ่งของติดตัวไปเฉพาะที่จำเป็น สิ่งของที่เพิ่มขึ้นหมายถึงน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน.
เลือกใช้เป้แบบไหนถึงจะเหมาะ แบกเป้อย่างไรถึงจะดี
การบรรจุสัมภาระลงในเป้ให้ใส่ของหนักไว้ด้านบนเสมอ เพื่อให้จุดศูนย์ถ่วงของเป้อยู่สูงมากที่สุด น้ำหนักจะได้กดลงบนบ่าทั้งสองข้างเสียเป็นส่วนใหญ่ ของหนักที่ใส่ไว้ที่ก้นเป้จะถ่วงลงดัานหลังบริเวณสะโพก ทำให้เดินไม่สะดวก ต้องคอยฝืนโน้มตัวไปด้านหน้าอยู่ตลอดเวลา(แล้วสะโพกของคุณอาจจะระบมในเวลาต่อมา) ทั้งนี้ให้กระจายน้ำหนักของในเป้ให้สมดุลกันทั้งซ้ายและขวา นอกจากนั้นควรจะปรับสายสะพายทั้งสองและสายรัดเอว ให้กระชับพอดีหลังจากนำเป้ขึ้นแบกทุกครั้ง
แพทย์แนะนำว่า ไม่ควรแบกเป้รวมสัมภาระที่มีน้ำหนักเกินกว่า 20% ของน้ำหนักตัวผู้แบกเอง(เช่น ถ้าตัวคุณหนัก 50 ก.ก. ไม่ควรแบกเกิน 10 ก.ก.) ยิ่งถ้าเป็นเด็กหรือร่างกายไม่แข็งแรงให้ลดน้ำหนักน้อยลงไปอีก ถึงแม้ว่าเราจะมีความสามารถแบกน้ำหนักได้มากกว่า 20% ก็ตาม การแบกเป้น้ำหนักเกินเดินขึ้นเขาติดต่อกันหลายชั่วโมง ย่อมไม่เป็นผลดีต่อหลังของเราทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แต่ผมแอบติดเสบียงเกินไป 2-3 ก.ก.เป็นบางครั้ง เพราะกลัวอดมากกว่าหลังเคล็ด
อย่างไรก็ตาม เป้ที่มีคุณภาพราคาแพงและการแบกเป้ที่ถูกต้อง จะไม่ช่วยให้การเดินป่าขึ้นเขาของพวกเรามีประสิทธิภาพขึ้นได้เลย ถ้าพวกเราไม่ได้เตรียมร่างกายของตัวเอง ให้พร้อมสำหรับการแบกน้ำหนักและเดินเท้าระยะไกลอยู่เสมอ
หากเป็นหญิงตัวเล็กควรใช้เป้ขนาด 45-55 ลิตร จะดูเหมาะสมกับรูปร่าง
หากเป็นชายควรใช้รุ่น 65-80 ลิตร คิดว่ากำลังดี สำหรับตัวผมเองผมชอบรุ่น BP001 ขนาด 75 ลิตร ออกแบบได้ดีและใช้ประโยชน์ได้มากๆ รูปทรงอาจจะดูไม่ค่อยสวยเท่าไรแต่ว่าประโยชน์ใช้สอยมาก ผมแพคของทุกอย่างที่จำเป็นต่อการไปแคมป์ทั้งหมดไว้ในเป้ใบนี้ ทั้งเต็นท์โดม เตาแก๊ส แก๊สกระป๋อง หม้อสนาม แผ่นรองนอน ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในเป้ใบนี้ใบเดียว ปกติเวลาไปแคมป์กันเองผมไม่เคยใช้ลูกหาบ ทุกสิ่งทุกอย่างจะแบกเอง เป้ใบนี้มี 2 ลูก ใบใหญ่เก็บอุปกรณ์ทุกอย่าง ใบเล็กใช้เก็บกระป๋องกล้องคล้องคอไว้ด้านหน้า
สิ่งที่บางคนอาจมองข้ามหรือลืมนึกถึงไปสำหรับการเลือกซื้อเป้ บางคนเลือกที่รูปทรงสวยๆ บางคนเลือกที่วัสดุที่เลือกทำเป้ ผมขอเสนอไว้สำหรับการเลือกซื้อเป้ นั่นคือ สายสะพายเป้และแผ่นรับแรงที่แผ่นหลัง เป้ของไทยจะออกแบบโดยคิดว่าที่ออกแบบไว้ดีแล้ว แต่ของต่างประเทศหรือของปลอมแท้ๆ ที่ทำในเวียดนามจะใช้กร๊อปปี้การออกแบบสายรั้งมาจากของยุโรปซึ่งมีการออกแบบให้เข้ากับสรีระของร่างกาย ทำให้แบกได้กระชับและมีการกระจายแรงบนบ่าและแผ่นหลัง ทำให้ไม่ปวดหรือเจ็บบ่า จึงทำให้เราแบกของหนักได้นานขึ้นและสะดวกกว่า หัวใจของเป้ก็อยู่ตรงนี้ล่ะ ของนอกยี่ห้อดังๆ เขาวัดกันที่ตรงการออกแบบสายรั้งนี่ล่ะ
|