Advertisement
รู้หรือ (ไม่) รู้
|
|
|
ลิงก็คือลิง ค่างก็คือค่าง
|
|
|
|
|
|
หลาย ๆ คนเข้าใจว่าลิงกับค่างเป็นสัตว์พวกเดียวกัน ความจริงแล้ว ถึงสัตว์ทั้งสองพวกนี้จะอยู่ในอันดับไพรเมตเหมือนกัน และมีลักษณะคล้ายกัน แต่ลิงก็คือลิง และค่างก็คือค่าง ค่างจะมีรูปร่างลำตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิง ไม่มีถุงข้างแก้มสำหรับเก็บอาหารอย่างลิง ในไทยมีค่างอยู่ทั้งหมดสี่ชนิด คือ ค่างดำ ค่างหงอก ค่างแว่นถิ่นเหนือ และค่างแว่นถิ่นใต้
ค่างที่พบในอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดเป็นค่างแว่นถิ่นใต้ ปรกติแล้วค่างแว่นถิ่นใต้มีถิ่นอาศัยอยู่ในป่าดงดิบแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตอนใต้ของพม่า ภาคใต้ของไทย เรื่อยมาถึงมาเลเซียและหมู่เกาะใกล้เคียง เนื่องจากค่างทุกชนิดอยู่ในสถานภาพที่ถูกคุกคาม จึงนับว่าเป็นสัตว์ที่หาดูตัวได้ยาก แต่ที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดยังมีค่างแว่นถิ่นใต้หาอาศัยอยู่หลายฝูง โดยเฉพาะบริเวณบ้านพัก ดังนั้น ใครมาเที่ยวสามร้อยยอดแล้วพลาด "ค่างโชว์" ก็นับว่าโชคร้ายมากเลย |
|
|
|
|
|
ค่างแว่นถิ่นเหนือ |
พฤศจิกายน 2551 |
|
|
|
|
เรื่องโดย คาโรลา บอร์รีส์ และแอนเดรียส คูนิก |
ภาพถ่ายโดย เริงฤทธิ์ คงเมือง และอรุณ ร้อยศรี
|
|
|
|
|
เจ้าค่างแว่นตัวน้อยร้องโหยหวน มันอยู่กับป้ามานานชั่วโมงกว่าแล้ว แรกๆทุกอย่างก็ดูราบรื่นดี หลานกับป้านั่งติดกันขณะที่ป้าทำความสะอาดขนให้หลานอยู่พักหนึ่ง แต่ตอนนี้ป้าเกิดอยากจะไปไกลๆจากเจ้าหลานตัวน้อย ซึ่งยังเล็กเกินกว่า จะเดินหรือเล่นเองได้ และวันๆเอาแต่เกาะป้าแจไม่ยอมให้ไปไหน ป้าเลยเริ่มผลักไสไล่ส่งหลาน โชคดีที่ 5 นาทีหลังจาก เจ้าตัวน้อยร้องอย่างเอาเป็นเอาตาย ป้าอีกตัวก็เข้ามาปลอบและยอมให้มันเกาะท้อง เสียงร้องจึงเงียบลงเกือบจะทันที ปริศนาการอุ้มชูสมาชิกใหม่ ภาพชีวิตเช่นนี้พบเห็นได้เกือบทุกวันในช่วงนี้ที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูตกลูกของค่างแว่นถิ่นเหนือ (Trachypithecus phayrei) ค่างแว่นตัวน้อยตัวนี้เป็นเพศหญิงอายุยังไม่ถึงสามสัปดาห์ แต่เกือบจะทันทีที่มันลืมตาดูโลก สมาชิกตัวอื่นๆในฝูงต่างช่วยกันประคบประหงมและคอยดูแล “แม่จำเป็น” เหล่านี้ค่อนข้างมีความอดทนน้อยกว่าแม่แท้ๆ ฉะนั้นจึงเกิดเรื่องไม่คาดคิดอยู่เนืองๆ จริงๆแล้ว เจ้าค่างแว่นน้อยตัวนี้ได้รับการเลี้ยงดูค่อนข้างสมบุกสมบันพอสมควร ในช่วงสามสัปดาห์แรกหลังออกจากท้องแม่ มันตกจากต้นไม้มาแล้วหลายครั้ง เนื้อตัวเต็มไปด้วยรอยขีดข่วน และเพิ่งจะเมื่อวานนี้เองที่ค่างแว่นถิ่นเหนือเพศผู้ตัวหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นพ่อของมันมากที่สุด ได้เข้ามาอุ้มเจ้าตัวน้อยอยู่พักหนึ่ง แต่ไม่ทันไรก็เตะมันตกลงมาไม่ต่ำกว่าหกเมตร เจ้าค่างแว่นตัวน้อยกระแทกพื้นอย่างจังจนแม่ต้องลงไปช่วยอุ้มขึ้นมา การให้ความสนใจในสมาชิกเกิดใหม่เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับค่างแว่นถิ่นเหนือและลิงชนิดอื่นๆในวงศ์ย่อยค่างที่พบในเอเชียและแอฟริกา พฤติกรรมเช่นว่านี้น่าจะเกิดจากการที่ลูกค่างแว่นเกิดใหม่มีสีขนและผิวที่แตกต่างจากตัวเต็มวัยอย่างสิ้นเชิง ลูกค่างแว่นเกิดใหม่ดูน่ารักน่าเอ็นดูด้วยขนสีส้มสดและผิวหนังสีอ่อนๆ เรายังไม่เข้าใจอย่างแน่ชัดว่า เพราะเหตุใดเหตุการณ์ไม่คาดคิดจึงมักจะเกิดกับลูกค่างแว่นเวลาที่ไม่ได้อยู่ในอ้อมอกแม่ ปกติแล้ว ค่างแว่นตัวแม่ดูจะได้ประโยชน์จากการที่ค่างตัวอื่นเอาลูกของมันไปเลี้ยงบ้างเป็นครั้งคราว คล้ายๆกับเอาลูกไปฝากไว้ที่โรงเรียนอนุบาลนั่นเอง เวลาที่ลูกไม่อยู่ ตัวแม่จะกินได้เร็วขึ้นและมากขึ้น มีเวลาเข้าสังคมกับค่างตัวอื่นๆในฝูง จึงน่าจะเป็นได้ว่า บรรดาแม่บังเกิดเกล้าพร้อมที่จะให้ลูกๆมีรอยขีดข่วนหรือถลอกปอกเปิกบ้าง เพื่อแลกกับการที่พวกมันได้อิ่มหมีพีมันมากขึ้น และมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับสมาชิกตัวอื่นๆ ขณะที่เจ้าตัวน้อยก็อาจจะคุ้นเคยกับสมาชิกในฝูงเร็วขึ้น และอาจได้รับการช่วยเหลือจากสมาชิกตัวไหนก็ได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน แต่ข้อน่าข้องใจก็คือ ทำไมแม่แท้ๆถึงปล่อยให้ค่างตัวอื่นดูแลลูก และเพราะเหตุใดบรรดาแม่จำเป็นหรือแม่เฉพาะกิจถึงหมดความสนใจค่างแว่นตัวน้อยในเวลาอันรวดเร็ว เราพอจะเข้าใจได้ว่า แม่เฉพาะกิจที่อายุยังน้อยและอ่อนประสบการณ์อาจอยากฝึกเลี้ยงดูลูก แต่ไม่มีเหตุผลเลยสำหรับตัวผู้ที่โตเต็มวัยหรือตัวอื่นๆที่พากันมามุงดูสมาชิกใหม่ที่เพิ่งลืมตาดูโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศเมียที่มีลูกแล้วหรือกำลังจะมีลูก เป็นไปได้หรือไม่ว่าพวกมันมาช่วยดูแลสมาชิกใหม่ เพื่อแลกกับผลประโยชน์อย่างอื่นในอนาคต เป็นต้นว่าพวกมันหวังจะได้รับความช่วยเหลืออย่างเดียวกันในภายหลัง หรือความช่วยเหลือในรูปแบบอื่นๆ ความพยายามที่จะไขปริศนาในเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหลายเหตุผลที่ทำให้เราเริ่มการศึกษาวิจัยค่างแว่นถิ่นเหนือที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว โครงการศึกษาวิจัยระยะยาว ปลายปี 2543 เราร่วมงานกับเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวสองคน และอาสาสมัครชาวอเมริกันหนึ่งคน หลังจาก ทำการสำรวจในช่วงแรกๆ ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการวิจัยของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เราก็ตัดสินใจเลือกจุดที่จะใช้ในการศึกษาวิจัย โดยพุ่งเป้าไปที่ค่างแว่นถิ่นเหนือฝูงหนึ่งซึ่งมีอยู่ประมาณ 15 ตัว ปกติแล้ว ค่างแว่นถิ่นเหนือเป็นสัตว์ที่ขี้อายมากและรู้จักใช้อุบายต่างๆเพื่อสลัดพวกเรา เช่น พวกมันจะปีนสูงขึ้นไปบนต้นไม้แล้วไม่ส่งเสียงเลยเป็นเวลาหลายชั่วโมงติดต่อกัน หลายครั้งที่เราเลิกติดตามโดยไม่เอะใจเลยว่าพวกมันอยู่เหนือหัวเรานี่เอง หรืออีกวิธีหนึ่งคือ พวกมันจะเผ่นหนีกันไปคนละทิศละทาง แยกกันเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย จนเหลืออยู่แค่ตัวหรือสองตัว จนพวกเราไม่สามารถติดตามได้ถูก วิธีนี้พวกมันน่าจะใช้เวลาหนีสัตว์นักล่าใหญ่ด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าค่างแว่นถิ่นเหนือรู้จักมนุษย์และไม่อยากอยู่ใกล้ๆ เหตุผลหลักน่าจะเป็นเพราะพวกมันเคยถูกล่าก่อนหน้าที่สถานที่แห่งนี้จะได้รับการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ค่างแว่นถิ่นเหนือเหล่านี้ค่อยๆไว้ใจเราทีละนิด พวกเราใช้เวลาเกือบปีกว่าฝูงแรกจะไว้ใจ ตอนนี้เรามีทั้งหมด 4 ฝูงที่ยอมใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางการเฝ้าสังเกตของมนุษย์ ตารางการทำงานของเราคือ ในหนึ่งเดือน เราต้องติดตามศึกษาแต่ละฝูงให้ได้อย่างน้อย 5 วัน เริ่มจากทีมงานชุดหนึ่งจะออกไปตามหาฝูงที่ต้องการติดตาม ปกติแล้ว ค่างแว่นถิ่นเหนือจะมีบริเวณที่พวกมันชอบอยู่เป็นพิเศษในเวลากลางคืนและทีมงานชุดนี้ต้องหาให้พบ แต่บริเวณที่ว่าก็มีอยู่มากมายทีเดียว เพราะค่างแว่นก็ไม่ต่างจากสัตว์ในตระกูลลิงอื่นๆที่ไม่ได้มีที่นอนเพียงแห่งเดียว นั่นหมายความว่า พวกมันจะไม่กลับไปนอนที่เดิมนั่นเอง ฉะนั้น จึงอาจเป็นเรื่องของโชคเหมือนกันเวลาที่เราหาพวกมันเจอ ครั้นพอเจอแล้ว พวกเราจะตามมันไปทุกที่จนกว่าค่างแว่นเหล่านี้จะได้ที่นอน หลังจากนั้นทีมงานชุดนี้จะกลับออกมาก่อนมืดค่ำ เช้าวันรุ่งขึ้น ทีมเดิมจะกลับเข้าไปหาพวกมันตั้งแต่ฟ้ายังไม่สาง แล้วเฝ้าอยู่จนถึงเที่ยงวัน ก่อนที่ทีมที่สองจะเข้ามารับช่วงต่อ เพื่อให้ทีมแรกกลับไปพักผ่อนและบันทึกข้อมูล วิทยาทานจากค่างแว่นถิ่นเหนือ ระบบจีพีเอสช่วยให้เราระบุตำแหน่งของค่างแว่นถิ่นเหนือในป่าทุกๆครึ่งชั่วโมง เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือน เราจะมีข้อมูลพอที่จะสรุปได้ว่า อาณาเขตของพวกมันกินพื้นที่ขนาดไหน พวกมันเดินทางไกลแค่ไหนในแต่ละวัน และโดยรวมแล้ว พวกมันต้องการใช้พื้นที่มากเพียงใดในการดำรงชีวิต นอกจากนี้ ระบบจีพีเอสยังช่วยให้เรารู้ด้วยว่า พื้นที่ไหนมีค่างแว่นเข้าไปใช้มากกว่าหนึ่งฝูง ซึ่งปกติแล้ว พวกมันจะไม่ค่อยใช้พื้นที่ทับซ้อนกันสักเท่าไหร่ และนานๆจะเจอกันสักที ในช่วงที่เรามีกำลังคนมากพอ เราจะพยายามติดตามฝูงค่างแว่นสองฝูงพร้อมๆกัน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ในแง่ของการใช้พื้นที่ระหว่างฝูงต่างๆ เช่น พวกมันทำอย่างไรถึงแทบไม่เจอกันเลย จนเกือบจะดูเหมือนว่า พวกมันพยายามหลบเลี่ยงซึ่งกันและกัน และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง พวกมันใช้กลวิธีใด เป็นไปได้หรือไม่ว่าพวกมันอาศัยฟังเสียงเรียกของบรรดาตัวผู้ในฝูง แต่เสียงนี้ก็ไม่ได้มีทุกวัน และยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เสียงเรียกนี้ไปได้ไกลแค่ไหนในป่าที่รกทึบ ยังมีอีกหลายคำถามที่รอให้เราค้นหาคำตอบ ซึ่งทำให้งานของเราน่าตื่นเต้น แต่ละวันที่อยู่ในป่ากับค่างแว่นเหล่านี้ เราก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพวกมันมากขึ้นทีละน้อยๆ
อ่านเรื่องราวทั้งหมดอย่างจุใจได้จาก นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย
|
|
|
|
|
|
ผมมองว่าสังคมไทยวันนี้เป็นสังคมปรนัย..จึงย่ำแย่
"ปรนัย" ตามความหมายใน"พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒" ให้คำอธิบายตอนหนึ่งว่า ".....เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เป็นคําถามที่ต้องการคําตอบตายตัว..."
เมื่อสังคมไทยกลายเป็น"สังคมปรนัย" ก็หมายความเป็นไปตามความหมาย นั่นคือ "..ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นส่วนตัว.." ทำให้สังคมไทยวนและจมปลักอยู่ในวังวนน้ำเน่า ทั้งเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เพราะ"ทุกอย่าง" ถูกกำหนดให้"ประชาชน"มีส่วนร่วมเพียง"เลือก"ในสิ่งที่ถูกกำหนดมาแล้วแบบ"ตายตัว"
การไม่มีปากมีเสียงและไม่มีโอกาสแสดงความเห็นจึงเป็นสิ่งที่น่าห่วงของสังคมไทย
ปัญหานี้ อาจจะเป็นปัญหาเล็กๆสำหรับคนทั่วไป แต่นี่คือสิ่งที่จะต้องปลูกฝังตั้งแต่วันนี้ และคนที่จะต้องรับผิดชอบต่อจากพ่อแม่ที่ยังยึดหลักการเลี้ยงลูกแบบปรนัย คือหามาให้ลูกเลือกว่าจะเอาหรือไม่เอาก็คือ"ครู" ที่ควรจะเลิกสอนและออกข้อสอบแบบปรนัย แต่หันมาให้ความสำคัญกับการออกข้อสอบแบบ"อัตนัย"
ใน"พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒" ให้ความหมายของอัตนัยไว้ว่า "...เปิดโอกาสให้แสดงความรู้หรือความคิดเห็นส่วนตัวได้, เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบบรรยายแสดงความรู้หรือแสดง ความคิดเห็นของตนเอง.."
นี่คือ"ความยาก"ของการออกข้อสอบประเภทนี้ที่"ครู"หลายคนไม่ชอบ
ไม่ชอบเพราะการตอบแบบ"อัตนัย" คนตรวจข้อสอบจะต้องมี(ทั้ง)ความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้นๆมากกว่าคนตอบ และต้องสามารถ"เข้าใจ"ว่าคนตอบกำลังจะอธิบายอะไรในคำตอบนั้นๆ ซึ่งแน่นอนว่ายากกว่าการออกข้อสอบแบบ"ปรนัย" ที่มี"คำตอบสำเร็จรูป"ที่ครูแค่ตรวจว่านักเรียนเลือกข้อ ก. ข. ค.หรือ ง. ซึ่งส่วนใหญ่ข้อ ง.มักจะเป็น"ถูกทุกข้อ"
การพัฒนาประเทศไทยวันนี้ จึงต้องเริ่มที่"ครู"..ที่ต้องกล้าออกข้อสอบอัตนัย
วันนี้ 16 มกราคม เป็น"วันครู"..ผมจึงอยากเสนอสิ่งที่"ยาก"สำหรับหน่วยงานที่ผลิต"ครู" ว่าถึงเวลาหรือยังที่จะ"สอน"ให้คนที่จะเป็น"ครู" เรียนรู้และเข้าใจที่จะพัฒนาสังคมไทยให้เป็น"สังคมอัตนัย" ด้วยการสอนให้นักเรียนไทย"กล้า"ที่จะออกความเห็น มากกว่านั่งปั่นแปะประเภท "หัวคือข้อ ก. ก้อยคือข้อ ข."
ครู...จึงเป็น"ผู้นำ"ที่แท้จริงในการพัฒนาประเทศ แต่เปลี่ยนประเทศไทยจาก"สังคมปรนัย"เป็น"สังคมอัตนัย"
ถึงเวลาหรือยังครับครู !!!
|
โดย ลูกเสือหมายเลข9 |
วันที่ 14 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,197 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,409 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 82,839 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,186 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,298 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,548 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,985 ครั้ง |
|
|