Advertisement
การบูชาในวันเพ็ญเดือน 8 (สำหรับปีที่มีเดือน 8 สองหน หรือปีที่มีอธิกมาส เป็นวันเพ็ญเดือนแปดหลัง) เรียกว่า อาสาฬหบูชา อ่านว่า "อาสานหะบูชา" ไม่ใช่ "อาสาละหะบูชา" ดังที่มีบางท่านอ่าน
ความเป็นมาของวันนี้คง ทราบกันแล้วโดยทั่วไป แต่น้อยคนจะทราบว่า วันอาสาฬหบูชา เกิดขึ้นด้วยความดำริของพระเถระรูปหนึ่งซึ่งสมัยนั้นท่านดำรงตำแหน่งทางการ ปกครองสงฆ์เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา ท่านได้นำเสนอคณะสังฆมนตรี (สมัยนั้นมีการปกครองสงฆ์คล้ายคลึงกับทางรัฐมาก มีสังฆมนตรี เทียบได้กับรัฐมนตรี มี 4 องค์การ คือ องค์การปกครอง, องค์การศึกษา, องค์การเผยแผ่ และองค์การสาธารณูปการ) คณะสังฆมนตรีมีมติให้กำหนดวันอาสาฬหบูชาขึ้นเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง เพิ่มจากวันมาฆบูชา และวันวิสาขบูชาที่มีมาแต่เดิม และประกาศใช้มาตั้งแต่พุทธศักราช 2501
พระเถระที่เป็นต้นความคิดนี้ คือ พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารีเถระ) จึงขอจารึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศนี้
ความสำคัญของวันนี้มี 4 ประการ คือ
1.เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
2.เป็นวันแรกที่ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ประกาศสัจธรรมที่ทรงได้บรรลุ
3.เป็นวันแรกที่เกิดอริยสงฆ์องค์แรกคือพระอัญญาโกณฑัญญะได้ "ดวงตาเห็นธรรม" และได้รับอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
4.เป็นวันแรกที่เกิดพระสังฆรัตนะ ทำให้พระรัตนตรัยครบสมบูรณ์
เห็น จะต้องทบทวนเรื่องราวก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์สักหน่อย เพื่อความเข้าใจอันดี สำหรับท่านที่ทราบดีแล้วก็ขอให้อ่านผ่านๆ ไปนะครับ
หลัง จากพระโพธิสัตว์เจ้าทรงอำลาดาบสทั้งสอง (อาฬารดาบสและอุทกดาบส) ไปแสวงหาทางหลุดพ้นด้วยพระองค์เอง พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญตบวิธี (การทรมานตน) ด้วยวิธีต่างๆ ท้ายที่สุดก็ทรงทำ "ทุกรกิริยา" ซึ่งมีด้วยกัน 3 ขั้นตอน ขั้นตอนสุดท้ายคือ การอดอาหาร ในช่วงนี้เอง ปัญจวัคคีย์ได้ติดตามมาเฝ้าปรนนิบัติ ด้วยหวังว่าจักได้รับฟังธรรมจากพระองค์เมื่อพระองค์ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ แล้ว
สถานที่ทรงทำทุกรกิริยา ปัจจุบันนี้เรียกว่า "ดงคศิริ" อยู่ฝั่งตะวันออก ของเจดีย์พุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ ใครมีโอกาสไปไหว้สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ควรจะหาโอกาสไปนมัสการ อย่างน้อยก็จะได้เห็นด้วยตาว่า ถ้ำดงคศิริที่พระพุทธองค์ทรงทรมานกายก่อนตรัสรู้นั้นเป็นอย่างไร
เมื่อ ทรงอดพระกระยาหารจนผ่ายผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ก็ไม่สามารถบรรลุสัจธรรมได้ จึงทรงเลิกอด หันมาเสวยพระกระยาหาร โกณฑัญญะและพวกอีกสี่คนเห็นปักใจเชื่อว่า พระองค์ไม่มีทางได้บรรลุแล้ว ได้กลายมาเป็นคนเห็นแก่กินเสียแล้ว จึงชวนกันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราสี ปัจจุบันเรียกกันว่า "สารนาถ" ห่างจากดงคศิริประมาณสองร้อยกว่ากิโลเมตร
เมื่อ พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงหวนรำลึกถึงผู้จะรับฟังธรรมจากพระองค์ ครั้งแรกทรงนึกถึงดาบสทั้งสองที่เคยเป็นพระอาจารย์สอนพระองค์จนได้ฌาน สมาบัติแปด แต่ทรงทราบด้วยพระญาณว่า อาจารย์ทั้งสองสิ้นชีวิตก่อนหน้านั้นเจ็ดวันแล้ว จึงทรงหวนนึกถึงปัญจวัคคีย์ เห็นว่าพวกเธอมีความพร้อมที่จะรับคำสอนได้ จึงเสด็จดำเนินด้วยพระบาทมุ่งเน้นไปยังสารนาถ
ระหว่างทางทรงพบอาชีวก (นักบวชเร่ร่อนประเภทหนึ่ง) ชื่อ อุปกะ อุปกะทึ่งในบุคลิกอันงามสง่าของพระองค์ ทูลถามว่าใครเป็นศาสดาของพระองค์ พระองค์ตรัสว่าพระองค์เป็นสัมมาสัมพุทธะ (ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง) ไม่มีใครสอน อุปกะสั่นศีรษะร้องว่า "หุเวยยาวุโส ผู้มีอายุ ที่ท่านพูดเป็นไปได้" ตรงนี้ผู้แต่งพุทธประวัติบอกว่า อุปกะไม่เชื่อพระพุทธเจ้า จึงสั่นศีรษะ แล้วก็หลีกทางไป
แต่ พิเคราะห์คำพูดและกิริยาสั่นศีรษะ ตามวัฒนธรรมแขกหมายถึงเชื่อมากกว่า แต่พระพุทธองค์ไม่ประสงค์จะสอนอุปกะ ทรงมุ่งโปรดปัญจวัคคีย์มากกว่า จึงมิได้เสียเวลาสอนอุปกะ
แรกที่พบ ทั้งห้ายืนกรานไม่เชื่อ ไม่ยอมนั่งลงฟังพระองค์ พระองค์จึงทรงเตือนความหลังว่า อยู่ด้วยกันมานาน พวกเธอเคยได้ยินเราตถาคตพูดอย่างนี้ไหม
ปัญจวัคคีย์พลันนึกขึ้นมาได้ ว่า จริงสินะ พระพุทธองค์ไม่เคยตรัสคำนี้เลย วันนี้ตรัสยืนยันอย่างนี้ แสดงว่าคงได้บรรลุจริง จึงยอมนั่งลงฟังธรรม
พระองค์ทรงแสดง "ทาง" ที่ไม่ควรดำเนิน 2 ทาง คือ การหมกหมุ่นในกามและการทรมานตน ว่าเป็น "ทางสุดโต่ง" หรือ "ทางตัน" ไม่นำไปสู่การพ้นทุกข์ เสร็จแล้วทรงแสดงอริยมรรคมีองค์แปดว่าเป็นทางทำให้พ้นทุกข์จริง ลงท้ายด้วยแสดงอริยสัจสี่ครบวงจร
จบพระธรรมเทศนา โกณฑัญญะได้ "ดวงตาเห็นธรรม" แล้วทูลขอบวชเป็นพระสาวกองค์แรก
ต้นเหตุวันอาสาฬหบูชามีมาด้วยประการฉะนี้แหละครับ
ผม มีความปรารถนามานานแล้ว อยากทำเพลงพระพุทธศาสนา เริ่มด้วยเพลงบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพลงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาทั้ง 3 วัน คือ มาฆบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชา ตลอดถึงเพลงธรรมะอื่นๆ ด้วย แต่ไม่มีปัญญาทำ เพราะไม่มีความรู้ความสามารถทางด้านนี้
ที่แล้วมาก็ร่วมมือกับเพื่อน ฝูงคนชอบพอ ทำเพลงคาถาชินบัญชร และเพลงพาหุง เผยแพร่ ก็ออกมาดีเป็นที่ชอบอกชอบใจของแฟนๆ จนต้องทำออกมาสองเวอร์ชั่นดังที่ทราบกันแล้ว
คราวนี้อยากจะเห็นเพลง นมัสการพระรัตนตรัยและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาบ้าง ก็ได้แต่งเนื้อไว้แล้ว ตั้งใจจะขอความร่วมมือจากเพื่อนฝูงมือโปร ช่วยผลิตออกมา
เคยไป อินเดียใต้ ไปเห็นเพลงนมัสการพระเจ้าของชาวภารตะ เขาทำออกมาไพเราะมาก ทั้งๆ ที่เนื้อของเขาไม่มีอะไรมาก เพียง "โอม" คำเดียว เขายังสามารถสร้างเป็นเพลงไพเราะ ประทับใจมาก คิดเงียบๆ ว่า ของพุทธเรา บทสรรเสริญพระรัตนตรัย (อิติปิโส...สวากขาโต...สุปฏิปันโน...) ไพเราะยิ่ง เราน่าจะนำมาทำเพลงนมัสการได้ดีกว่าเป็นไหนๆ
ปรารภความนี้กับคุณ พิสุทธิ์ เกรียงบูรพา ผู้มีฝีไม้ลายมือผลิตเพลงถวายหลวงพี่พะยอมมาแล้ว คุณพิสุทธิ์บอกว่า เขาก็คิดเช่นเดียวกัน และทำเดโมออกมาแล้วเพลงหนึ่งคือ เพลงอาสาฬหบูชา
ว่าแล้วก็นำเดโมเพลงอาสาฬหบูชามาให้ฟัง ผมฟังแล้วก็ get ขึ้นมาทันที ได้การแล้ว จึงชวนแกไปคุยกับ คุณหมู (คุณอรวรรณ ทรัพย์เมลือง) และครูอ้วน (คุณมณีนุช เสมรสุต) ที่จูงมือกันไปคุยกับครู ก็เพราะอยากได้เด็กที่ครูสอนดนตรีอยู่มาร้องเพลงนมัสการพระพุทธเจ้า
เรา หวังลึกๆ ว่า เพลงนมัสการพระพุทธองค์จะต้องร้องโดยเด็กวัยใส เสียงใสๆ เพื่อสร้างบรรยากาศบริสุทธิ์ผ่องใส คงจะดีกว่าเสียงแหบๆ พร่าๆ ของบรรดาวัยรุ่นแรก (แย้มฝาโลง) อย่างเรา ครูได้ทราบความประสงค์ของเราแล้ว ก็ดีใจหาย จะช่วยให้ความปรารถนาของเราสำเร็จได้ โดยเมตตาจะนำเพลงมาเป็นหนึ่งในกิจกรรมการสอนร้องเพลงด้วย เพื่อเป็นการซึมซับศีลธรรมจริยธรรมแก่เด็กไปในตัว
ทีแรกตั้งใจจะผลิต เพลงออกมาให้ทันวันอาสาฬหบูชา แต่เวลากระชั้น เกรงจะไม่ทัน ไม่อยากให้อะไรออกมาลวกๆ ผมเสียชื่อไม่กระไรดอก กลัวจะเสียชื่อมือระดับครูด้วย จึงคิดว่าจะทยอยออกมาทีละเพลง โดยนำเพลงอาสาฬหบูชาออกมาเนื่องในวันอาสาฬหบูชาก่อน ไม่ทันก็ให้ทันฤดูเข้าพรรษาระยะเวลา 3 เดือนก็แล้วกัน แล้วค่อยตามด้วยเพลงอื่นๆ ตามเหมาะสม
คราวนี้เพียงแต่แจ้งคร่าวๆ ก่อน รายละเอียดจะเป็นประการใด ค่อยขยายให้ฟังในโอกาสต่อไป
วันที่ 14 พ.ค. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,178 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,567 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,176 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,778 ครั้ง |
เปิดอ่าน 243,434 ครั้ง |
เปิดอ่าน 114,543 ครั้ง |
เปิดอ่าน 41,189 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,827 ครั้ง |
|
|