|
ส้มตำกึ่งสำเร็จรูป ‘Thai Smile’ |
|
|
“ส้มตำ” ไม่ใช่เพียงเมนูยอดฮิตแค่คนไทยเท่านั้น ชาวต่างชาติอีกจำนวนมากที่นิยมอาหารไทยต่างหลงใหลเมนูนี้เช่นเดียวกัน ทว่า ในต่างประเทศจะหากินได้ยากเต็มที ยิ่งเป็นส้มตำรสชาติต้นตำรับวัตถุดิบสดใหม่ด้วยแล้ว โอกาสจะได้สัมผัสแทบจะเป็นไปไม่ได้
|
|
วิริยา พรทวีวัฒน์ |
|
|
ทว่า จากฝีมือเอสเอ็มอีไทย อย่างบริษัท พรทวีโสภณ จำกัด สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ของการแปรรูปอาหารสำเร็จ ด้วยเทคโนโลยีอบแห้งระบบเตาอบสุญญากาศ ซึ่งคุณสมบัติแปรรูปอาหารได้ทุกชนิด โดยไม่สูญเสียรสชาติ นอกจากนั้น สามารถเก็บไว้ได้ในอุณหภูมิปกตินานนับปี ถือเป็นผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในประเทศ ช่วยพาครัวไทยไปสู่ครัวโลกอย่างเป็นรูปธรรม และที่สำคัญมีส่วนเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตการเกษตรไทยด้วย
|
|
วัตถุดิบบรรจุในซองสุญญากาศ |
|
|
วิริยา พรทวีวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ เผยว่า วัตถุประสงค์เริ่มแรก อยากช่วยเหลือเกษตรกร แก้ปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำในฤดูกาลที่ออกมากจนล้นตลาด ซึ่งการแปรรูปถือเป็นคำตอบสุดท้ายของปัญหาดังกล่าว
|
|
ข้าวเหนียวทุเรียนกึ่งสำเร็จรูป |
|
|
ทั้งนี้ การแปรรูปโดยวิธีอบแห้งนั้น มี 4 วิธีหลัก ได้แก่ 1.ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Sun dry) วิธีนี้ประหยัด แต่มีโอกาสปนเปื้อนสูง เช่น การทำกล้วยตาก 2. ใช้เตาอบความร้อน (Heat pump) วิธีนี้ยังเสี่ยงต่อการปนเปื้อน อีกทั้ง ผลผลิตที่ได้มีสีคล้ำเข้ม และแห้งแข็งกระด้าง ผลไม้บางชนิดไม่สามารถแปรรูปได้ 3.แช่แข็งระบบสุญญากาศ (Vacuum freeze dry) วิธีนี้ใช้แพร่หลายประเภทอาหารแช่แข็งทั่วไป ทว่า มีข้อจำกัดที่เครื่องจักรราคาสูง และการนำไปแช่แข็งส่งผลต่อรสชาติอาหาร และ 4.ใช้เตาอบสุญญากาศ (Vacuum dry) วิธีนี้เมื่อแปรรูปแล้วผลผลิตยังใกล้เคียงธรรมชาติ ทั้งรูปทรง รสชาติ และคุณค่าโภชนาการ ทว่า มีข้อเสียที่ต้นทุนผลิตสูง โดยเฉพาะราคาเตาอบสูงมาก
|
|
เตาอบสุญญากาศ ฝีมือคนไทย |
|
|
“บริษัทตัดสินใจเลือกระบบเตาอบสุญญากาศ เพราะยังไม่ผู้ผลิตรายใดในประเทศทำเลย อีกทั้ง รักษาคุณภาพของผลผลิตได้ดีกว่าทุกระบบ แต่หากเราจะลงทุนซื้อเครื่องจักรต่างประเทศ จะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก กว่า 80 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทจึงคิดพัฒนาเครื่องจักรด้วยตัวเอง โดยมีทีมวิศวกรรมเครื่องจักร และวิทยาศาสตร์อาหาร ทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ กว่าจะสำเร็จสมบูรณ์ใช้เวลากว่า 5 ปี”
|
|
สแน็คทุเรียน อีกผลิตภัณฑ์ของเอสเอ็มอีรายนี้ |
|
|
วิริยา อธิบายต่อว่า ใช้งบประมาณกว่า 30 ล้านบาทในการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักร รวมถึงสร้างโรงงานที่ จ.ลำพูน ซึ่งได้มาตรฐานคุณภาพอาหารครบถ้วน เช่น GMP CODEX HACCP และ ISO9001-2000 เป็นต้น ในส่วนเตาอบที่พัฒนาขึ้น ปัจจุบัน มีอยู่ 12 เตา ต้นทุนการผลิตถูกกว่าเครื่องจักรนำเข้ากว่า 10 เท่า แต่ประสิทธิภาพการผลิตไม่แตกต่างกัน
|
|
ผลไม้อบแห้งที่ผ่านกระบวนการแล้ว |
|
|
สำหรับหลักการทำงานของแปรรูปด้วยเตาอบสุญญากาศ อธิบายง่ายๆ คือ การนำน้ำหรือความชื้นออกจากผลผลิต เพื่อจะถนอมอายุได้ยาวนานกว่า 1 ปี และหากต้องการให้คืนรูปเดิม เพียงแค่นำไปแช่น้ำ เพื่อคืนความชื้น ผลผลิตก็จะกลับคืนสภาพเดิมก่อนอบแห้ง ซึ่งผลผลิตน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เมื่ออบแห้งออกมาแล้วจะเหลือน้ำหนักเพียง 4 ขีดเท่านั้น
แม้หลักการจะดูเรียบง่ายมาก แต่ในทางปฏิบัติมีรายละเอียดที่สลับซับซ้อนสูง ดังนั้น กว่าจะสำเร็จจึงใช้เวลาวิจัยและพัฒนายาวนานกว่า 5 ปี
|
|
พืชสมุนไพรอบแห้ง เน้นส่งเข้าโรงงานอาหารแปรรูปต่างๆ |
|
|
เจ้าของธุรกิจ เผยต่อว่า เริ่มทดลองตลาดเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว โดยนำผลไม้ไทยอบแห้ง เช่น ลำไย ลิ้นจี้ เงาะ ทุเรียน ฯลฯ ไปออกโรดโชว์ที่ประเทศจีน ซึ่งได้ผลการตอบรับด้วยดี เพราะผลไม้ที่แปรรูปด้วยวิธีนี้ จะรักษาความฉ่ำหวานและรสชาติสดใหม่ได้ดีกว่า และที่สำคัญไม่ใส่สารเคมีป้องกันเน่าเสียใดๆ ทั้งสิ้น
|
|
ทีมวิจัยของบริษัท |
|
|
ตามด้วยการพัฒนาสินค้าแปรรูปพืชสมุนไพรต่างๆ เช่น ต้นหอม ขิง ตะไคร่ พริก กระเทียม ฯลฯ โดยสินค้ากลุ่มนี้เน้นส่งเข้าโรงงานอาหารแปรรูปต่างๆ อีกทั้ง แปรรูปผลไม้ต่างๆ เป็นขนมกินเล่นแบบสแน็คส์ (Snacks) ได้แก่ ทุเรียนสแน็คส์ และล่าสุดคือ แปรรูปเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูป ประเดิมด้วย 2 เมนู คือ ส้มตำ และข้าวเหนียวทุเรียน ภายใต้ชื่อแบรนด์ “Thai Smile” ซึ่งจะเปิดตัวในงาน THAIFEX – World of Fool Asia 2009 ระหว่างวันที่ 13-17 พฤษภาคมนี้
|
|
ขั้นตอนแรก เติมน้ำลงไป |
|
|
“เรามีจุดยืนอยากจะพาครัวไทยไปกระจายสู่ทั่วโลก ดังนั้นการแปรรูปเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูป จึงมีโอกาสที่จะเปิดตลาดได้กว้างกว่าส่งแค่วัตถุดิบ โดยจุดขายจะเน้นนำเสนอความเป็นอาหารไทยที่ชาวต่างชาติชื่นชอบอยู่แล้ว และการแปรรูปด้วยวิธีอบแห้งสุญญากาศ มีคุณสมบัติเด่นสามารถเก็บไว้ได้ในอุณหภูมิปกติ ช่วยให้การขนส่ง เพื่อส่งออก ทำได้ง่ายและประหยัดกว่าอาหารแปรรูปแช่แข็ง”
|
|
นำเข้าเตาไมโครเวฟ |
|
|
ทั้งนี้ ส้มตำ และข้าวเหนียวทุเรียน กึ่งสำเร็จรูป “Thai Smile” ราคาชุดละ 65 บาท โดยจะบรรจุอยู่ในภาชนะปิดฝา ภายในประกอบด้วยวัตถุดิบ และเครื่องปรุงต่างๆ บรรจุในซองสุญญากาศ วิธีการทำนั้น สำหรับส้มตำนำผักแต่ละชนิดในซองเติมน้ำแล้วนำเข้าเครื่องไมโครเวฟ 2 นาที พักไว้สักครู่เส้นผักจะคืนตัว จากนั้นรินน้ำร้อนทิ้ง สุดท้ายนำผักมาคลุกเคล้ากับน้ำปรุงรสส้มตำเป็นอันเสร็จขั้นตอน
|
|
ผักต่างๆ จะคืนรูปเดิม |
|
|
|
|
นำผักมาคลุกเคล้ากับน้ำปรุงรสส้มตำ |
|
|
|
|
ได้เป็นส้มตำสมบูรณ์แบบ |
|
|
ส่วนข้าวเหนียวทุเรียนนั้น นำข้าวเหนียวและทุเรียนอบแห้งเติมน้ำ แล้วนำเข้าไมโครเวฟ 2.5 นาที จากนั้นรินน้ำจากถ้วยลงในถ้วยที่ใส่ผงกะทิทุเรียนแล้วคนให้เข้ากัน จากนั้น นำกลับมาเติมในถ้วยข้าวเหนียว ก็จะได้ข้าวเหนียวกะทิพร้อมกิน
|
|
ข้าวเหนียว ขั้นตอนแรก ต้องเติมน้ำเช่นกัน |
|
|
|
|
จากนั้นเข้าเตาไมโครเวฟ |
|
|
วิริยา ให้เหตุผลที่เลือกนำร่องด้วย 2 เมนูนี้ เพราะเป็นอาหารไทยที่ต่างชาติรู้จักดีอยู่แล้ว ส่วนในอนาคตจะเพิ่มเติมอาหารไทยชื่อดังอื่นๆ เช่น ผัดไทย และขนมหวานไทยต่างๆ เป็นต้น
“ดิฉันกำหนดกลุ่มลูกค้าหลักไว้ที่การส่งออกต่างประเทศ 70% ซึ่งชาวต่างชาตินิยมอาหารไทยอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาหากินยาก โดยการทำตลาดจะอาศัยออกงานแฟร์อาหารระดับนานาชาติ ขณะที่ตลาดในประเทศ วางไว้แค่ 30% เพราะอาหารเหล่านี้สำหรับคนไทยหากินได้ง่ายอยู่แล้ว โดยช่องทางขาย เร็วๆ นี้จะส่งเข้าห้างโมเดิร์นเทรด และร้านสะดวกซื้อต่างๆ”
|
|
รินน้ำออก เปิดฝาก็จะได้ข้าวเหนียว พร้อมเนื้อทุเรียนที่คืนรูปแล้ว |
|
|
|
|
นำน้ำกะทิมาเทกลับ เป็นอันเสร็จขั้นตอน |
|
|
เจ้าของธุรกิจ ทิ้งท้ายว่า ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานประมาณ 50 คน มีฐานการผลิตโรงงานอยู่ที่ จ.ลำพูน ส่วนวัตถุดิบการเกษตรต่างๆ จะรับซื้อจากทั่วประเทศ คัดเฉพาะสินค้าเกรดเอ ปลูกโดยปลอดสารพิษ วางเป้าหมายไว้จะผลิตได้ประมาณ 2 แสนกิโลกรัมต่อปี ในระยะเวลา 3 ปี และสามารถคืนเงินลงทุนได้ในเวลา 2-3 ปีเช่นกัน
|