Advertisement
❝ พลังสร้างสรรค์ แบ่งปันนำใจ คือพลังจากเยาวชนไทย อาสาพัฒนา ที่น่าชื่นชม ❞
เยาวชนพอดี ร.ร."พอเพียง"
|
หลังทำกิจกรรมค่ายร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมากว่า 1 สัปดาห์ ตั้งแต่การวางแผน การแบ่งงาน ทั้งงานโครงสร้าง งานแปลงสาธิต บอร์ดนิทรรศการ และงานประชาสัมพันธ์ โดยมีการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
ผู้แทนนักศึกษาทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ ผู้จัดทำโครงการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง "ภูมิปัญญาผ้าทอมือ" พร้อมด้วยผู้แทนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ผู้จัดทำโครงการ "ธนาคารเมล็ดพันธุ์" ต่างชื่นมื่นกันถ้วนหน้ากับความสำเร็จในพิธีส่งมอบทั้งสองโครงการ
โครงการดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้โครงการแคมป์สนุกคิดกับชินคอร์ป ปีที่ 9 ตอน "เยาวชนพอดี โรงเรียนพอเพียง" ให้กับโรงเรียนและชุมชนภาคเหนือ เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน พร้อมมอบเงินในการพัฒนาโครงการต่อเนื่องให้กับทั้งสองโรงเรียน โรงเรียนละ 3 หมื่นบาท ณ โรงเรียนบ้านป่าเลา อ.แม่ทา จ.ลำพูน และโรงเรียนประชาราชวิทยา อ.งาว จ.ลำปาง
นอกจากความร่วมมือร่วมใจกันแล้ว สิ่งที่ได้รับกลับมาซึ่งสร้างความสุขและอิ่มเอมใจกันทุกคน คือน้ำใจและความช่วยเหลือจากคนในชุมชนทั้งด้านข้อมูลองค์ความรู้ท้องถิ่นและอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ จนสามารถสร้างอาคารเล็กๆ เพื่อเป็นศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านด้านการทอผ้า และธนาคารเมล็ดพันธุ์ที่ผสมผสานองค์ความรู้ท้องถิ่น เช่น การใช้หลักพืชผักดูแลกันเองให้เกิดขึ้นกับชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
|
บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดทำโครงการแคมป์สนุกคิดกับชินคอร์ป ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา 500 คน จาก 20 มหาวิทยา ลัย สร้างสรรค์โครงการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนที่เหมาะสมกับภูมิสังคม พร้อมปฏิบัติจริงด้วยตนเองร่วมกับครูอาจารย์ นักเรียน และชุมชนในโรงเรียนเป้าหมาย 10 โรงเรียน ใน 10 จังหวัดทั่วประ เทศ ภายใต้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง "สามห่วง สองเงื่อนไข" คือความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ภายใต้เงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ คือมีความรู้และคุณธรรม
เก่ง นายเรวัตร ใจดี ชั้นปี 4 คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยา ลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้จัดทำโครงการภูมิปัญญาผ้าทอมือ จ.ลำพูน เล่าว่า ประทับใจ ความสามัคคีของคนทั้งค่ายที่ช่วยกันทำให้งานสำเร็จลุล่วง 7 วันของการทำงานระยะเวลาในการปรับตัวของทั้งนักศึกษาและคนในชุมชนช่วงแรกอาจยังไม่ราบรื่นมากนัก รู้จักและคุ้นเคยกันค่อนข้างน้อย งานอาจเดินไปได้ช้า ทั้ง 2 สถาบันต้องมานั่งคุยกันในที่ประชุมก็สามารถแก้ไขปัญหาได้และทำให้งานประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
|
กิ๊ก กรรณิการ์ จันทร์หอม ชั้นปี 4 สาขาเทคโนโลยีศิลป์ หลักสูตร ออกแบบบรรจุภัณฑ์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ ผู้จัดทำโครงการภูมิปัญญาผ้าทอมือ จ.ลำพูน กล่าวว่า ดีใจที่ได้เข้ามาศึกษาวัฒนธรรมของชุมชนที่มีเอกลักษณ์ด้านการทอผ้า ชาวบ้านยังทอผ้าจากฝ้ายที่ปลูกเอง เพาะเมล็ดพันธุ์ฝ้ายเอง ปั่นฝ้ายเอง ดีใจที่ได้มาร่วมสร้างศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้ชุมชนได้สืบทอดต่อไป ส่วนผลพลอยได้จากการทำงานร่วมกันคือความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองมหาวิทยาลัย ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แม้จะต่างสถาบันก็เป็นห่วงกัน ช่วงหลังได้ใกล้ชิดกันมากขึ้นรู้สึกมีความสุขในการทำงานร่วมกัน
ส้ม น.ส.กนกพร ประสารสุข ชั้นปี 3 สาขาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผู้จัดทำโครงการ ธนาคารเมล็ดพันธุ์ จ.ลำปาง กล่าวว่า คุ้มค่า สนุกมาก ได้ออกไปหาความรู้ ได้สัมผัสชีวิตชาวบ้าน ที่สำคัญสอนให้เราหัดและเรียนรู้การใช้ชีวิตพอเพียง ทำเอง ปลูกเอง ช่วยลดการ ใช้จ่าย ชาวบ้านซื้อขายกันเองเป็นการหมุนเวียนเศรษฐกิจในชุมชน
เบิร์ด นายชัยยุทธ ตรีโสภณ ชั้นปี 4 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระ เกียรติ ผู้จัดทำโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์ จ.ลำปาง กล่าวว่า การเข้าค่ายเพื่อพัฒนาชุมชนมักมีการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ทุกความคิดต่างมีเหตุผลที่ดีกันทุกคน จึงจำเป็นต้องประชุมกันเพื่อปรับความคิดให้มีจุดมุ่งหมายไปในทางเดียวกัน
"ตอนแรกยังคิดกันว่าโครงการที่ทำจะยิ่งใหญ่เกินตัวนักศึกษาหรือไม่ แต่เมื่อได้รับความร่วมมือร่วมใจกันจากทุกฝ่าย ทั้งโรงเรียน ชาวบ้านในชุมชน และผู้ที่มีส่วนร่วมในโครงการก็สำเร็จลงได้"
ขอบคุณ สดจากเยาวชน (หน้า24) จากข่าวสดรายวัน(14/5/09) เอื้อเฟื้อข้อมูลครับ
วันที่ 14 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,408 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,207 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,313 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 22,154 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,805 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,823 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,316 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,127 ครั้ง |
|
|