มนุษย์ต่างแสวงหาความคิดสร้างสรรค์กันไปทั่ว ไม่ว่าจะหน่วยงานใด ทั้งของภาครัฐ เอกชน และองค์กรประชาชน ต่างค้นหาความคิดสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาและเพื่อการค้นพบใหม่ๆ ด้วยการคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ จึงเสนอบทความที่ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อันจักนำไปใช้ประโยชน์ทางสังคมอย่างกว้างขวางต่อไป
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีหนังสือเล่มหนึ่งที่เกรียวกราวพอสมควรชื่อว่า Parallel thinking หรือแปลเป็นไทยว่า”ความคิดคู่ขนาน ของ Dr’ Edward de Bono ออกวางตลาด ต่อจากนั้น ดูเหมือนจะได้รับข่าวคราวเสมอเกี่ยวกับ การจะพัฒนาความคิดความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ? มีการอบรมเรื่องของ mind mapping เพื่อสังเคราะห์ไอเดียต่างๆ ทำให้เห็นภาพว่า สังคมไทยมีความตื่นตัวในเรื่องนี้กันพอสมควร
สำหรับความเรียงชิ้นนี้ เรียบเรียงขึ้นมาจากและความคิดของผู้เขียน และจากบทความหลายชิ้นของ Melvin D. Saunders อย่างเช่น Improving Your Creative Thinking Skills, Creativity and Creative Thinking, How creative thinking technique works, Ways to kill and ways to help an idea เป็นต้น ซึ่ง Saunders เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีผลงานทางด้านนี้ ซึ่งจะกระตุ้นให้เรากล้าคิดในหนทางที่แตกต่าง เช่น การใช้ความคิดจากมุมองที่ต่างออกไป คิดแบบทำลายกฎเกณฑ์เก่าๆ คิดแบบเล่นๆ หรือใช้จินตนาการทุกชนิดเพื่อทำให้เกิดความเป็นไปได้ และเขายังเสนอหนทางที่จะได้มาซึ่ง ความคิดหรือไอเดียใหม่ๆ อย่างเช่น ใช้วิธีการสุ่มต่างๆ เช่น การสุ่มด้วยภาพ การสุ่มด้วยคำ หรือกระทั่งการสุ่มด้วย website (ลองเปิด website ที่ไม่เคยคิดว่าจะเปิดดูมาก่อน) รวมไปถึงการนำเอาไอเดียตั้งแต่สองไอเดีย ที่ไม่เคยรวมกันมาก่อน มาสังเคราะห์เข้าด้วยกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นที่มาของการได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์
เราจะปรับปรุงทักษะความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ?
…กล่าวกันว่า ความคิดสร้างสรรค์และการค้นหาวิธีการแก้ปัญหา เป็นกิจกรรมสองอย่างที่เกี่ยวแขนไปกันไป. หลายปีมาแล้ว Dr. Edward de Bono, นักจิตวิทยา และนักค้นคว้าทางการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ส่งเสริมเรื่องของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า lateral thinking (ความคิดข้างเคียง).
ความคิดแนวตั้ง(verticle thinking) จะปฏิบัติการต่อเมื่อเราพยายามที่จะแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยเริ่มต้นจาก ขั้นตอนทางตรรกะขั้นหนึ่งไปสู่ขั้นตอนต่อไปเพื่อบรรลุผลของการแก้ปัญหา. ส่วนความคิดข้างเคียง(lateral thinking)นั้น จะวาดภาพ แบบแผนทางความคิดซึ่งมากับการค้นหาวิธีการแก้ปัญหาโดยการที่ไม่เป็นไปตามวิธีการเดิมๆ(unorthodox methods) หรือการเล่นเกมส์กับข้อมูล.
…การขยายความสามารถทางสมองหรือการใช้ความคิดด้วยความคิดสร้างสรรค์ สามารถปรับปรุงขึ้นมาได้ด้วยการปฏิบัติ. ยกตัวอย่างเช่น เราจะใช้ไม้ขีดไฟ 6 ก้านบนโต๊ะ สร้างสามเหลี่ยมที่มีด้านสี่ด้านเท่ากันได้อย่างไร? หลังจากที่ใช้ความพยายามอย่างหนักและไม่ประสบผลสำเร็จในลักษณะสองมิติ ในไม่ช้าเราก็จะเรียนรู้ว่า การทำให้มันเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่าสี่ด้านในรูปสามมิติ เป็นหนทางเดียวที่บรรลุผลสำเร็จได้. ดังนั้น จงหัดคิดแบบเถื่อนๆ(think wild)เสียบ้าง. ความหมายของคำว่าคิดแบบเถื่อนๆมิได้หมายความว่าป่าเถื่อน ไร้อารยธรรม แต่มีนัยะว่าให้เราใช้จินตนาการทุกชนิดของความเป็นไปได้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ imagine all kinds of possibility และหาหนทางอีกทางหนึ่ง(alternative)มาแก้ปัญหา, รวมไปถึงสิ่งที่เราคิดว่ามันทำไม่ได้หรือน่าหัวเราะด้วย. ยกตัวอย่างเช่น พยายามคิดถึงความตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นปกติเท่าที่คิดขึ้นมาได้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหา จากนั้นก็ลงมือทำมันอย่างจริงจังและประณีต
นอกจากนี้ ในหลายๆสถานการณ์ที่มีการเผชิญหน้า หรือในที่ประชุม…ถ้าเผื่อว่าเรามีความเห็นอย่างหนึ่ง และอีกคนมีความเห็นตรงข้ามกันกับเรา, ให้เราพยายามจินตภาพถึงความคิดเห็นของคนๆนั้นดูทีในเชิงกลับกัน. จดบันทึกถึงเหตุผลทั้งหมดว่า ทำไมความเห็นของเขาจึงใช้การได้; ต่อจากนั้นลองบันทึกถึงเหตุผลทั้งหมดว่า ทำไมความคิดเห็นของเขาจึงใช้การไม่ได้; และในท้ายที่สุด จดบันทึกถึงสิ่งที่ไม่เข้าประเด็นหรือสอดคล้อง. ผู้คนเป็นจำนวนมากต้องตกอยู่ในสภาพการณ์ที่ยากลำบากโดยการไม่ลงรอยกันในการอธิบาย, การกล่าวหากัน และการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง, แทนที่จะ ควบคุมความคิดของพวกเขาต่อการกระทำ และการตัดสินใจว่าอะไรสามารถทำได้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว.
เราเคยทราบไหมว่า…มากกว่าครึ่งหนึ่งของการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของโลกได้ถูกทำขึ้นมาโดยผ่าน”การค้นพบโดยบังเอิญ” (serendipity) หรือการค้นพบบางสิ่งขณะที่กำลังค้นหาบางสิ่งอยู่; และให้จำไว้ว่า, สิ่งนี้ได้ทำให้คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ตระหนักถึงโอกาสอันหนึ่ง เมื่อมันเสนอตัวของมันเองออกมา. ในภาวะฉุกเฉิน ผู้คนมีแนวโน้มที่จะตกอกตกใจหรือบ้าคลั่ง แทนที่จะใช้หัวสมองเพื่อกำหนดตัดสินใจถึงทางเลือกต่างๆของพวกเขา.
สิ่งที่เป็นข้อผิดพลาดหนึ่งของคนเราซึ่งควรแก้ไขให้ถูกต้องก็คือ …ผู้คนส่วนใหญ่มักยึดถือความคิดเห็น หรือทัศนะต่างๆของตนเอาไว้ ทั้งนี้เพราะ พวกเขาได้ถูกบล๊อคเอาไว้ด้วยอารมณ์ความรู้สึกหรือเหตุผลในเชิงอคติต่างๆ. การที่เราจะขยับขยายแนวคิดของเราออกไปให้กว้างขวางเพื่อคลุมถึงความคิดเห็นในทางตรงข้ามจากจุดยืนของเรา, บ่อยครั้งจะต้องปลดเปลื้องพันธนาการจากการถูกบล๊อคเช่นนี้ให้ได้และให้เร็ว(ลบอคติออก และไม่ใช้เรื่องอารมณ์ความรู้สึกมาเป็นพันธนาการ). ขณะที่สหรัฐอเมริกามีแนวโน้มนำโลกไปสู่อาชญากรรม, การติดยาเสพติด และการมีหนี้สิน, ญี่ปุ่นกลับมีอาชญากรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและไม่ค่อยมีผู้ติดยาเสพติด , มีความสามารถที่จะชำระหน ี้และเป็นชาติที่มีการศึกษาในโลก. เราคิดกันไหมว่า เหตุผลต่างๆในเชิงอคติและอารมณ์ความรู้สึกทำให้ทางการสหรัฐบล๊อคตนเองจากการเรียนรู้จากตัวอย่างของญี่ปุ่น หรือมันมีเหตุผลอื่นๆหรือ ?
…พอพูดกันมาถึงตรงนี้ ลองทดลองกับเพื่อนของเราที่มีสมมุติฐานหรือความเห็นในเชิงตรงข้าม เพื่อดูว่ามันนำพาเราไป ณ ที่ใด. เปิดใจของเราให้กว้างและคิดแบบเถื่อนๆ.