บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดป่าโค สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดป่าโค สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดป่าโค สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา 4)เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดป่าโค สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนและนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดป่าโค ได้แก่ จำนวน 11 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบแบบสอบถามแบบสังเกต และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test ค่า t test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลศึกษาข้อมูลพื้นฐานความต้องการในการพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดป่าโค สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการการนิเทศการสอนโรงเรียนเทศบาลวัดป่าโค สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดป่าโค สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา มีชื่อว่า ทีบีไอพีอี TBIPE Model มีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ คือ การนิเทศการสอนที่เน้นกระบวนการนิเทศอย่างเป็นระบบ สัมพันธ์กัน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของครู ด้านความรู้ความสามารถ และทักษะที่สำคัญ ที่ต้องการพัฒนา โดยใช้วิธีการนิเทศที่ เหมาะสมกับครู แต่ละคน เพื่อให้การนิเทศเกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีวัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดป่าโค สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา มีกระบวนการนิเทศ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างทีมงาน Team Building : T ขั้นตอนที่ 2 การสร้างความสัมพันธ์ Building Relationships : B ขั้นตอนที่ 3 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ Informing : I ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินงาน Pre Observation Conference :P และ ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการนิเทศ Evaluating: Eโดยมีการกำกับ ติดตาม อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอนเพื่อให้การดำเนินการนิเทศเกิดประสิทธิภาพ และองค์ประกอบด้านเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของรูปแบบการนิเทศแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ เท่ากับ 1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนี ความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 1.00 และความสอดคล้องของรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 1.00 ทั้งนี้เนื่องมาจากขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนมีกระบวนการที่เป็นระบบมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันทุกองค์ประกอบ ซึ่งก็คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเทศบาล วัดป่าโค สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา สรุปได้ ดังนี้
1) ความสามารถในการนิเทศของครูผู้นิเทศ หลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบทีบีไอพีอี TBIPE Modelโดยภาพรวม พบว่า ครูผู้นิเทศ มีความสามารถในการนิเทศ อยู่ในระดับสูง
2) ของครูผู้รับการนิเทศ พบว่าก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศมีคะแนน สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ
3) ทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้รับการนิเทศ โรงเรียนเทศบาลวัดป่าโค สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
4) ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการนิเทศแบบทีบีไอพีอี TBIPE Model ของครูผู้รับการนิเทศ พบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ นักเรียนมีผลการเรียนรู้แตกต่างกันโดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศนักเรียนทุกระดับชั้น ทุกห้อง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ
4 ผลประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดป่าโค สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด