ผู้วิจัย นางสาวไพรินทร์ หนอสีหา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านแนงมุด
ปีที่วิจัย 2566-2567
ใช้ประกอบการยื่น วิทยฐานะ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 (2) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 (3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 และ (4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 การดำเนินการวิจัย โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 (R1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มเป้าหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 78 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน
ระยะที่ 2 (D1) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3กลุ่มเป้าหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน
ระยะที่ 3 (R2) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มเป้าหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 20 คน
ระยะที่ 4 (D2) ประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มเป้าหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 102 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการสภานักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า ผลการศึกษาหลักการและกระบวนการในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และความมีภูมิคุ้มกันที่ดี 2 เงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ คือ เงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม และ 4 มิติหรือที่เรียกว่า 2 เงื่อนไข 3 ห่วง และ 4 มิติ คือ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม มิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมิติด้านวัฒนธรรม มาใช้ในการบริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการสถานศึกษา 2) หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 3) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และ 4) การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และทักษะอาชีพ ประกอบด้วย 1) ทักษะการทำงาน 2) ทักษะการแก้ปัญหา 3) ทักษะการแสวงหาความรู้ และ 4) ทักษะการจัดการ ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผลการสรุปสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ในประเด็นสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โรงเรียนควรมีการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามนโยบายและยุทธศาสตร์ในระดับต่าง ๆ ในการบริหารจัดการสถานศึกษาในทุกด้าน มีการเตรียมความพร้อมและปฏิบัติงานให้บรรลุตามภารกิจทุกด้านของโรงเรียน โดยมีข้อแนะนำให้ใช้หลักการและกระบวนการบริหารโรงเรียนบ้านแนงมุด ดังนี้ 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกับทางโรงเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม การตัดสินใจนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนและบุคลากรควรศึกษาและเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับโรงเรียนอื่น ๆ 2) การบริหารจัดการสถานศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับรวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมเสนอความคิดเห็น เพื่อการปรับปรุงแก้ไขตามบทบาทของหน้าที่ในระดับที่เหมาะสม 3) หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับรวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันการวางแผนกำหนดหน่วยการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และความมีภูมิคุ้มกันที่ดี 2 เงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ คือ เงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม และ 4 มิติหรือที่เรียกว่า 2 เงื่อนไข 3 ห่วง และ 4 มิติ คือ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม มิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม และมิติด้านวัฒนธรรม มาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมทางการศึกษาต่าง ๆ 4) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับรวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันปลูกฝังให้นักเรียนเห็นคุณค่าของทรัพยากร และการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เช่น การนำความรู้จากการปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาชีพเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต ครูผู้สอนบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับรวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน พัฒนาความรู้ ความเข้าใจของบุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษา และส่งเสริมให้ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกฝังให้เยาวชนรู้จักการใช้ชีวิตที่พอเพียงเห็นคุณค่าของทรัพยากรต่างๆ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ การจัดการศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้ตระหนักในคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ 6) ทักษะการทำงาน เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับรวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันส่งเสริมทักษะอาชีพตามความถนัดและความสนใจของนักเรียนให้มีความรอบรู้ และความเชี่ยวชาญในอาชีพที่ตนเองสนใจ ความสามารถปฏิบัติงานในอาชีพที่ตนสนใจ 7) ด้านทักษะการแก้ปัญหา เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับรวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ส่งเสริมให้นักเรียนช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และช่วยกันแก้ปัญหา สามารถจัดลำดับความสำคัญของปัญหาในการทำงานอาชีพที่ตนเองสนใจได้อย่างเป็นระบบ เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหา ด้วยการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง และชื่นชมเมื่อเขาทำสำเร็จ หากเขาต้องการความช่วยเหลือ อย่าเพิ่งรีบเสนอวิธีแก้ไขโดยตรง 8) ทักษะการแสวงหาความรู้ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับรวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาตนเอง ค้นคว้าหาความรู้ เพื่อนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการดำเนินงาน มีความมุ่งมั่นหาความรู้และพัฒนาตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลาย จะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่และก้าวสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 9) ทักษะการจัดการ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับรวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันส่งเสริมทักษะการจัดการโรงเรียนบ้านแนงมุด จัดกิจกรรมตามความถนัดและความสนใจของนักเรียน การจัดสรรเวลาในการทำงานได้อย่างเหมาะสมกับงาน สามารถทำงานเป็นทีมจนสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนสามารถการจัดระเบียบชีวิตส่วนตัวก็เป็นสิ่งสำคัญ
2.ผลการสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า ผลการยกร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขั้นตอนวิธีดำเนินการ เงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ และการวัดผลและประเมินผล ผลการตรวจสอบร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า ระดับความเป็นไปได้ (Feasibility standard) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับความถูกต้อง (Accuracy standard) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และการตรวจสอบคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ความเป็นไปได้ (Feasibility standard) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความถูกต้อง (Accuracy standard) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า การปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ระดับความเหมาะสม (Propriety standard) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และระดับความมีประโยชน์ (Utility standard) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก การประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ความเหมาะสม (Propriety standard) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความมีประโยชน์ (Utility standard) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของคณะกรรมสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของนักเรียนที่ครูใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนบ้านแนงมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก