AEMDE Model: สู่สถานศึกษาสุจริตอย่างยั่งยืน
โรงเรียนเอี่ยมสุรีย์ (อนุบาลเมืองสมุทรปราการ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัยถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 1,405 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 82 คน จากการสำรวจสภาพปัญหาด้านผู้เรียนพบว่า นักเรียนยังขาดคุณลักษณะอันพึงประสงค์บางประการที่สอดคล้องกับคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ความมีระเบียบวินัย เช่น การทิ้งขยะไม่เป็นที่ การมาสายของนักเรียน ทักษะกระบวนการคิด เช่น การขาดทักษะกระบวนคิดวิเคราะห์ ขาดทักษะแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม อยู่อย่างพอเพียง เช่น การใช้จ่ายฟุ่มเฟือยของนักเรียน การไม่รู้จักเห็นคุณค่าของเหลือใช้ ซื่อสัตย์สุจริต เช่น ปัญหาเรื่องของหาย และจิตสาธารณะ เช่น การไม่รักษาความสะอาดภายในโรงเรียน ตามลำดับ ส่วนคณะครูและบุคลากรทางการศึกษามีความต้องการพัฒนาการเรียนการสอนเกี่ยวกับโครงการโรงเรียนสุจริตและร่วมกันขับเคลื่อนโครงการให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นข้าพเจ้ารับทราบนโยบายตลอดจนตระหนักถึงสภาพปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการโดยใช้การบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริตด้วยรูปแบบ AEMDE Model มาเป็นแนวทางในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการป้องกันการทุจริต ๕ ประการ ได้แก่ มีทักษะกระบวนการคิดที่ดีเป็นระบบ มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง และเป็นผู้มีจิตสาธารณะ อีกทั้งพัฒนาศักยภาพคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับโครงการโรงเรียนสุจริตให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสู่ความเป็นหนึ่งสถานศึกษาสุจริตที่ยั่งยืน
การดำเนินงานตามกิจกรรม
ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ร่วมกันศึกษานโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ของโรงเรียน ดำเนินการเตรียมข้อมูลแนวทางการเสริมสร้างพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ข้อมูล คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านความต้องการพัฒนาการเรียนการสอนเกี่ยวกับโครงการโรงเรียนสุจริต การบูรณาการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา การขับเคลื่อนโครงการให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งข้อมูลรูปแบบแนวทางการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านงบประมาณ ปัจจัยด้านวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อเป็นข้อมูลปัจจัยนำเข้าประกอบการพิจารณาดำเนินการสู่ขั้นตอนดำเนินงานตามรูปแบบ AEMDE Model มุ่งการสร้างความเข้าใจ ความตระหนักในการดำเนินงานให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของโครงการโรงเรียนสุจริต การบริหารจัดการศึกษาสถานศึกษาของโรงเรียนเอี่ยมสุรีย์ (อนุบาลเมืองสมุทรปราการ) สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ ๑ มีความเห็นตรงกัน (A: Agreement)
ชี้แจง สื่อสาร สร้างความเข้าใจ ความตระหนักร่วมกันถึงแนวทางการพัฒนานักเรียน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของโครงการโรงเรียนสุจริต โดยมีความเห็นตรงกันของผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียน ในการขับเคลื่อนกิจกรรมและการพัฒนาคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต
ขั้นตอนที่ ๒ มุ่งประสิทธิภาพ (E: Efficiency)
ดำเนินงานโดยมุ่งประสิทธิภาพตามความรับผิดชอบของผู้บริหาร คณะครู และนักเรียน ในการดำเนินกิจกรรมและการพัฒนาคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต
ขั้นตอนที่ ๓ วิธีการของกิจกรรม (M: Method of activity)
วิธีดำเนินกิจกรรมของโครงการโรงเรียนสุจริต ประกอบด้วย กิจกรรมการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก การป้องกันการทุจริต กิจกรรม บริษัทสร้างการดี กิจกรรม สื่อสร้างสรรค์ ภาพยนตร์สั้นต่อต้านการทุจริต กิจกรรม ถอดบทเรียน Best Practice และการดำเนินกิจกรรมตามโครงการในสถานศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต
ขั้นตอนที่ ๔ วินัยการฝึกปฏิบัติ (D: Discipline)
สร้างวินัยในการฝึกปฏิบัติ ความตระหนักถึงบรรทัดฐานที่ยึดเป็นแนวปฏิบัติใช้หลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือและเสริมสร้างพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ ๕ การประเมินผล (E: Evaluation)
ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมและการพัฒนาคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต โดยใช้หลักการวัดและการประเมินผลแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน โดยมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในแต่ละขั้นตอน
ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบตามวงจรคุณภาพ PDCA องค์ประกอบของทฤษฎีระบบ การนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรม กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ซึ่งเกิดเป็นวิธีการ องค์ความรู้ใหม่ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันส่งผลให้นักเรียน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนด โดยดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA ดังนี้
๑. ขั้นการวางแผน (P: Plan) ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน ประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรม ร่วมพิจารณาทรัพยากรจากปัจจัยนำเข้า (Input) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ร่วมวางแผนประสานงานกับภาคีเครือข่ายเพื่อระดมและจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา กำหนดปฏิทินกิจกรรม การนิเทศการสอน การจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) การดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงาน นักเรียนแกนนำ สภานักเรียน ผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต การเสริมสร้างพัฒนาการจัดกิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับโครงการโรงเรียนสุจริต การบูรณาการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษากับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการดำเนินโครงการโรงเรียนสุจริตของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา และร่วมกันขับเคลื่อนโครงการให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
๒. ขั้นการดำเนินงาน (D: Do) คณะทำงาน นักเรียนแกนนำ สภานักเรียน ผู้รับผิดชอบโครงการ ดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
๒.๑ ครูผู้สอนออกแบบแผนการจัดประสบการณ์/แผนการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการระหว่างหลักสูตรต้านทุจริตศึกษากับหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรรายวิชาทั้ง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัยถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เน้นจัดกิจกรรมรูปแบบ Active Learning ให้นักเรียนได้ฝึกลงมือปฏิบัติจริง ออกแบบผลิตสื่อและนวัตกรรรม เครื่องมือวัดและประเมินผล พร้อมทั้งดำเนินการตรวจสอบ ประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้/กิจกรรมการเรียนรู้
๒.๒ นำแผนการจัดประสบการณ์/แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรรม เครื่องมือวัดและประเมินผลไปใช้จัดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียน ได้แก่
- โครงการโรงเรียนสุจริต ได้แก่ กิจกรรมการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก การป้องกันการทุจริต กิจกรรม บริษัทสร้างการดี กิจกรรม สื่อสร้างสรรค์ ภาพยนตร์สั้นต่อต้านการทุจริต กิจกรรม ถอดบทเรียน Best Practice และการดำเนินกิจกรรมตามโครงการในสถานศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต
- โครงการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ได้แก่ กิจกรรมนิทรรศการแฟ้มพัฒนางานเด็ก กิจกรรมหนูน้อยร่วมกันคิด
- โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทยระดับปฐมวัย ได้แก่ ค่ายวิชาการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตามกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา
- โครงการ Project Approach ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ - ๓
- โครงการหนูน้อยใส่ใจหน้าที่ เป็นคนดีของสังคม ได้แก่ กิจกรรมหนูน้อยรักการออม กิจกรรมพ่อค้าแม่ค้าตัวจิ๋ว (Little Market) กิจกรรมหนูน้อยโตไปไม่โกง กิจกรรมหนูน้อยคนดี เอี่ยมสุรีย์
- โครงการพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ได้แก่ กิจกรรมจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดแทรกทักษะกระบวนการคิด กิจกรรมจัดทำแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด กิจกรรมจัดทำแบบทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล กิจกรรมจัดหาและจัดซื้อเกมฝึกแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด กิจกรรมเกมกระดานเอี่ยมสุรีย์
- โครงการสถานศึกษาพอเพียง ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมการออมธนาคารโรงเรียน กิจกรรมตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมเกษตรพอเพียง
- โครงการวิถีพุทธ ได้แก่ กิจกรรมคุณธรรมสำนึกดี กิจกรรมการนั่งสมาธิก่อนเข้าเรียน ๑๐ นาทีต่อวัน กิจกรรมการใส่บาตรทุกเช้าวันศุกร์ กิจกรรมการสวดมนต์ทำนองสรภัญญะในเย็นวันศุกร์ กิจกรรมบันทึกความดี กิจกรรมค่ายพระ ครู ผู้ปกครอง กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมค่ายคุณธรรม
- โครงการโรงเรียนคุณธรรม ได้แก่ กิจกรรมหนูน้อยก้าวเดิน กิจกรรมมารยาทงามแบบไทย กิจกรรมวางฉันให้เป็นระเบียบ) กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมผ่านโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.จัดทำโครงงานคุณธรรมในโรงเรียน กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมผ่านโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. จัดทำโครงงานคุณธรรมในห้องเรียน
- โครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กิจกรรมเวรประจำวันทำความสะอาดบริเวณที่รับผิดชอบภายในโรงเรียนของแต่ละระดับชั้น กิจกรรม Big Cleaning day กิจกรรมคัดแยกขยะขวดแก้วพลาสติกในห้องเรียน กิจกรรมจิตอาสาจัดการขยะ กิจกรรมคืนกำไรสู่ห้องเรียน กิจกรรมอื่น ๆ นอกสถานศึกษา เช่น ป่าชายเลน ปลูกต้นไม้
๓. ขั้นการตรวจสอบผลการดำเนินงาน (C: Check) คณะทำงาน นักเรียนแกนนำ สภานักเรียน ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
๓.๑ ครูผู้สอนประเมินผลการฝึกประสบการณ์เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนที่เกิดจากการใช้สื่อและนวัตกรรม เครื่องมือวัดและประเมินผล โดยใช้แบบประเมินผู้เรียนตามคุณลักษณะ ๕ ประการ ของโรงเรียนสุจริตและแบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน
๓.๒ ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการตรวจสอบคุณภาพผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานและปฏิทินการปฏิบัติงาน ดำเนินการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดกิจกรรมการฝึกประสบการณ์เด็ก กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโดยคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา
๓.๓ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ร่วมกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คิดค้น พัฒนาและปรับปรุงแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม เครื่องมือวัดและประเมินผลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ต่อไป
๔. ขั้นการสะท้อนผล (A: Act) ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการดำเนินงานประชุมร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน สรุปปัญหา อุปสรรค นำเสนอข้อมูลจากกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และข้อเสนอแนะหลังจากการดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้น หากผลการดำเนินกิจกรรมสำเร็จจะถือว่าเป็นผลลัพธ์ที่ประสบผลสำเร็จ นักเรียนทุกคนเกิดคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการที่ส่งเสริมการต่อต้านการทุจริตโครงการโรงเรียนสุจริต ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนสุจริตให้มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และเป็นแบบอย่างที่ดี ให้กับนักเรียน แต่หากผลการดำเนินงานไม่สำเร็จจะมีการวางแผนและกำหนดแนวทางการปรับปรุงแก้ไข ปัญหาเพื่อใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับในการวางแผนการดำเนินโครงการ/กิจกรรมในวงรอบ PDCA ครั้งต่อไป
การใช้ทรัพยากรและงบประมาณ
มีการใช้ทรัพยากรและใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างประหยัด คุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อประหยัดเงินงบประมาณของโรงเรียน มีการประยุกต์ใช้ทรัพยากร วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาที่ทางโรงเรียนมีอยู่และที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายทางการศึกษา ได้แก่ การใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และกิจกรรมโครงการต่าง ๆ การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุเพื่อใช้ในการดำเนินงานโดยคำนึงถึงความจำเป็น ประหยัด คุ้มค่า
ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๑ ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ จากการบริหารจัดการศึกษารูปแบบ AEMDE Model: สู่สถานศึกษาสุจริตอย่างยั่งยืน บรรลุตามวัตถุประสงค์ของผลงานดังนี้
4.1.1 การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนสุจริตโดยมีรูปแบบนวัตกรรม AEMDE Model: สู่สถานศึกษาสุจริตอย่างยั่งยืน มีประสิทธิภาพ
4.1.2 กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะ 5 ประการของโครงการโรงเรียนสุจริตได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนสุจริตให้มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสถานศึกษาอื่นได้
๔.๑.3 นักเรียนทุกคนได้รับการเสริมสร้างให้เกิดคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะ กระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ ดังนี้
(๑) ด้านทักษะกระบวนการคิด
- โครงการโรงเรียนสุจริต เป็นโครงการที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะ 5 ประการ โดยมุ่งปลูกฝังคุณลักษณะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน โดยเฉพาะทักษะกระบวนการคิดที่ต้องการให้นักเรียนมีความสามารถในการจำแนก เปรียบเทียบ ให้เหตุผล มีวิจารณญาณแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ได้ว่าสิ่งใดควรประพฤติปฏิบัติ และไม่ควรประพฤติปฏิบัติ ไม่ให้เกิดการกระทำใด ๆ เพื่อตนเองหรือผู้อื่นให้ได้รับผลประโยชน์ที่ไม่มีสิทธิ์จะได้รับโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ไม่ซื่อสัตย์ โดยขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมของโครงการโรงเรียนสุจริต ประกอบด้วย โครงการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา โดยดำเนินการจัดกิจกรรมนิทรรศการแฟ้มพัฒนางานเด็ก กิจกรรมหนูน้อยร่วมกันคิด โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทยระดับปฐมวัย ค่ายวิชาการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตามกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา โครงการ Project Approach ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ - ๓ กิจกรรมจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดแทรกทักษะกระบวนการคิด กิจกรรมจัดทำแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด กิจกรรมจัดทำแบบทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล กิจกรรมจัดหาและจัดซื้อเกมฝึกแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด กิจกรรมเกมกระดานเอี่ยมสุรีย์
- โครงการแข่งขันทักษะวิชาการ กิจกรรมพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์และคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน โดยคณะครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนเน้นรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) ผ่านกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์, กิจกรรม STEM Education & ๓R๘C นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เกิดทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑, กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยคณะครูจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดประสบการณ์ โดยบูรณาการระหว่างหลักสูตรต้านทุจริตศึกษากับหลักสูตรรายวิชาทั้ง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รูปแบบ Active Learning ที่หลากหลาย นักเรียนเกิดทักษะด้านวิชาการ ด้านกระบวนการคิดแก้ไขปัญหา การวางแผนการพัฒนาตนเอง ด้านเจตคติ คุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน, กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและพัฒนาคุณธรรมของนักเรียน โดยมีการดำเนินกิจกรรมให้กับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีแบบบันทึกการอ่านและฝึกการคิดวิเคราะห์ข้อคิดคุณธรรมจากเรื่องที่อ่าน เสริมสร้างพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การแก้ไขปัญหาและการวางแผนการพัฒนาตนเอง, กิจกรรมวิชาการโรงเรียนเอี่ยมสุรีย์ (อนุบาลเมืองสมุทรปราการ) โดยคณะครูจัดกิจกรรมที่สนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาศักยภาพและความเป็นเลิศทางวิชาการ รวมทั้งทักษะกระบวนการคิดแก้ไขปัญหา การวางแผนการพัฒนาตนเอง เจตคติ คุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับนักเรียนทุกคนได้มีโอกาสฝึกซ้อมและเข้าร่วมแข่งขัน ในเวทีการแสดงศักยภาพในระดับต่าง ๆ ส่งผลให้นักเรียนได้รับรางวัลในการแข่งขันต่าง ๆ เช่น การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน การแข่งขันในกิจกรรมการเปิดบ้านทางวิชาการของแต่ละโรงเรียน เป็นต้น
(๒) ด้านการมีวินัย
- โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมยิ้มง่ายไหว้งาม เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีไทย โดยให้นักเรียนในโรงเรียนรู้จักการไหว้ ทักทายกันระหว่างเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ และเพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนของเรามีการไหว้การทักทายกันตอนเช้า มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน กิจกรรมวิถีพุทธ โดยกำหนดปฏิทินเข้าร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตรในทุกวันศุกร์ ให้นักเรียนเตรียมอาหารแห้งร่วมทำบุญตักบาตร มุ่งหวังให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา มีส่วนร่วมในการสืบสานศาสนพิธีอันดีงาม ฝึกการมีวินัยต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม นักเรียน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วมกับชุมชนและวัดในการทำกิจกรรมร่วมกันส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งระหว่างโรงเรียน ชุมชน และวัด (หลักบวร: บ้าน/วัด/โรงเรียน), กิจกรรมจิตอาสาพลังบุญ, กิจกรรมค่ายธรรมมะจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมอันดีงามให้กับนักเรียนโดยคณะพระสงฆ์วิทยากร มุ่งเน้นการอบรมสั่งสอนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาฝึกปฏิบัติสมาธิเจริญจิตภาวนา พัฒนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นักเรียนให้เป็นผู้มีวินัยต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงและใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนาส่งผลให้นักเรียนโรงเรียนเอี่ยมสุรีย์ (อนุบาลเมืองสมุทรปราการ), กิจกรรมวันสำคัญของชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ โดยจัดกิจกรรมเข้าแถวเคารพ ธงชาติ กิจกรรมถวายพระพรชัยมงคลเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ กิจกรรมเวียนเทียน ถวายเทียนพรรษา ทำบุญตักบาตรและเข้าร่วมศาสนพิธีทางศาสนาเป็นการส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ร่วมสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับนักเรียน ฝึกการมีวินัยต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม อีกทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียน ชุมชน และวัด (หลักบวร : บ้าน/วัด/โรงเรียน), กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ แผ่เมตตา ทำสมาธิ จัดกิจกรรมโดยนักเรียนเข้าร่วมสวดมนต์ ไหว้พระแผ่เมตตาประจำสัปดาห์ทุกวันศุกร์ ทำสมาธิก่อนเข้าเรียนทุกวันช่วงกิจกรรมโฮมรูม
(๓) ด้านมีความซื่อสัตย์สุจริต
- โครงการโรงเรียนสุจริต กิจกรรมหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา นักเรียนในทุกระดับชั้น ได้รับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการป้องกันการทุจริต ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การบูรณาการการจัดประสบการณ์ในระดับปฐมวัย และกิจกรรมการประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และป้องกันการทุจริตให้แก่ผู้เรียน โดยมุ่งให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ และปฏิบัติตนตามปฏิญญาโรงเรียนสุจริต ๓ ด้าน คือ ด้านการป้องกัน ด้านการปลูกฝัง ด้านการสร้างเครือข่าย กิจกรรมของหายได้คืน เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังคุณลักษณะด้านมีความซื่อสัตย์ให้เกิดขึ้นกับนักเรียนทุกคน โดยเป็นการจัดรูปแบบกิจกรรมที่ไม่มีระยะเวลา โดยนักเรียนทุกคนที่พบสิ่งของ นำส่งจุดประชาสัมพันธ์ เพื่อประกาศหาเจ้าของ เพื่อมารับสิ่งของที่หายได้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน
- โครงการสถานศึกษาสีขาว กิจกรรมสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขสถานศึกษาที่ปลอดยาเสพติดและปัจจัยเสี่ยงทุกชนิดมีการดำเนินงานตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติดและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผู้อื่น ในการไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดีและผิดกฎหมาย
- โครงการส่งเสริมประชาธิปไตย กิจกรรมสภานักเรียนกิจกรรมสำคัญในการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ใช้กระบวนการประชาธิปไตยและนำหลักธรรมาภิบาลมาดำเนินงาน โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญของสภานักเรียน คือ การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องกระบวนการประชาธิปไตย วิถีประชาธิปไตย การเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาโรงเรียน จึงใช้กระบวนการประชาธิปไตยอันเป็นวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันในโรงเรียน จนมาสู่การขับเคลื่อน ป.ป.ช. สพฐ. น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ. ชุมชน
(๔) ด้านอยู่อย่างพอเพียง
- โครงการสถานศึกษาพอเพียง กิจกรรมส่งเสริมการออมธนาคารโรงเรียน เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องการออม คือ การประหยัด การเก็บ การใช้เงินอย่างมีเหตุผลใช้ในสิ่งที่สำคัญต่อชีวิต จึงจัดทำให้นักเรียนเพื่อการฝึกการเก็บการใช้เงินให้เกิดประโยชน์ โดยให้นักเรียนทุกคนทุกระดับชั้น นำเงินออมมาฝากกับคุณครูประจำชั้นในทุกเช้าในกิจกรรมโฮมรูม โดยคุณครูจะนำเงินออมที่ได้รวบรวมในแต่ละอาทิตย์ เพื่อนำส่งครูผู้รับผิดชอบโครงการนำเงินไปฝากกับธนาคารต่อไป
- โครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ
กิจกรรมเวรประจำวันทำความสะอาดบริเวณที่รับผิดชอบภายในโรงเรียนของแต่ละระดับชั้น กิจกรรม Big Cleaning day กิจกรรม คัดแยกขยะขวดแก้วพลาสติกในห้องเรียน กิจกรรมจิตอาสาจัดการขยะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างจิตสำนึกและความรู้ความเข้าใจของนักเรียนในการจัดการขยะในรูปแบบ 3R คือ การลดใช้ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำมาผ่านกระบวนการเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และส่งเสริมให้สถานศึกษามีการจัดการขยะได้อย่างถูกต้อง เพื่อมุ่งสู่การเป็นโรงเรียนปลอดขยะ โดยขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมธนาคารขยะ ซึ่งคณะกรรมการนักเรียนร่วมกับนักเรียนแกนนำดำเนินการรับซื้อขวดและกระดาษจากห้องเรียนทุกระดับชั้น อีกทั้งนำขยะที่ธนาคารขยะดำเนินการจัดการ มาแปรรูปเพื่อให้เกิดประโยชน์ และสร้างสรรค์เพื่อโรงเรียน ชุมชน วัด และสังคม
- โครงการส่งเสริมงานอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกิจกรรมส่งเสริมงานอาชีพ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างโรงเรียนเอี่ยมสุรีย์ (อนุบาลเมืองสมุทรปราการ) และการนิคมอุตสาหกรรมบางปู และได้เปิดตลาดนัดพอเพียงเพื่อขายสินค้าจากผลิตภัณฑ์ของนักเรียน
(๕) ด้านมีจิตสาธารณะ
- โครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน กิจกรรมลูกเสือจิตอาสา เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนในฐานะลูกเสือ-ยุวกาชาด และครูในฐานะบุคลากรลูกเสือน้อมนำโครงการจิตอาสาพระราชทานมาเสริมสร้างจิตสำนึกพลเมืองที่เข้มแข็ง และบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อีกทั้งโรงเรียนยังมีการขับเคลื่อนการทำกิจกรรมจิตอาสา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดำเนินภายในโรงเรียนโดยแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบของนักเรียนในการทำความสะอาด การทำจิตอาสาในชุมชน
ประโยชน์ที่ได้รับ
นักเรียนโรงเรียนเอี่ยมสุรีย์ (อนุบาลเมืองสมุทรปราการ) ทุกคนมีคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการที่ส่งเสริมการต่อต้านการทุจริตโครงการโรงเรียนสุจริต จัดการเรียนการสอนรายวิชาการป้องกันการทุจริต หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาผู้เรียน ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนสุจริตให้มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษามีนวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เกิดรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการไม่ทนต่อการทุจริตด้วยรูปแบบ AEMDE Model: สู่สถานศึกษาสุจริตอย่างยั่งยืน ที่ประสบผลสำเร็จภาคีเครือข่ายทางการศึกษาให้ความร่วมมือสนับสนุนในการพัฒนาโรงเรียนเป็นอย่างดี
ปัจจัยความสำเร็จ
๕.๑ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ โรงเรียนเอี่ยมสุรีย์ (อนุบาลเมืองสมุทรปราการ) มีโครงสร้างการบริหารงานแบบกระจายอำนาจตามโครงสร้างงาน ๔ ฝ่ายรวมทั้งภาคีเครือข่ายทางการศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการนำหลักการบริหารงาน PDCA ตามวงจรการพัฒนาของเดมมิ่ง ทฤษฎีเชิงระบบ กระบวนการนิเทศ ติดตามและประเมินผล ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ใช้เป็นแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาตามนวัตกรรม AEMDE Model สู่สถานศึกษาสุจริตอย่างยั่งยืน มีกระบวนการตามรูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ทำงานอย่างมีระบบ มีการกำหนดเป้าหมาย การวางแผนการดำเนินงาน การกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสะท้อนผลการดำเนินงาน เกิดเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการที่มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ชัดเจน ซึ่งเป็นไปตามหลักการของโครงการโรงเรียนสุจริตสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ชาติ
๕.๒ ปัจจัยด้านบุคลากร โรงเรียนเอี่ยมสุรีย์ (อนุบาลเมืองสมุทรปราการ) มีคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการอบรมพัฒนาด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เป็นบุคลากรวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถในจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายวิธีในรูปแบบ Active Learning ต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี อีกทั้งมีภาคีเครือข่ายทางการศึกษาที่เข้มแข็ง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ศิษย์เก่า ผู้นำท้องถิ่น ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างดียิ่ง ร่วมกันกำหนดเป้าหมายการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ชัดเจน มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนานักเรียน ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน เห็นคุณค่าและความสำคัญของการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ประกอบกับนักเรียนมีความพร้อมและให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรม นักเรียนทุกคนมีความรักและความสามัคคี มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าและความสำคัญของการพัฒนาตนเองด้านคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และคุณลักษณะของโรงเรียนสุจริตทั้ง ๕ ประการ รวมทั้งการพัฒนาโรงเรียน ชุมชนและสังคมสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ชาติ
๕.๓ ปัจจัยด้านงบประมาณ โรงเรียนเอี่ยมสุรีย์ (อนุบาลเมืองสมุทรปราการ) ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากทางหน่วยงานต้นสังกัดและจากภาคีเครือข่ายทางการศึกษาอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงาน
๕.๔ ปัจจัยด้านวัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ สื่อและแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนเอี่ยมสุรีย์ (อนุบาลเมืองสมุทรปราการ) มีวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ สื่อ และแหล่งเรียนรู้ในภาพรวมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ และได้รับการสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาสำหรับการดำเนินงานจากภาคีเครือข่ายทางการศึกษาอย่างเพียงพอ
บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
จากการบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะโดยใช้ AEMDE Model: สู่สถานศึกษาสุจริตอย่างยั่งยืน พบว่านักเรียนทุกคนเกิดคุณลักษณะ ๕ ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการที่ส่งเสริมการต่อต้านการทุจริตโครงการโรงเรียนสุจริต ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนสุจริตให้มีคุณภาพมีประสิทธิภาพ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษามีนวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ความสำเร็จดังกล่าวที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการให้ความร่วมมือ สนับสนุน ส่งเสริม เสียสละ ความรับผิดชอบทุ่มเทของนักเรียน คณะครู บุคลากรทางการศึกษา ภาคีเครือข่ายทางการศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริต เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดกิจกรรมประสบความสำเร็จ ประกอบกับมีการวางแผนการดำเนินงาน การนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การปรับปรุงพัฒนาแก้ไขอย่างต่อเนื่องของโครงการโรงเรียนสุจริตที่มีความชัดเจน เป็นระบบขั้นตอน ทั้งนี้หากมีการนำรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ สามารถปรับเปลี่ยนพัฒนารูปแบบให้มีความยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์โดยอยู่ภายใต้หลักการของโครงการโรงเรียนสุจริต สามารถบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ