ชื่อเรื่อง การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community Innovation Project : CIP) โดยบูรณาการกับแหล่งการเรียนรู้
ท้องถิ่นในชุมชนอำเภอเขาฉกรรจ์ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
ผู้วิจัย นายรัชศักดิ์ นาคินชาติ
ปีที่ทำวิจัย 2567
บทคัดย่อ
การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community Innovation Project : CIP) โดยบูรณาการกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชนอำเภอเขาฉกรรจ์ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบัน และความต้องการของครูในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community Innovation Project : CIP) โดยบูรณาการกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชนอำเภอเขาฉกรรจ์ 3) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community Innovation Project : CIP) โดยบูรณาการกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชนอำเภอเขาฉกรรจ์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community Innovation Project : CIP) โดยบูรณาการกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชนอำเภอเขาฉกรรจ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ 2) แบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบประเมิน จำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสำรวจสภาพปัจจุบัน และความต้องการของครูในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
1.1 สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ ของครูโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
1.2 ความต้องการในการจัดการเรียนรู้ ของครูโรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community Innovation Project : CIP) โดยบูรณาการกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชนอำเภอเขาฉกรรจ์ ก่อนและหลังการอบรมพบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมสูงขึ้นกว่าก่อนการอบรม แสดงว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community Innovation Project : CIP) เพิ่มขึ้น
3. ผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้
โดยใช้โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community Innovation Project : CIP) โดยบูรณาการกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชนอำเภอเขาฉกรรจ์
3.1 แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community Innovation Project : CIP) โดยบูรณาการกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชนอำเภอเขาฉกรรจ์ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก
3.2 การนิเทศการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community Innovation Project : CIP) โดยบูรณาการกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชนอำเภอเขาฉกรรจ์ ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มีผลการประเมิน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยครั้งที่ 2 มีผลการประเมินสูงกว่าครั้งที่ 1
3.3 คุณภาพโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community Innovation Project : CIP) โดยบูรณาการกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชนอำเภอเขาฉกรรจ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3.4 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเขาฉกรรจ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community Innovation Project : CIP) โดยบูรณาการกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชนอำเภอเขาฉกรรจ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก