ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดบันไดอ่าน 5 ขั้น เพื่อส่งเสริม
ความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในเมือง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1
ผู้รายงาน นางสาวบุญบุษกร รอดคง
ปี 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดบันไดอ่าน 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในเมืองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับความสามารถด้านการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 2) เพื่อสร้าง และหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดบันไดอ่าน 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในเมือง สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) เพื่อทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดบันไดอ่าน 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดบันไดอ่าน 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนบ้านในเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่สร้างขึ้นมาใช้ในการศึกษาคือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดบันไดอ่าน 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test Dependent)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 พบว่า
1.1 ผลการวิเคราะห์สภาพผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 พบว่า ผลการประเมินด้านการอ่านออกเสียงเรื่องมาตราตัวสะกด และการอ่านรู้เรื่องประโยคและข้อความ ต่ำกว่าด้านอื่นๆ นอกจากนี้ ผลการเรียนรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในปีการศึกษา 2565 มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 78.33 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนตั้งไว้ที่ร้อยละ 80.00
1.2 สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับในการจัดการเรียนการสอนและปัญหาที่เกิดขึ้นของผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ครูผู้สอนผู้เข้าร่วมงานวิจัยครั้งนี้ ร้อยละ 80 จบการศึกษาไม่ตรงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ครูมีประสบการณ์สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระหว่าง 1-5 ปี ร้อยละ 80 และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นของผู้สอน ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ด้านที่ 3 ด้านเทคนิคการจัดการเรียนรู้ มีปัญหามากที่สุด
2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดบันไดอ่าน 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในเมือง สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 มีประสิทธิภาพ 81.93/80.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. สรุปผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดบันไดอ่าน 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต พบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดบันไดอ่าน 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 พบว่ามี ความพึงพอใจ คิดเป็นค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.93 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.07 หมายถึงมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด