ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E.
SKILLS MODELเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน
โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน
ผู้วิจัย นางสาววารุณี ตะโกภู่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
ปีที่ทำวิจัย 2566
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E. SKILLS MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E. SKILLS MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน
2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E. SKILLS MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนวัดตะคร้ำเอน โดยใช้รูปแบบการวิจัยผสมผสาน (Mixed Method Research) การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น
3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี วิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E. SKILLS MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนวัดตะคร้ำเอน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลพื้นฐานของรูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E. SKILLS MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลและเก็บข้อมูลเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E. SKILLS MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ครูผู้สอน จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบปลายเปิด (Open Ended Questions) มีการประชุมระดมความคิดเห็น (Brainstorming) โดยใช้วิธีสนทนาแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Interview) ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E. SKILLS MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการตรวจสอบร่างรูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E. SKILLS MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน และเครื่องมือตรวจสอบความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบและเครื่องมือโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบประเมินความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และร้อยละ (%) ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E. SKILLS MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 23 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 291 คน ผู้ปกครองนักเรียน 291 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 605 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามระดับการปฏิบัติงานที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E. SKILLS MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสัมภาษณ์ (Interview), แบบตรวจสอบความเหมาะสมของ
การนำรูปแบบไปใช้ แบบตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือการใช้ แบบประเมินคุณภาพแผน
การจัดการเรียนรู้ของครู แบบประเมินคุณภาพของครู แบบประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษา และแบบประเมินนความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E. SKILLS MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินทั้งฉบับ เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E. SKILLS MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน พบว่ารูปแบบประกอบด้วย 1) T = Teach (การให้ความรู้) การให้ความรู้ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนความปลอดภัยในสถานศึกษา 2) K = Kid center (นักเรียน) (นักเรียนสำคัญที่สุด) 3) E= Equality (เสมอภาค ทั่วหน้า) ให้การช่วยเหลือทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน 4) S = Stop หยุด หมายถึง หยุดต่าง ๆ ดังนี้ ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ (Right) และภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) 5) K = Knowledge การให้ความรู้ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนความปลอดภัยในสถานศึกษา ให้เกิดการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพ มีความสุข และได้รับการปกป้อง คุ้มครองความปลอดภัย 6) I = Imagine มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 7) L = Lifelong learning การเรียนรู้ตลอดชีวิต 8) L = Leader ความเป็นผู้นำอย่างเหมาะสม 9) S = Success ความสำเร็จ การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี มีสุขภาวะ ส่งผลให้นักเรียน “เรียนดี มีความสุข” ทั้งนี้ ผลยืนยัน องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E. SKILLS MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน พบว่า เมื่อเรียงอันดับตามค่าเฉลี่ย 3 ด้าน จากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน 2) ด้านการจัดหาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียนและ 3) ด้านการสร้างเสริมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน
ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E.
SKILLS MODELเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน
ที่ได้จากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ของครูผู้สอน สอดคล้องและเป็นแนวทางเดียวกันในด้านความ สำเร็จของการนําไปใช้ “มากที่สุด”" ( " "x" ̅" " = 4.60, S.D. = 0.58) นําไปสู่การปฏิบัติได้จริงในเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนวัดตะคร้ำเอน
นอกจากนี้ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลดูแลช่วยเหลือนักเรียน T.K.E. SKILLS MODEL เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและความปลอดภัยของนักเรียน โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( x ̅ = 4.49, S.D. = 0.62)