บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังการฝึกโดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความความเหมาะสมของแผนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบประกอบ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ( x ̅ = 4.16 ) 2) ผลการประเมินความสามารถทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เรื่อง การสวมเสื้อยืดคอกลม ของกลุ่มเป้าหมาย พบว่า ทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เรื่อง การสวมเสื้อยืดคอกลม หลังการสอนดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบ คะแนนรวม 14 คะแนน ซึ่งมีความสามารถในทักษะช่วยเหลือตนอง อยู่ในระดับดี 3) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังการฝึกโดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบ หลังการใช้แผนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบประกอบสูงกว่าก่อนเรียน ผลต่างของคะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น +7 ตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
บทนำ
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคน พิการ พ.ศ. 2551 ได้ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษา ขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีซึ่ง รวมไปถึงการได้รับสิทธิทางการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือ พบความพิการจนตลอดชีวิต รวมไปถึงการได้รับเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษาโดยคำนึงถึง ความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจําเป็นพิเศษของบุคคลนั้นโดยที่รัฐจะต้องจัด ให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพซึ่งในการจัดการศึกษาให้กับบุคคลที่มีความบกพร่องที่ต้องการการศึกษา ต้องได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษารวมไปถึงการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้การทดสอบทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของคนพิการแต่ละประเภท (ราชกิจจานุเบกษา, 2551) ซึ่งตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องกำหนด ประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ.2552 ได้กำหนดประเภทของคนพิการไว้ดังนี้ 1) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น 2) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 3) บุคคลที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญา 4) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ 5) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 6) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 7) บุคคล ที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ 8) บุคคลออทิสติก 9) บุคคลพิการซ้อน (กระทรวง ศึกษาธิการ, 2551)
เด็กบกพร่องทางสติปัญญาเป็นเด็กที่มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ช้ากว่าเด็กพัฒนาการตามอายุจริง เมื่อวัดระดับสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานแล้ว ปรากฏว่ามีสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ทั่วไป เมื่อสังเกตจากพฤติกรรมพบว่ามีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากบุคคลปกติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำมีความสนใจสั้น มีปัญหาในการจำ จำสิ่งที่เรียนไปแล้วไม่ได้มีปัญหาในการถ่ายโยงความรู้และ ลักษณะเด่นที่เห็นชัดเจนอย่างหนึ่งของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา คือ การช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เช่น ทักษะการรับประทานอาหาร ทักษะการแต่งกาย และทักษะขับถ่าย นักเรียนจะทำได้น้อยมากหรือทำไม่ได้เลย จำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลา (ศิรินันท์, 2563) จะเห็นได้ว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรง มีความสามารถในด้านต่างๆ ที่แตกต่างไปจากเด็กปกติ คือ มีข้อจำกัดด้านการเรียนรู้ การพัฒนาการทางภาษา ในด้านการพูด การฟังและการเข้าใจคําสั่งต่างๆ การเคลื่อนไหวล่าช้า ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้เต็มที่ ในการดูแลตนเองนักเรียนยังต้องได้รับความช่วยเหลือ การฝากทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จึงต้องใช้เวลาและวิธีฝึกเฉพาะ และมีความจำเป็นต้องฝึกอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำจะทำให้นักเรียนพัฒนาได้เต็มศักยภาพ รู้จักช่วยเหลือและดูแลตนเองในชีวิตประจำวันได้ เนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีข้อจำกัดด้านการเรียนรู้
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญานั้นควรเน้นในด้านการฝึกทักษะพื้นฐานโดยเฉพาะการช่วยเหลือตนเอง ทักษะทางสังคมและทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและไม่เป็นภาระต่อสังคม (มาศพร แกล้วทนง, 2551)
เทคนิคการวิเคราะห์งานเป็นอีกเทคนิคที่นำมาสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้การแบ่งงานออกเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ตามความสำคัญและขั้นตอนความยากง่ายของงานเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ระยะเวลาในการฝึกแต่ละขั้นตอนขึ้นอยู่กับศักยภาพของเด็กแต่ละคน เพื่อให้เด็กสามารถประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมนั้นๆ เทคนิคนี้จึงเหมาะสำหรับการสอนทักษะการดำรงชีวิตสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (ธมลวรรณ ใจไหว, 2561) แต่สำหรับการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่มีความสามารถในการเรียนรู้ที่ต่ำกว่าระดับปกติ การสอนด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งอาจไม่สามารถส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสามารถหรือทักษะตามเป้าหมายได้ การใช้รูปภาพประกอบเป็นอีกวิธีการที่จะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้ โดยรูปภาพประกอบที่นำมาใช้ในนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการจะฝึกและมีความชัดเจนไม่ซับซ้อน สอดคล้องกับงานวิจัยของมาศพร แกล้วทะนง (2551) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การสอนทักษะการช่วยเหลือตนเองสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา ระดับรุนแรง โดยการวิเคราะห์งานร่วมกับการใช้ภาพประกอบ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรง สามารถปฏิบัติทักษะการช่วยเหลือตนเองในการ ใช้ห้องน้ำได้ถูกต้องทุกขั้นตอนหลังได้รับการฝึกโดยการวิเคราะห์งานร่วมกับการใช้ภาพประกอบ จะเห็นได้ว่าหลังจากการ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์งานในกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับภาพประกอบของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสามารถช่วย ให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีขึ้น
จากสภาพปัญหาของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบ เพื่อให้นักเรียนความสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน และดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังการฝึกโดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบ
ทบทวนวรรณกรรม
1. นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
1.1 ความหมายของภาวะความบกพร่องทางสติปัญญา
1.2 สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะความบกพร่องทางสติปัญญา
1.3 การแบ่งระดับภาวะความบกพร่องทางสติปัญญา
1.4 ลักษณธของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
2. หลักการฝึกทักษะสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
2.1 หลักการฝึกเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
2.2 ทักษะการปรับตัวของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
2.3 การฝึกทักษะการปรับตัว
2.4 กิจกรรมการพัฒนาการพฤติกรรมการปรับตัว
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
3.1 ความหมายของทักษะการช่วยเหลือตนเอง
3.2 คุณค่าและประโยชน์ของการช่วยเหลือตนเอง
3.3 แนวทางการพัฒนาทักษะการดูแลช่วยเหลือตนเอง
3.4 วิธีการช่วยเหลือตนเอง
3.5 การช่วยเหลือตนเองด้านการแต่งกาย
3.6 การช่วยเหลือตนเองด้านการใช้ห้องน้ำ
4. การฝึกโดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT)
4.1 ความหมายของรูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT)
4.2 ทฤษฎีและแนวคิดรูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT)
4.3 รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT)
5. การใช้ภาพประกอบ
5.1 ความหมายของรูปภาพ
5.2 หลักการใช้รูปภาพในการสอน
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สมมติฐานวิจัย
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนโดยใช้การวิเคราะห์งานร่วมกับภาพประกอบ
ขอบเขตงานวิจัย
ขอบเขตของเนื้อหา
การช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เรื่อง การแต่งกายสวมเสื้อยืดคอกลม
ขอบเขตของกลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อายุระหว่าง 3 ปี ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้ ห้องเรียนเตรียมความพร้อมสติปัญญา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 คน
ขอบเขตของตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบ
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เรื่องการแต่งกายสวมเสื้อยืดคอกลม
ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย
1. ครูผู้สอนได้แนวทางในการนำรูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในทักษะอื่นๆ หรือประยุกต์ใช้กับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษประเภทอื่น
2. ผู้ปกครองนักเรียนสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการฝึกการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของนักเรียน
กรอบแนวคิดงานวิจัย
เครื่องมือใช้ในการทดลอง
1. เครื่องมือที่ใช้ในการวัด
1.1 แบบประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เรื่อง การแต่งกายสวมเสื้อยืดคอกลม
2. เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ
2.1 แผนการสอนเฉพาะบุคคลฝึกการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เรื่อง การแต่งกายสวมเสื้อยืดคอ
2.2 สื่อรูปภาพประกอบแผนการฝึกการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เรื่อง การแต่งกายสวมเสื้อยืดคอ
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ผล
1) ค่าเฉลี่ย (Mean)
2) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3) ค่าร้อยละ
2. ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบประกอบ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน โดยรวม มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ( x ̅ = 4.16 )
2. ผลการประเมินความสามารถทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เรื่อง การสวมเสื้อยืดคอกลม ของกลุ่มเป้าหมาย พบว่า ทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เรื่อง การสวมเสื้อยืดคอกลม หลังการสอนดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบ คะแนนรวม 14 คะแนน ซึ่งมีความสามารถในทักษะช่วยเหลือตนองอยู่ในระดับดี
3. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังการฝึกโดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบ หลังการใช้แผนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบประกอบสูงกว่าก่อนเรียน ผลต่างของคะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น +7 ตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
การอภิปรายผล
1. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังการฝึกโดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบ หลังการใช้แผนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบประกอบสูงกว่าก่อนเรียน ผลต่างของคะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น +7 ตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย กิ่งดาว เป็งคํามา (2559) การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสามารถในการแปรงฟันที่ถูกวิธีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง จากการสอนโดยใช้เทคนิคการแต่งพฤติกรรมร่วมกับวิธีสอน Model - Lead - Test กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง กําลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จํานวน 6 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Samping) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแผนการจัดการเรียนรู้การสอนการแปรงฟันที่ถูกวิธี จํานวน 10 แผน แบบประเมินความสามารถในการแปรงฟันที่ถูกวิธี แบบแผนการทดลองครั้งนี้เป็น One Group Pretest – Posttest Design และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่ามัธยฐาน(Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interguartile Range = IOR), The Signed Test for Median :One Sample และ The Wilcoxon Matched – Pairs Signed – Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า1. ความสามารถในการแปรงฟันที่ถูกวิธีของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง หลังจากการสอนโดยใช้เทคนิคการแต่งพฤติกรรมร่วมกับวิธีสอน Model - Lead –Test อยู่ในระดับดีมาก (ค่ามัธยฐาน = 31 คะแนน จากคะแนนเต็ม 52 คะแนน;n = 6, t = 6, p-value= 1.000)2. ความสามารถในการแปรงฟันที่ถูกวิธีของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง หลังจากการสอนโดยใช้เทคนิคการแต่งพฤติกรรมร่วมกับวิธีสอนModel - Lead –Test สูงขึ้น (T = 0, P<.05) และผลการเปรียบเทียบความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังการฝึกโดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบ หลังการใช้แผนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) ร่วมกับภาพประกอบประกอบสูงกว่าก่อนเรียน ผลต่างของคะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น +7 ตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ อีกทั้งยังสอดคล้องกับ ณัฎฐนิชา ทับสว่าง (2566) การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาความเข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจากการใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book 2) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book ก่อนการทดลองและหลังการทดลองกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับปานกลางและไม่มีความพิการซ้อน จำนวน 4 คนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล จังหวัดสุพรรณบุรี มีระดับเชาว์ปัญญา 35-49 สามารถสื่อสารได้ด้วยท่าทาง หรือการพูดโต้ตอบ ตอบคำถามจากแบบทดสอบได้ถูกต้องน้อยกว่า 5 ข้อ เป็นนักเรียนที่ไม่เข้าใจ ภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ภาพสัญลักษณ์ห้องน้าชาย-หญิง ภาพสัญลักษณ์ทางหนีไฟ ภาพสัญลักษณ์จุดรวมพล ภาพสัญลักษณ์ห้องปฐมพยาบาล ภาพสัญลักษณ์ทางม้าลาย ภาพสัญลักษณ์สัญญาณไฟจราจร แบบแผนวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง (The One –Group Pretest –Posttest Design)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน โดยใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book จำนวน 6 แผน 2) หนังสือเล่มใหญ่ Big Book จำนวน 6 เล่ม ได้แก่ สัญลักษณ์ห้องน้ำเป็นแบบนี้เองจุดรวมพลอยู่ตรงนี้นะ ห้องพยาบาลอยู่ไหน ทางหนีไฟอยู่ไหนนะ ข้ามถนนต้องข้ามทางม้าลาย สัญญาณไฟจราจรตั้งอยู่ที่ทางแยกบนถนน 3) แบบทดสอบความเข้าใจก่อน-หลังเรียนเรื่องภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน จำนวน 1 ชุด ผู้วิจัยได้ทดลอง จัดการเรียนรู้ตามแผนการสอนเป็นเวลา 6 สัปดาห์ สอนสัปดาห์ละ 1 เรื่อง เรื่องละ 5 วัน วันละ 50 นาที รวมทั้งหมด 6 เรื่อง 6สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและร้อยละความก้าวหน้าของคะแนนเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า1)นักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน โดยใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book อยู่ในระดับดีมาก 2) นักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book คะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 65
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการนำเทคนิควิธีการสอนมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นใหม่มาใช้กับนักเรียน
2. ควรมีการทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล โดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง ด้วยเทคนิค Model - Lead - Test (MLT) กับทักษะอื่นๆ ด้วย เพื่อเป็นการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย เพิ่มศักยภาพของนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ:
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กิ่งดาว์ เป็งคำมา (2559). การศึกษาความสามารถในการแปรงฟันที่ถูกวิธี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง จากการสอนโดยใช้เทคนิคการแต่งพฤติกรรมร่วมกับวิธีสอน Model - Lead – Test . มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.