ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย WILPES MODEL ร่วมกับการใช้ แบบฝึกทักษะและสื่อมัลติมีเดีย เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านและเขียนมาตรา ตัวสะกด ชุด อ่านสนุกกับมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสุนิดา เกษกัน ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านดวนบากน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย WILPES MODEL ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะและสื่อมัลติมีเดีย เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านและเขียนมาตราตัวสะกด ชุด อ่านสนุกกับมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย WILPES MODEL ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะและสื่อมัลติมีเดีย เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านและเขียนมาตราตัวสะกดชุด อ่านสนุกกับมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย WILPES MODEL ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะและสื่อมัลติมีเดีย เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านและเขียนมาตราตัวสะกด ชุด อ่านสนุกกับมาตราตัวสะกด 4) พัฒนาทักษะการอ่านและเขียนในมาตราตัวสะกดของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 5) ประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย WILPES MODEL ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะและสื่อมัลติมีเดีย เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านและเขียนมาตราตัวสะกด ชุด อ่านสนุกกับมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านดวนบากน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 9 คน และครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาในจังหวัดยโสธร จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านและเขียนมาตราตัวสะกด 2) แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ชุด อ่านสนุกกับมาตราตัวสะกด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย WILPES MODEL ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะและสื่อมัลติมีเดีย เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านและเขียนมาตราตัวสะกด ชุด อ่านสนุกกับมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นมีชื่อว่า WILPES MODEL มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน
สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลัก
การตอบสนอง ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นอุ่นเครื่อง (Warm up : W)
2) ขั้นนำเสนอข้อมูลความรู้ (Introduction of knowledge : I) 3) ขั้นลงมือเรียนรู้ ฝึกทำ และฝึกฝน (Learn–Practice : L) 4) ขั้นการแสดงผลงาน (Performing : P) 5) ขั้นประเมินผลลัพธ์ (Evaluation : E) และ 6) ขั้นสรุปและประยุกต์ใช้ความรู้ (Summary and apply : S)
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย WILPES MODEL ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะและสื่อมัลติมีเดีย เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านและเขียนมาตราตัวสะกด ชุด อ่านสนุกกับมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.27/88.02 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย WILPES MODEL ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะและสื่อมัลติมีเดีย เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านและเขียนมาตราตัวสะกดสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะการอ่านและเขียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
5. ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย WILPES MODEL ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะและสื่อมัลติมีเดีย เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านและเขียนมาตราตัวสะกด อยู่ในระดับมาก
นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานโดยใช้ทักษะการอ่านและเขียนบนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจด้วยตนเอง ส่งผลให้ชิ้นงานมีคุณภาพ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้