|
Advertisement
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนจากแบบทดสอบความถนัดทางพหุปัญญาของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2565 , 2566 และ 2567 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความสอดคล้องของคะแนนแบบทดสอบความถนัดทางพหุปัญญากับการเลือกรายวิชาเพิ่มเติมของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2565 , 2566 และ 2567 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความสอดคล้องของรายวิชาเลือกเพิ่มเติมกับกลุ่มวิชาชีพตามโครงการสหวิทยาการของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2565 , 2566 และ 2567 4) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความสอดคล้องของกลุ่มวิชาชีพตามโครงการสหวิทยาการกับแนวอาชีพที่สนใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2565 , 2566 และ 2567
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนปัจจุบันที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย และอดีตเคยศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที 3/7 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จากการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบทดสอบความถนัดทางพหุปัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1.1) ค่าเฉลี่ยคะแนนจากแบบทดสอบความถนัดทางพหุปัญญาของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2565 มีผลค่าเฉลี่ยคะแนนความถนัดทางพหุปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (x̄ = 29.26 , S.D. = 3.84) มากที่สุด มีความถนัดด้านดนตรี (x̄ = 28.57 , S.D. = 5.19) รองลงมา มีความถนัดด้านการรู้จักตนเอง (x̄ = 28.43 , S.D. = 4.28) มีความถนัดด้านการใช้เหตุผลและคณิตศาสตร์ (x̄ = 28.37 , S.D. = 4.72) มีความถนัดด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (x̄ = 27.66 , S.D. = 3.83) มีความถนัดด้านมิติสัมพันธ์ (x̄ = 27.51 , S.D. = 3.24) และมีความถนัดด้านภาษา (x̄ = 26.00 , S.D. = 5.19) ตามลำดับ 1.2) ค่าเฉลี่ยคะแนนจากแบบทดสอบความถนัดทางพหุปัญญาของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2566 มีผลค่าเฉลี่ยคะแนนความถนัดทาง พหุปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (x̄ = 30.14 , S.D. = 3.59) มากที่สุด มีความถนัดด้านการรู้จักตนเอง (x̄ = 29.00 , S.D. = 3.93) รองลงมา มีความถนัดด้านการใช้เหตุผลและคณิตศาสตร์ (x̄ = 28.97 , S.D. = 4.51) มีความถนัดด้านดนตรี (x̄ = 28.80 , S.D. = 5.18) มีความถนัดด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (x̄ = 27.66 , S.D. = 4.18) มีความถนัดด้านมิติสัมพันธ์ (x̄ = 26.94 , S.D. = 4.18) และมีความถนัดด้านภาษา (x̄ = 26.26 , S.D. = 4.55) ตามลำดับ 1.3) ค่าเฉลี่ยคะแนนจากแบบทดสอบความถนัดทางพหุปัญญาของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2567 มีผลค่าเฉลี่ยคะแนนความถนัดทาง พหุปัญญาด้านการรู้จักตนเอง (x̄ = 30.34 , S.D. = 2.59) มากที่สุด มีความถนัดด้านมนุษยสัมพันธ์ (x̄ = 30.26 , S.D. = 3.54) รองลงมา มีความถนัด ด้านการใช้เหตุผลและคณิตศาสตร์ (x̄ = 29.43 , S.D. = 3.81) มีความถนัดด้านดนตรี (x̄ = 28.49 , S.D. = 5.19) มีความถนัดด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (x̄ = 26.69 , S.D. = 4.38) มีความถนัดด้านมิติสัมพันธ์ (x̄ = 26.34 , S.D. = 3.80) และมีความถนัดด้านภาษา (x̄ = 26.06 , S.D. = 3.25) ตามลำดับ 1.4) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนจากแบบทดสอบความถนัดทางพหุปัญญาของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2565 , 2566 และ 2567 พบว่ามีลำดับค่าเฉลี่ยคะแนนเปลี่ยนแปลงทุกปีการศึกษา โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 3 ปีการศึกษาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการรู้จักตนเอง ด้านการใช้เหตุผลและคณิตศาสตร์ ด้านดนตรี ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ด้านมิติสัมพันธ์ และด้านภาษา 2.1) ค่าเฉลี่ยระดับความสอดคล้องของคะแนนจากแบบทดสอบทางพหุปัญญากับการเลือกรายวิชาเพิ่มเติมของของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2565 (x̄ = 3.57 , S.D. = 0.65) มีความสอดคล้องระดับมาก ปีการศึกษา 2566 (x̄ = 4.51 , S.D. = 0.56) มีความสอดคล้องระดับมากที่สุด และการศึกษา 2567 (x̄ = 4.54 , S.D. = 0.51) มีความสอดคล้องระดับมากที่สุด 2.2) ค่าเฉลี่ยระดับความสอดคล้องของการเลือกรายวิชาเพิ่มเติมกับกลุ่มวิชาชีพตามโครงการสหวิทยาการของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2565 (x̄ = 3.51 , S.D. = 0.56) มีความสอดคล้องระดับมาก ปีการศึกษา 2566 (x̄ = 4.54 , S.D. = 0.51) มีความสอดคล้องระดับมากที่สุด และ ปีการศึกษา 2567 (x̄ = 4.69 , S.D. = 0.47) มีความสอดคล้องระดับมากที่สุด 2.3) ค่าเฉลี่ยระดับความสอดคล้องของกลุ่มวิชาชีพตามโครงการ สหวิทยาการกับแนวอาชีพที่สนใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2565 (x̄ = 3.63 , S.D. = 0.60) มีความสอดคล้องระดับมาก ปีการศึกษา 2566 (x̄ = 4.57 , S.D. = 0.50) มีความสอดคล้องระดับมากที่สุด และปีการศึกษา 2567 (x̄ = 4.97 , S.D. = 0.17) มีความสอดคล้อง ระดับมากที่สุด 2.4) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความสอดคล้องของคะแนนจากแบบทดสอบความถนัดทางพหุปัญญากับการเลือกรายวิชาเพิ่มเติม การเลือกรายวิชาเพิ่มเติมกับกลุ่มวิชาชีพตามโครงการสหวิทยาการ การเลือกกลุ่มวิชาชีพตามโครงการสหวิทยาการกับแนวอาชีพที่สนใจ ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2565 , 2566 และ 2567
ระดับความสอดคล้องเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
|
โพสต์โดย แมว : [2 เม.ย. 2568 (14:21 น.)] อ่าน [98] ไอพี : 203.172.208.130
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
Advertisement
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 26,949 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 48,017 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 13,102 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 26,160 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 20,729 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 66,395 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 79,429 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 29,178 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 9,430 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 21,789 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 11,210 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 37,739 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 34,280 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 12,949 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 14,458 ครั้ง 
| |
|
เปิดอ่าน 21,104 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 53,931 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 388,663 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 16,270 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 42,162 ครั้ง 
|
|

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|