ความสำคัญและที่มา
ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง การแก้ปัญหา พบว่ามีนักเรียนบางคนมีปัญหาในการเรียน ตามเพื่อนไม่ทัน และนักเรียนมีรู้สึกว่าเนื้อหาที่เรียนยากเกินไป เนื่องจากต้องคิดวิเคราะห์แก้ปัญหามาก ไม่สามารถจัดเรียงลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาได้ ซึ่งผลจากการสำรวจนักเรียนชั้นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านบุ่งคำ พบว่ามีนักเรียนส่วนใหญ่ของห้องเรียนหนึ่งมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียน เรื่องการแก้ปัญหาต่ำ จึงทำให้นักเรียนในห้องเรียนนี้จำนวนมากขาดความมั่นใจในการเรียน และไม่อยากเรียน หากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหานี้ จะทำให้นักเรียนไม่สามารถศึกษาเนื้อหาต่อไปได้ และส่งผลกระทบต่อวิชาโดยรวมในรายวิชาวิทยาการคำนวณได้ ดังนั้น ในการพัฒนาทักษะในครั้งนี้เป็นการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนผ่านเกมออกแบบแก้ปัญหาหรือเกม coding จาก googleช่วยในการฝึกทักษะการออกแบบอัลกอริทึม ( การออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหา )
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาผ่านการออกแบบอัลกอริทึม
2. เพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนเรื่องการแก้ปัญหาแบบขั้นตอนต่ำ
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น
วิธีการฝึกทักษะการแก้ปัญหาด้วยเกม Coding จาก Google โดยบันทึกผลคะแนนที่ทำได้ก่อนฝึกและการฝึกแต่ละครั้ง ความสามารถในการผ่านด่านเกมแต่ละด่าน จนถึงการฝึกด่านสุดท้าย โดยกำหนดระยะเวลาในการบันทึกผลตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค. – 16 ส.ค. 2567 ครั้งละประมาณ 15 นาที ในคาบเรียนแต่ละสัปดาห์
ตัวแปรตาม
1. ผลสัมฤทธิ์ของทักษะการเล่นเกมผ่านด่านของนักเรียน
2. เกม Coding จาก google สำหรับใช้ในการฝึกทักษะ
กรอบแนวความคิด
1. ใช้หลักการฝึกทักษะด้วยความสนุก
2. แก้ปัญหาด้วยการเล่นและเรียนรู้เรื่องการออกแบบอัลกอริทึม
3. ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้กระบวนการเสริมทักษะการแก้ปัญหาด้วยเกม coding
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาในรายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้เกม coding
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เพิ่มขึ้น และสามารถเรียนเนื้อหาต่อไปได้
ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 24 คน โรงเรียนบ้านบุ่งคำ โดยการทดสอบทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน และหาค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการฝึกแต่ละครั้งไว้และจัดให้นักเรียนมีการฝึกทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้เกม coding อย่างสม่ำเสมอคาบละ 10 นาที โดยเกม ทั้งหมดมี 6 ด่าน เพื่อให้นักเรียนรู้สึกเพลิดเพลินไม่เบื่อในการเล่นเกม ครูจะคอยอธิบายวิธีการเล่นเพื่อให้ผ่านด่าน
วิธีการดำเนินการวิจัย
1. การหาข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนจากการสำรวจเบื้องต้น พบว่านักเรียนที่มีทักษะการแก้ปัญหา ทั้งหมด 24 คน คือ เรียนไม่ทัน ฝึกปฏิบัติการออกแบบแก้ปัญหาไม่ได้ ครูจึงได้หาข้อมูลและวางแผนการเรียนรู้โดยจัดตารางฝึกทักษะด้วยเกม coding ให้นักเรียนฝึกครั้งละ 10 นาที
2. เตรียมการจัดการเรียนรู้เลือกหาเกมที่สนุก ที่ให้ความรู้นักเรียนในการออกแบบอัลกอริทึม ซึ่งไม่
ยากเกินไปที่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะสามารถฝึกทักษะได้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- เครื่องคอมพิวเตอร์
- เกม coding จาก google เป็นเกมส์ออกแบบอัลกอริทึม ใช้การคิดวางแผนที่นักเรียนสามารถเล่นได้ จำนวน 6 ด่าน
- ตารางบันทึกผลการเล่นเกมแต่ละด่าน
สรุปได้ว่า
นักเรียนที่ฝึกทักษะด้วยเกม coding จาก google เมื่อได้รับการแก้ปัญหาการออกแบบการแก้ปัญหา
หรืออัลกอริทึม โดยนำเกมเข้ามาช่วยในการคิดด้านการแก้ปัญหา จากการเปรียบเทียบผลการบันทึกคะแนน
จากเกณฑ์ที่วัดและหาค่าเฉลี่ยของความก้าวหน้าในพัฒนาการของการเล่นเกม การผ่านด่าน เวลาในการผ่าน
ด่าน จะเห็นว่ามีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น และนักเรียนจำนวน 24 คนจาก 24 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนที่
เข้ารับการพัฒนาทักษะ มีการพัฒนาทักษะที่เพิ่มขึ้น