การวิจัยพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย1) เพื่อศึกษาสภาพบริบท ปัญหา และความต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2567 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) ในด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นบุคคล/กลุ่มบุคคลในปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 120 คน ประกอบด้วย 1) ครู จำนวน 12 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ยกเว้นผู้บริหารโรงเรียนและผู้แทนครูผู้สอน) ได้มาโดยการเทียบตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970: 608) 3) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 101 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2)กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน และหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 3 คน รวมจำนวน 6 คน จาก 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ที่ประสบผลสำเร็จด้านการบริหารงานวิชาการซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selecting) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นบุคคล/กลุ่มบุคคลในปีการศึกษา 2567 ของโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 127 คน ประกอบด้วย 1) ครู จำนวน 12 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ยกเว้นผู้บริหารโรงเรียนและผู้แทนครูผู้สอน) ได้มาโดยการเทียบตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970: 608) 3) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 108 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นบุคคล/กลุ่มบุคคลในปีการศึกษา 2567 ของโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 130 คน ประกอบด้วย 1) ครูจำนวน 12 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ยกเว้นผู้บริหารโรงเรียนและผู้แทนครูผู้สอน) ได้มาโดยการเทียบตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970: 608) 3) ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องของรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
1.ผลการศึกษาสภาพบริบท ปัญหา และความต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) สภาพที่พึงประสงค์ด้านการส่งเสริมความเป็นอิสระในการทำงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( X=4.81, S.D.= 0.12) สภาพที่เป็นจริง ( X=4.50, S.D.= 0.20) PNI 0.69 รองลงมา ด้านการส่งเสริมบุคลากรเพิ่มความรู้ความสามารถทักษะในการปฏิบัติงาน สภาพที่พึงประสงค์ทำงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( X=4.74, S.D.= 0.22) สภาพที่เป็นจริง ( X=4.52, S.D.= 0.31) PNI 0.49 ผลการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) และด้านการสนับสนุนช่วยเหลือสิ่งที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่สภาพที่พึงประสงค์ทำงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( X=4.83, S.D.= 0.08) สภาพที่เป็นจริง ( X=4.68, S.D.= 0.18) PNI 0.03 เป็นลำดับสุดท้าย
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) พบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการดำเนินงาน แนวทางในการประเมิน และเงื่อนไขความสำเร็จ โดยกระบวนการดำเนินงานของรูปแบบ C D P R E Model ประกอบด้วยการเสริมสร้างพลังอำนาจ และการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิโดยภาพรวม รูปแบบการบริหารงานวิชาการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์)
ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (Ordinary National Educational Test: O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมีคะแนนผลการประเมิน รวม 4 ด้าน คือ ด้านภาษาไทยด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษาอังกฤษ และด้านวิทยาศาสตร์ระดับโรงเรียน เฉลี่ยร้อยละ 51.43 สูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 35.59 และสูงกว่าระดับ สพฐ. ที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 37.90
4. ผลการประเมินรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์)
4.1 ผลการประเมินด้านความเป็นประโยชน์ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.52, S.D.= 0.50) โดยด้านความถูกต้อง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (X= 4.55, S.D.= 0.50) รองลงมาคือ ความเป็นไปได้ (X= 4.53, S.D.= 0.50) ความเหมาะสม (X= 4.50, S.D.= 0.49) และ ความเป็นประโยชน์ (X= 4.49, S.D.= 0.49) อยู่ในระดับมาก
4.2 ครูมีความพึงพอใจต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( X = 4.60, S.D.= 0.48) เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ครูพึงพอใจมากที่สุด ด้านกระบวนการการเสริมสร้างพลังอำนาจ ( X = 4.68, S.D.= 0.46) โดยรายการที่พึงพอใจมากที่สุด คือ ผู้บริหารสถานศึกษามีความเชื่อมั่นว่าการฝึกอบรมจะทำให้บุคลากรเกิดการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ใหม่ๆ ( X = 4.83, S.D.= 0.37) รองลงมาคือ ครูพึงพอใจด้านการศึกษาและวิเคราะห์ (Study and analyze) ( X = 4.58, S.D.= 0.49) ด้านกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ (Efficient operation process) ( X = 4.57, S.D.= 0.49) และด้านการประเมินผล (Evaluation) ( X = 4.50, S.D.= 0.48)
4.3 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดหน้าต่างใน (จงนิลอุปถัมภ์) โดยรวม อยู่ในระดับพึงพอใจ มากที่สุด ( X = 4.61, S.D.= 0.49) เมื่อจำแนกรายข้อ พบว่า พึงพอใจมากที่สุด คือ สถานศึกษาส่งเสริมการเรียนการสอนทั้งในด้านวิชาการ และทักษะชีวิตแก่นักเรียน และสถานศึกษามีการสนับสนุนและส่งเสริมนักเรียนเข้าแข่งขันทักษะทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ( X = 4.86, S.D.= 0.38) รองลงมา คือสถานศึกษามีการให้ความช่วยเหลือในด้านวิชาการแก่นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ( X = 4.71, S.D.= 0.49) น้อยที่สุด คือ สถานศึกษาส่งเสริมให้มีการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และครูมีการจัดทำสื่อ นวัตกรรมที่ทันสมัยและมีการบ้านที่เหมาะสมกับระดับชั้นของนักเรียน ( X = 4.42, S.D.= 0.53)