ชื่อเรื่อง : การพัฒนาทักษะการเพาะเห็ดในเชิงพาณิชย์ โดยใช้ Thinking School ร่วมกับ STAD
ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล 5E กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์
ชื่อผู้วิจัย : นางประภาพร ภาคี
หน่วยงาน : วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย : 2566
บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะการเพาะเห็ดในเชิงพาณิชย์ โดยใช้ Thinking School ร่วมกับ STAD ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล 5E กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพการสอน แบบ Thinking School ร่วมกับ STAD ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล 5E ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจัดการเรียนรู้ โดยใช้ Thinking School ร่วมกับ STAD ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล 5E 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลจากการเรียนรู้ โดยใช้ Thinking School ร่วมกับ STAD ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล 5E 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้ Thinking School ร่วมกับ STAD ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล 5E และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ Thinking School ร่วมกับ STAD ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล 5E กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (rcc) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.72 มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง .42 ถึง .84 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .50 ถึง 0.86 5) แบบทดสอบประจำแผน Thinking School ร่วมกับ STAD ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล 5E จำนวน 8 ฉบับ ๆ ละ 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (rcc) ทั้ง 8 ฉบับ เท่ากับ .76, .68, .72, .84, .76, .84, .76 และ .80 ตามลำดับ มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง .38 ถึง .78 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .46 ถึง .84 4) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทดลองจัดกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และทำการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังโดยใช้สถิติ t – test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของ Thinking School ร่วมกับ STAD ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล 5E ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ E1/E2 = 91.78/89.23 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80
2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีระดับการปฏิบัติทักษะกระบวนการเพาะเห็ดในเชิงพาณิชย์ หลังจัดการเรียนรู้โดยใช้ Thinking School ร่วมกับ STAD ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล 5E อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 92.19, S.D. = 0.41)
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลจากการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.7967 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนหลังเรียนรู้ สูงขึ้นร้อยละ 79.67
4. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ Thinking School ร่วมกับ STAD ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล 5E มีความรู้ ความเข้าใจ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
5. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ Thinking School ร่วมกับ STAD ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล 5E อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = 0.47)
โดยสรุป การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ Thinking School ร่วมกับ STAD ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล 5E ในครั้งนี้ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 และใช้จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีกระบวนการ ที่น่าสนใจ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเพาะเห็ดในเชิงพาณิชย์ และเป็นกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดประสบการณ์จริงด้วยตนเอง และมีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าเป็นรายกลุ่ม จึงส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างชัดเจน และสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้กับผู้เรียน จนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของมาตรฐานหลักสูตรต่อไป