ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย จักรพงษ์ พร่องพรมราช
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ สภาพ ความต้องการจำเป็น และแนวทางการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และ 4) ประเมินรูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ สภาพ ความต้องการจำเป็น และแนวทางการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา แบ่งเป็น 4 ขั้นย่อย ได้แก่ ขั้นที่ 1.1 สังเคราะห์องค์ประกอบของสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสังเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ขั้นที่ 1.2 ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวย่าง คือ ครู ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 500 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ขั้นที่ 1.3 ศึกษาสภาพ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 310 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Priority Need Index : PNImodified) ขั้นที่ 1.4 ศึกษาแนวทางการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์แนวทางการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบและคู่มือ การใช้การนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา แบ่งเป็น 4 ขั้นย่อย ได้แก่ ขั้นที่ 2.1 ยกร่างรูปแบบและคู่มือการใช้การนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกร่างรูปแบบและคู่มือการใช้การนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ขั้นที่ 2.2 ตรวจสอบร่างรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ประเด็นการสนทนากลุ่ม 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศ และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 2.3 ปรับปรุงร่างรูปแบบและคู่มือ การใช้รูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา แหล่งข้อมูล ได้แก่ ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิจากการสนทนากลุ่ม ในขั้นที่ 2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการปรับปรุงร่างรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน ของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 2.4 ทดลองนำร่องการใช้รูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมายในการทดลองนำร่อง คือ โรงเรียนจำนวน 4 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการนิเทศ ดังนี้ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้แทน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และศึกษานิเทศก์ จำนวน 25 คน 2) ครู จำนวน 20 คน และ 3) เพื่อนคู่คิดร่วมพัฒนางาน โดยเลือกทั้งครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันหรือต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 20 คน รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรมนิเทศ จำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ 2) แบบประเมินสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ รูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสถิติทีแบบกลุ่มเดียวกับเกณฑ์ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมายในการใช้รูปแบบการนิเทศ คือ โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 54 โรงเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการนิเทศ ดังนี้ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้แทน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และผู้วิจัยในฐานะศึกษานิเทศก์ จำนวน 325 คน 2) ครู จำนวน 270 คน และ 3) เพื่อนคู่คิดร่วมพัฒนางาน โดยเลือกทั้งครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันหรือต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 270 คน รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรมนิเทศ จำนวน 865 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ 2) แบบประเมินสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสถิติทีแบบกลุ่มเดียวกับเกณฑ์ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมาย คือ ครู ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 270 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการใช้รูปแบบการนิเทศในภาคสนามมาแล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาองค์ประกอบ สภาพ ความต้องการจำเป็น และแนวทางการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา พบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย 4 ด้าน 29 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การวางแผนและออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 การประเมินตามสภาพจริง จำนวน 11 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 การสร้างและหาคุณภาพแบบทดสอบ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 4 การรายงานและนำผลประเมินไปใช้ใน การพัฒนาผู้เรียน จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-Square= 172.03, df = 182,p = 0.69, Chi-Square/ df = 0.94, RMSER = 0.00, , GFI = 0.99, AGFI = 0.99 3) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุงมีค่าอยู่ระหว่าง 0.479 – 0.562 สามารถเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 การสร้างและหาคุณภาพแบบทดสอบ (PNI = 0.562) ลำดับที่ 2 การรายงานและนำผลประเมินไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน (PNI = 0.552) ลำดับที่ 3 การประเมินตามสภาพจริง (PNI = 0.509) และลำดับที่ 4 การวางแผนและออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน (PNI = 0.479) และ 4) แนวทางการนิเทศที่เสริมสร้างสมรรถนะด้าน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีดังนี้ 1) ร่วมกันศึกษา สภาพ และความต้องการจำเป็น 2) กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาครู ออกแบบแผนการนิเทศที่สอดคล้องกับความต้องการของครู 3) กำหนดปฏิทินการนิเทศ พัฒนาสื่อการนิเทศ เครื่องมือนิเทศ ติดตาม ใช้เครื่องมือการนิเทศ 4) การกำหนดกำหนดโครงสร้างองค์กร มอบหมายภาระงานที่รับผิดชอบ 5) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ 6) ใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) เน้นการสะท้อนผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นกัลยาณมิตร 7) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูแบบเป็นกันเอง เพื่อให้ครูสามารถปรึกษาพูดคุยกันได้ ครูให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการทำงานและร่วมกันแก้ปัญหาต่าง ๆ 8) ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู 9) ให้ความสำคัญการนิเทศภายในและพัฒนาให้เป็นระบบ และ 10) มีการกำกับ ติดตาม และประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัด
2. รูปแบบการนิเทศที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา พบว่า มี 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา กระบวนการ และการประเมินผล โดยกระบวนการนิเทศตามรูปแบบมีชื่อว่า 6S-5C มี 6 ขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ได้แก่ 1) การตรวจสอบสภาพการทำงาน (Scan : S1) 2) การกำหนดกลยุทธ์ (Set Strategies : S2) 3) การปฏิบัติการนิเทศ (Start to Implement : S3) 4) การประเมินผล (Summative Assessment : S4) 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมพลัง (Share and Empowerment : S5) และ 6) การสรุปและรายงานผล (Summarize : S6) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และผลการทดลองนำร่องการใช้รูปแบบการนิเทศ พบว่า หลังการใช้รูปแบบการนิเทศ ครูมีสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้นชั้นเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และครูมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการนิเทศในระดับมากที่สุด
3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา พบว่า หลังการใช้รูปแบบ ครูมีสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครู ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยรวม มีประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด