ชื่อเรื่อง
ผู้วิจัย
โรงเรียน
ปีที่วิจัย
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ตามแนวคิด TLLM ร่วมกับการ
เรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ส าหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3
นางวิไลลักษณ์ หลานวงศ์
โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง ส านักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ตามแนวคิด TLLM ร่วมกับการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้
มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็น
ฐาน ตามแนวคิด TLLM ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน
ตามแนวคิด TLLM ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ส าหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน
ตามแนวคิด TLLM ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ส าหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ตาม
แนวคิด TLLM ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ส าหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็น
ฐาน ตามแนวคิด TLLM ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ปีการศึกษา
2566 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง อ าเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จ านวน 33 คน ซึ ่งได้มาจากการสุ่ม
แบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเคราะห์และแบบประเมินรูปแบบ
การเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ตามแนวคิด TLLM
ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ส าหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และแบบวัดความพึงพอใจต่อรูปแบบ
การเรียนรู้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพัฒนา (Research & Development) 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1
การวิจัย (Research and analysis: R1) เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบ
การเรียนรู้ โดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนภาษาอังกฤษและผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) เป็นการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดย
พิจารณาค่าความสอดคล้องของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 การด าเนินการ
วิจัย (Research and Implementation: R2) เป็นการทดลองใช้รูปแบบเรียนรู้ ประเมินรูปแบบการ
ค
เรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญและทดลองใช้ในสถานการณ์จริง หาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 หาดัชนี
ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาและประเมินผล (Development
and evaluation: D2) เป็นการประเมินผลการใช้รูปแบบเรียนรู้ โดยเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เปรียบเทียบค่าคะแนนที่วัดทักษะ
การอ่านเชิงวิเคราะห์ของผู้เรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ
ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าดัชนีประสิทธิภาพประสิทธิผล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที ผลการพัฒนาปรากฏ ดังนี้
1. จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จึงสังเคราะห์และ
พัฒนาเป็นรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ตามแนวคิด TLLM ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 5 องค์ประกอบ คือ
1) องค์ประกอบด้านหลักการของรูปแบบการเรียนรู้ 2) องค์ประกอบด้าน จุดประสงค์ 3)
องค์ประกอบด้านสาระและเนื้อหา 4) องค์ประกอบด้านกิจกรรมและขั้นตอนการเรียนรู้ตามรูปแบบ
IP-CIAS model มี 6 ขั้นการเรียนรู้ ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นการระบุปัญหาและตั้งค าถามวิจัย (I:
Identifying problems and research questions) ขั้นที่ 2 ขั้นการวางแผนและออกแบบแนว
ทางการวิจัย (P: Planning and designing the research) ขั้นที่ 3 ขั้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ (C:
Collaborative learning) ขั้นที่ 4 ขั้นด าเนินการและเก็บข้อมูล (I: Implementing and
collecting data) ขั้นที่ 5 ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (A: analyzing data) และขั้นที่ 6 ขั้นการสรุปผล
และการน าเสนอ (S: Summarizing and sharing) และ5) องค์ประกอบด้านการวัดและประเมินผล
2. รูปแบบการเรียนรู้เชิงทฤษฎี มีความเหมาะสมและมีค่าดัชนีความสอดคล้องของ
องค์ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาตามรูปแบบการเรียนรู้อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่า
ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้เมื่อทดลองใช้กับกลุ่มภาคสนาม เท่ากับ 92.32/75.33 ซึ่งเหมาะ
ส าหรับน าไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้บรรลุผล
3. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้เท่ากับ 93.75/80.00 และมีดัชนีประสิทธิผลของ
รูปแบบการเรียนรู้เท่ากับ .63 นอกจากนี้ผู้เรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วย
รูปแบบการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีคะแนนการวัด
ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนด คิดเป็นร้อยละ
87.87 รวมถึงมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้เท่ากับ 4.57 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด