วิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาความสามารถด้านการพิมพ์สัมผัสภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ KPRDA
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้ศึกษา นางสาวสุรีมาตย์ สุวรรณศรี ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปีการศึกษา 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) หาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KPRDA ในการพัฒนาความสามารถด้านการพิมพ์สัมผัสภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
2) ศึกษาการพัฒนาความสามารถด้านการพิมพ์สัมผัสภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KPRDA ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ
3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KPRDA สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มประชากรและกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KPRDAและคู่มือการใช้ แผนการจัดการเรียนรู้ KPRDA จำนวน 14 แผน แบบทดสอบการบอกนิ้วที่ใช้พิมพ์ จำนวน 6 ชุด แบบทดสอบการพิมพ์ จำนวน 6 ชุด และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 1 ชุด โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KPRDA ในการพัฒนาความสามารถด้านการพิมพ์สัมผัสภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ = 91.94/93.75 ซึ่งเป็นค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. การพัฒนาความสามารถด้านการพิมพ์สัมผัสภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KPRDA ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.25 เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลนักเรียนทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกคน
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้KPRDA ในการพัฒนาความสามารถด้านการพิมพ์สัมผัสภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KPRDA, การพิมพ์สัมผัสภาษาไทย, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น