ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิด
วงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว
ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า
ผู้วิจัย สมาน บิลละเต๊ะ
ปีที่วิจัย 2565-2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ได้แก่ ครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านปลักหว้า จำนวน 17 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์โรงเรียนได้รับรางวัลดีเด่น ระดับเพชร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการ จำนวน 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุขโรงเรียนบ้านปลักหว้า กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 -6 จำนวน 40 คน ของโรงเรียนบ้านปลักหว้า ปีการศึกษา 2566 รวมจำนวน 55 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง แหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร ได้แก่ แบบรายงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 101 คน ของโรงเรียนบ้านปลักหว้า ปีการศึกษา 2566 รวม 116 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ แบบประเมินผลการดำเนินงาน แบบประเมินพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อยาเสพติดและอบายมุขของนักเรียน แบบประเมินมาตรฐานความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องของรูปแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหาร พบว่า สภาพปัจจุบันโรงเรียนบ้านปลักหว้า มีการดำเนินงานการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การป้องกัน การบริหารจัดการ การรักษา การเฝ้าระวัง และการค้นหา ผลการสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหาร พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด ดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด มีระบบและกลไกการดำเนินงานการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด การดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมทั้งในหลักสูตรและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อป้องกันยาเสพติดและเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับนักเรียน การสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียน บ้านและชุมชน
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหาร พบว่า รูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ระบบงานและกลไก 4) กระบวนการบริหาร 5) ตัวชี้วัดความสำเร็จ 6) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ และ 7) คำอธิบายประกอบ ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและ ความเป็นไปได้โดยการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53, S.D. = 0.56) และมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.57, S.D. = 0.52)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า พบว่า
3.1 ผลการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า โดยภาพรวมมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.54, S.D. = 0.50) เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การรักษา การค้นหา การบริหารจัดการ การป้องกันและการเฝ้าระวัง ตามลำดับ
3.2 ผลการประเมินพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อยาเสพติดและอบายมุขของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.52, S.D. = 0.52) เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านสื่อลามกอนาจาร รองลงมา คือ ด้านยาเสพติด ด้านการทะเลาะวิวาท และด้านการพนัน ตามลำดับ
3.3 ผลการประเมินข้อมูลการคัดกรองสภาพการใช้สารเสพติดหรือยาเสพติดของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในปีการศึกษา 2565 และการศึกษา 2566 พบว่า นักเรียนอยู่ในกลุ่มผู้ ไม่เกี่ยวข้องกับสารเสพติดหรือยาเสพติดและอบายมุข ร้อยละ 100
3.4 ผลการประเมินข้อมูลนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในปีการศึกษา 2565 และการศึกษา 2566 พบว่า ไม่มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า พบว่า
4.1 รูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า มีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53, S.D. = 0.51)
4.2 ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหาร แบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.54, S.D. = 0.52)
4.3 รางวัลที่สถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียนและชุมชนได้รับจากการดำเนินงานของรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขตั้งแต่ระดับศูนย์ประสานงานทางการศึกษาขึ้นไป ในปีการศึกษา 2565-2566 จำนวน 21 รายการ เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด คือไม่น้อยกว่า 10 รายการ ผ่านเกณฑ์ตามกำหนด