การนําเสนอนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ชื่อผลงาน: นวัตกรรม การพัฒนาทักษะการการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์คล้องจองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ประเภทผลงาน : ครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ข้อมูลทั่วไป
1. ระดับชั้น : ประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านคลองหลวง ต.อำแพง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร
2. ชื่อครูผู้สอน : นางสาวนิลาวรรณ แย้มเต่า
3. ชื่อผลงาน : นวัตกรรม การพัฒนาทักษะการการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์คล้องจองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
รายละเอียดการนำเสนอนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice )
ตอนที่ 1 ความเป็นมาและสภาพปัญหา
ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาสากลที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการสื่อสารภาษาอังกฤษมีบทบาทในฐานะเป็นภาษาสากล การจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษตามหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน ขั้นพื้นฐานเป็นการพัฒนาทั้ง 4 ทักษะ คือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะ การอ่าน และทักษะการเขียน ซึ่งทักษะทั้ง 4 ที่กล่าวมานั้นทักษะการพูดเป็นทักษะ ที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นทักษะที่แสดงให้เห็นว่าผู้พูดมีความรู้ทางภาษาอย่างชัดเจน และเนื่องจาก ทักษะการพูดเป็นการถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจ และความรู้สึกในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันในการฝึกทักษะการพูดยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เด็กไทยยังไม่สามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ (กรมวิชาการ. 2542:1) (กระทรวงศึกษาธิการ. 2554) อย่างไรก็ดีการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนที่สอดคล้องกับพื้นฐาน ความสนใจ และธรรมชาติของของเด็ก สามารถช่วยพัฒนาทักษะการพูด ของเด็กได้ (Cameron, 2001 and Pinter, 2006) โดยเฉพาะเด็กนักเรียนวัยประถมศึกษา ซึ่งเป็นวัยที่ ชอบการเคลื่อนไหว ชอบการแข่งขัน ไม่ชอบนั่งนิ่ง ๆ ฟังสิ่งที่ครูพูดนานๆ ครูจึงจำเป็นต้องเลือกวิธี การสอนหรือกิจกรรมฝึกการพูดให้เหมาะสมกับวัย การใช้เกมทางภาษาสอดแทรกในวิธีการสอนจึงอาจเป็น ทางเลือกหนึ่งของครู (เรืองศักดิ์ อัมไพพันธ์. 2545) ทั้งนี้เพราะเกมช่วยให้นักเรียนเกิดความเพลิดเพลิน รู้สึกผ่อนคลายอารมณ์ตึงเครียด และยังช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจและจดจ่อในการเรียน และอยากเรียน ส่งเสริมการแสดงออกอย่างเต็มความสามารถ (ทิศนา แขมมณี. 2547, สุกิจ ศรีพรหม. 2544, สุมิตรา อังวัฒนกุล. 2539)
ภาษาเป็นตัวแปรสําคัญในการถ่ายทอดข้อมูลหรือข่าวสารหนึ่งไปสู่แหล่งข่าวสารหนึ่ง นับได้ว่าเป็นสื่อกลางการเชื่อมโลกเข้าด้วยกันซึ่งภาษาที่ถูกยอมรับเป็นภาษาสากล (International Language) คือภาษาอังกฤษโดยภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารประมาณ 25% ของประชากรโลกทั้งนี้ภาษาอังกฤษมีผู้ใช้เป็นภาษาแม่ประมาณ 328 ล้านคนและมีคนที่ใช้ทั่วโลกประมาณ 1.8 พันล้านคน (ศิตา เยี่ยม ขันติถาวร, 2557) อีกทั้งนโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนด้วยตนเอง เน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและเรียนรู้อย่างมีความสุขและพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ จากหลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศสามารถใช้ภาษาต่างประเทศสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆแสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นรวมทั้งมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลกและสามารถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์
สื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เน้นสื่อที่ใช้สาหรับการค้นคว้าด้วยตนเองทั้งผู้เรียนและครูผู้สอน ผู้เรียน และครูผู้สอนสามารถจัดทำ พัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเองหรือนาสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัวมาใช้ในการเรียนรู้ สื่อที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ มีอยู่หลายประเภท ได้แก่สื่อสิ่งพิมพ์ (Published) สื่อวัสดุอุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยี สื่อของจริง (Relies) และสื่อที่ใช้จริงในชีวิตประจาวัน(Authentic Material) ลักษณะของสื่อการเรียนรู้ที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ควรมีคุณภาพและหลากหลาย ทั้งสื่อของจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และสื่ออื่น ๆ ซึ่งช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างกว้างขวาง มีคุณค่า น่าสนใจ ชวนคิด ชวนติดตามเข้าใจได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวางลึกซึ้ง และต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อให้การใช้สื่อการเรียนรู้เป็นไปตามแนวการจัดการเรียนรู้ และ พัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
นับตั้งแต่ผู้วิจัยปฏิบัติหน้าที่การสอนภาษาอังกฤษโรงเรียนบ้านคลองหลวง พบว่าผู้เรียนทุกระดับชั้นมีปัญหาเรื่องการออกเสียงคำศัพท์ทำให้ขาดความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้าจึงได้คิดนำ ชุดแบบฝึกทักคำศัพท์ภาษาอังกฤษคล้องจองเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้ของคำศัพท์มากขึ้นและกล้าที่จะออกเสียงกล้าสื่อสาร ซึ่งมีความจำเป็นในชีวิตประจำวันและเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาระดับสูงต่อไป
ตอนที่ 2 จุดประสงค์/วัตถุประสงค์ของการดําเนินงาน
1. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองหลวง
2. เพื่อพัฒนาความสามารถด้านทักษะการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองหลวง
3. เพื่อปลูกฝังเจตคติที่ดีในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองหลวง
เป้าหมาย
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 16 คน สามารถอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ ร้อยละ 70
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 16 คน สามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารบอกความหมายของคําศัพท์ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 16 คน มีเจตคติที่ดีในการเรียนภาษาอังกฤษ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 70
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 16 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางด้านทักษะการการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษได้