ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคูซอด
ชื่อผู้วิจัย นางเพ็ญฉวี นนทะชาติ
ปีที่วิจัย 2565-2566
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านคูซอด 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านคูซอด 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารชุมชนแห่ง
การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตามแนวคิด การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านคูซอด และ 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านคูซอด
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2
การสร้างและการตรวจสอบรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ แบ่งเป็น ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนบ้านคูซอด จำนวน 8 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนบ้านคูซอด ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 38 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของการบริหาร แบบสัมภาษณ์ เอกสารประกอบการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องของรูปแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบ พบว่า สภาพปัจจุบันการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโรงเรียนบ้านคูซอด โดยรวมในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านหลักการกระจายอำนาจ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ด้านหลักการบริหารตนเอง และด้านหลักการมีส่วนร่วม ตามลำดับ และจากการสัมภาษณ์ พบ แนวทางและวิธีดำเนินงานเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยผู้บริหารส่งเสริมให้ครูในโรงเรียนมีการพัฒนาเทคนิคและวิธีการสอน ใหครูทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแกปญหาและพัฒนาผู้เรียน มีการนิเทศการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การสอนและรวมถึงการประสานงานกับผู้ปกครองเพื่อเฝ้าระวังและติดตามแกไขปัญหาโดยเนนการสงเสริมและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉพาะนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะไม่จบการศึกษาให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าเดิม
2. ผลการสร้างรูปแบบ พบว่า รูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านคูซอด มี 6 องค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ระบบสนับสนุน 4) กระบวนการดำเนินงาน 5) การประเมินผล และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ กระบวนการดำเนินงาน มี 5 ขั้นตอนโดยใช้ชื่อโมเดลว่า รูปแบบอะคิริ หรือ ACIRI Model ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นสร้างการรับรู้ (Awareness) ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative learning) ขั้นตอนที่ 3 ขั้นนำไปปฏิบัติ (Implementation) ขั้นตอนที่ 4 ขั้นสะท้อนผล (Reflection) และขั้นตอนที่ 5 ขั้นการทำให้ดีขึ้น (Improvement) และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรวม รูปแบบการบริหารมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านคูซอด พบว่า
3.1 นักเรียนโรงเรียนบ้านคูซอด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 77.44 ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 77.32 โดยสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.74 และสูงกว่าค่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 59.50 ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 51.70 โดยสูงขึ้นร้อยละ 15.09 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 35.36 ปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 32.30 โดยสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.47
3.2 ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่าโรงเรียนบ้านคูซอด มีผลการดำเนินงานหรือการปฏิบัติงาน โดยรวม ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การวัดและประเมินผล การนิเทศการเรียนการสอน และการบริหารจัดการหลักสูตร ตามลำดับ
3.3 นักเรียนโรงเรียนบ้านคูซอดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้จิตศึกษาพัฒนาปัญญาภายในโดยบูรณาการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านคูซอด พบว่า
4.1 รูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านคูซอด มีผลการประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านคูซอด โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด