ื่ื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอน B-PLAS เพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริม
ทักษะการอ่านและการเขียน รายวิชาภาษาไทย ร่วมกับชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
และการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป ตามมาตราตัวสะกด สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน นางนารี เปพาทย์
ปีที่ศึกษาค้นคว้า 2567
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอน B-PLAS เพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และส่งเสริมทักษะ
การอ่านและการเขียน รายวิชาภาษาไทย ร่วมกับชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเขียนคำที่
ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป ตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าหา 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและ
การเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป ตามมาตราตัวสะกดร่วมกับรูปแบบการสอน BPLAS ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับ
หลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเขียนคำ
ที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป ตามมาตราตัวสะกดร่วมกับรูปแบบการสอน B-PLAS 3) เพื่อ
ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบการสอน B-PLAS
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองที่มีต้อทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเขียนคำที่ประสม
ด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป ตามมาตราตัวสะกดร่วมกับรูปแบบการสอน B-PLAS กลุ่มเป้าหมายมี
จำนวน 13 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
ค้นคว้า มีชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป ตาม
มาตราตัวสะกดร่วมกับรูปแบบการสอน B-PLAS แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการ
จัดการเรียนรู้ในรูปแบบการสอน B-PLAS แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินทักษะการอ่าน
และการเขียนฉบับครูผู้สอนและผู้ปกครอง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยให้เด็กทำแบบทดสอบ
ก่อนเรียน และเรียนรู้ตามกิจกรรมที่กำหนดในแผนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบการสอน B-PLAS และ
ทำแบบทดสอบหลังเรียน ใช้ค่าสถิติที่ใช้ในการรายงานในครั้งนี้เป็น ใช้ค่าเฉลี่ย ( X ) ความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน S.D.และการทดสอบค่าที (t – test Dependent)ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและ
เปลี่ยนรูป ตามมาตราตัวสะกด ร่วมกับรูปแบบการสอน B-PLAS กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดทำขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์กำหนดไว้ คือ 80/80 ประสิทธิภาพ
E1/E2 = 87.23/88.72 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม
ส่งเสริมการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป ตามมาตราตัวสะกดร่วมกับ
รูปแบบการสอน B-PLAS กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อที่ 2
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบการสอน B-PLAS คะแนนหลัง
เรียนของนักเรียนมีค่าเพิ่มขึ้น แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นนั้น เป็นรูปแบบกสารจัดการ
เรียนรู้ที่เหมาะสม สามารถนำไปพัฒนาการเรียนรู้ หรือส่งเสริมการเรียนรู้ให้นักเรียนเข้าใจ
ในบทเรียนได้ สรุปโดยรวมมีค่าคะแนนเพิ่มขึ้น 0.6037 หรือร้อยละ 60.37 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน
ข้อที่ 3
4. ครูผู้สอน และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลด
รูปและเปลี่ยนรูป ตามมาตราตัวสะกดร่วมกับรูปแบบการสอน B-PLAS จำนวน 13 คน มีค่าคะแนน
เท่ากับ 4.73 เมื่อเทียบกับค่าคะแนนมาตราส่วนประมาณค่าแล้ว มีความพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่ง
เป็นไปตามสมมุติฐานข้อที่ 4