ชื่อวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับ
ชีวิตจริงและการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางวิลาวัลย์ วงศ์บา
ปีที่วิจัย 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัด การเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงและการเรียนรู้เชิงรุก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงและการเรียนรู้เชิงรุก 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง และการเรียนรู้เชิงรุก และ 4) เพื่อปรับปรุงและเผยแพร่รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงและการเรียนรู้เชิงรุก วิธีดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนอนุบาลวัดพระโต อำเภอเมืองศรีสะเกษ
จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) แบบบันทึกสนทนากลุ่ม 4) คู่มือการใช้รูปแบบ 5) แผนการจัดการเรียนรู้ 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 7) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และ 8) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงและการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ พบว่า จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอน แนวทางในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ได้แก่ ผู้เรียนควรเรียนรู้และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพราะถ้าผู้เรียนได้เรียนรู้และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ผู้เรียนจะมีความรู้ความเข้าใจที่คงทนกว่าการสอนแบบท่องจำ และเป็น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เเรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะใช้ความรู้ความเข้าใจ การแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น และจากการสอบถามความต้องการนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับ ชีวิตจริงและการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย
1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล และ 5) ระบบสังคมและหลักการตอบสนอง โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 ขั้นเชื่อมโยงความจริง ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปความรู้ และขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ และผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับ ชีวิตจริงและการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ พบว่า
3.1 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงและการเรียนรู้เชิงรุก มีคะแนนเฉลี่ยทักษะกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์หลังเรียน 12.48 คิดเป็นร้อยละ 83.23 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงและการเรียนรู้เชิงรุก มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงและการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด
4. ผลการปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการบันทึกข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การจัดการเรียนรู้ลงในคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และผลการเผยแพร่รูปแบบการจัด การเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้านของการประเมิน