กระทรวงศึกษาธิการเล็งเห็นความสําคัญของการยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยมีนโยบายให้ทุกหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องให้ความสําคัญกับการจัดการศึกษาที่มีระบบ เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนไปสู่ความเป็นพลเมืองที่พร้อมสมบูรณ์สามารถดํารงตนในสังคมอย่างปกติสุข
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขับเคลื่อนจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่การปฏิบัติ ซึ่งสพฐ. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกําหนดเป็นนโยบายสําคัญให้นักเรียนทุกระดับชั้นอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้ เพื่อเป็นการวางรากฐานสําคัญในการเรียนรู้ระดับสูงต่อไปและเพื่อให้การดําเนินการจากนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษารวมทั้งสถานศึกษาสามารถดําเนินงานได้ไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องตามบริบท
สภาพของท้องถิ่นและสภาพปัญหาของพื้นที่ ซึ่งสิ่งสําคัญที่สุดคือโรงเรียน และคณะครูทุกคน นับเป็นหัวใจสําคัญในการขับเคลื่อนให้นโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้ นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถ เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้วย
จากเหตุผลดังกล่าวทําให้เห็นถึงความจําเป็นของการพัฒนาให้นักเรียนมีสมรรถนะในการอ่านออกเขียนได้
จึงได้มีนโยบาย โครงการ และแนวปฏิบัติเพื่อที่จะทําให้นักเรียนทุกคนอ่านออกเขียนได้ หรือเป็นผู้รู้หนังสือ เพราะการที่มีนักเรียนไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ จะเป็นอุปสรรคขัดขวาง ต่อการพัฒนาคุณภาพของประชากรมากที่สุด ซึ่งประเทศไทยได้พยายามขจัดปัญหาการอ่านไม่ออกเขียน ไม่ได้ โดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ นโยบาย มาตรการ โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย ทั้งนโยบายระยะยาว และมาตรการเร่งด่วนทุกรัฐบาลที่ผ่านมา เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทุกคนมีสิทธิได้รับ การศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมและมีคุณภาพ
จะเห็นได้ว่าทุกภาคส่วนล้วนความความสําคัญยิ่งในการพัฒนา ส่งเสริมทักษะ และจัดกระบวนการเรียนรู้
ที่เน้นด้านทักษะการอ่านการเขียนให้แก่นักเรียน สถานศึกษา คณะครู จึงเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาระบบการศึกษา ผู้ดําเนินงานจึงศึกษาสภาพปัญหาการอ่านการเขียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่พนมทอง พบว่า มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ยังขาดทักษะทางด้านการอ่านและการเขียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หากไม่ได้รับแก้ไขหรือพัฒนา อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ได้ในระยะยาว ผู้ดำเนินงานจึงได้จัดทำนวัตกรรมมาตราตัวสะกด(ตรงมาตรา) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภายใต้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกันในห้องเรียนและเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสําคัญของสํานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ในเรื่องการอ่านออกเขียนได้ และเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยต่อไป