ชื่อผลงาน : การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยรูปแบบ GPAS 5 Steps โดยใช้กิจกรรมความสัมพันธ์เศษส่วนและทศนิยม
ผู้นำเสนอผลงาน : นางสาวจารุรินทร์ ทนยิ้ม
ความสำคัญของผลงานนวัตกรรม (Best Practice)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 หมวด 4 มาตราที่ 22 กำหนดไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ ทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด การจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ และมาตราที่ 24 ดังนี้ 1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 2) ฝึกทักษะ กระบวนการ คิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา 3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและ เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวเป็นความสามารถของผู้เรียนที่ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต เป็นการส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนรู้ด้วยสมอง ด้วยกาย และด้วยใจ สามารถสร้างองค์ความรู้ผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของ ตนเองและได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545)
การจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมาวิชาคณิตศาสตร์ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นบรรยายเนื้อหามากกว่าการจัดการเรียนรู้ที่ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นครูจึงมีบทบาทสำคัญในการจัดประสบการณ์และการสร้างบรรยากาศ ในการเรียนรู้ และการเลือกใช้นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมการเนื้อหา และความต้องการของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความพร้อมรวมทั้งสภาพแวดล้อม
จากการสำรวจข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ พบว่า ทศนิยมเป็นเนื้อหาที่ผู้เรียนมีความสับสน เข้าใจ เนื้อหายาก ซึ่งทศนิยมนั้นมีความสัมพันธ์กับเศษส่วน และความรู้เรื่องทศนิยมยังเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน แต่ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเนื้อหานี้ต่ำ จึงจำเป็นต้องหาแนวทาง ตลอดจนเครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อการสอน รวมทั้งนวัตกรรม มาประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความ เข้าใจในเนื้อหาอย่างถ่องแท้ ในการนี้จึงได้จัดทำสื่อประกอบการสอนเกี่ยวกับความสัมพันธ์เศษส่วนและทศนิยม เพื่อใช้ประกอบการสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ พัฒนาทักษะและยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ในรายวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป
นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยรูปแบบ GPAS 5 Steps โดยใช้กิจกรรมความสัมพันธ์เศษส่วนและทศนิยม (Active Learning Management though GPAS 5 Steps by using Fractions and Decimals Relationship Activities) นวัตกรรมนี้ได้มีกิจกรรมให้นักเรียนทำหลายกิจกรรมเพื่อกระตุ้นนักเรียนให้เกิดการใฝ่เรียนรู้ สนุกสนานไปกับเกม นักเรียนทุกคนใน ชั้นเรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ สนุกคิด การทำงานเป็นทีม ทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ มีความสุขในการเรียนรู้ ตลอดจนเชื่อมโยงและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้