วิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice )
โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
ชื่อผลงาน การพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ
“3 M-INEC”
ชื่อเจ้าของผลงาน โรงเรียนบ้านโนนระเวียง ตำบลบึงพะไล อำเภอแก้งสนามนาง จังวัดนครราชสีมา
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา ๒๕๖๗
๑. ความเป็นมาและความสำคัญ
ปัจจุบันภัยจากยาเสพติดและภัยจากความรุนแรง หรือภัยจากอบายมุขต่าง ๆ ได้ขยายตัวลุกลามเข้าไปในรั้วโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของกลุ่มนักเรียน พบปัญหาที่สถานศึกษามีปัญหาของพฤติกรรมที่จัดอยู่ใน ระดับต้น ๆ เป็นจำนวนมาก ได้แก่ ปัญหาการดื่มสุรา สูบบุหรี่ ปัญหาชู้สาว ปัญหาสื่อลามก ปัญหาหนีเรียน ปัญหาทะเลาะวิวาท ปัญหาติดเกม ปัญหาติดการพนัน ปัญหาฟุ่มเฟือย และวัตถุนิยมเกินฐานะ
จากปัญหาในสถานศึกษานำไปสู่ปัญหาระดับชาติที่ทุกฝ่ายต้องเข้ามาช่วยกันแก้ไข คือ ปัญหายาเสพติด ปัญหาชู้สาวซึ่งนำไปสู่การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และอีกหลากหลายปัญหาที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงและต้องเฝ้าระวังทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ ได้แพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ผลกระทบได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเมืองและความมั่นคงของชาติ รัฐบาลจึงได้กำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา ภาพความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมตามความมุ่งหวังนั้น ตองอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวของทุกฝ่าย โดยเฉพาะบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในโรงเรียน ซึ่งมีครูเป็นหัวใจหลักสำคัญในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้เติบโตอย่างงดงามและเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคม
เพื่อการตอบสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนบ้านโนนระเวียงจึงดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยการจัดกิจกรรมและโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
ที่ส่งเสริมนักเรียนให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข เกิดเป็นนวัตกรรมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ “การพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ 3 M-INEC” ซึ่งได้อาศัยความร่วมมือจากผู้ที่มี
ส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในสถานศึกษาที่เป็นกำลังสำคัญในการดูแลนักเรียนในโรงเรียนให้พ้นจากภัยของยาเสพติดและมีความปลอดภัยในชีวิต เพื่อที่จะให้นักเรียนเหล่านั้นซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเมือง เติบโตด้วยชีวิตที่งดงามและเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคม ซึ่งการพัฒนานักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา มีความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรม ดำเนินชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษาที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ สถานศึกษาจัดกิจกรรมและกระบวนการการส่งเสริมการจัดการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการให้เยาวชนเป็นคนเก่ง คนดี และสามารถดำรงตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนได้รับกระบวนการเรียนรู้แล้ว การป้องกันและการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษาที่มีพฤติกรรมไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและอบายมุข ต้องเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยง เป็นการสร้างนิสัยให้นักเรียนมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม และสามารถดูแลตนเองในสังคมได้ เมื่อนักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมก็จะนำความรู้ไปใช้ในทางที่ดี ไม่สร้างความเดือดร้อน เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก
๒. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๒.๑ วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
๑) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและอบายมุข มีทักษะและวิธีการป้องกัน
ให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข
๒) เพื่อปลูกฝังนักเรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมและระเบียบวินัย มีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการป้องกัน
และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่สถานศึกษาจัดขึ้น
๒.๒ เป้าหมายของการดำเนินงาน
เชิงปริมาณ
๑. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ จำนวน ๑๖๘ คน มีความรู้ ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและอบายมุข มีทักษะและวิธีการป้องกันให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข
๒. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ จำนวน ๑๖๘ คน มีคุณธรรม ระเบียบวินัย มีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการ
ปองกันปัญหายาเสพติด สื่อลามกอนาจาร ปจจัยเสี่ยงการติดเกม และการทะเลาะวิวาทในโรงเรียน
๓. ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านโนนระเวียง ร้อยละ ๑๐๐ สามารถจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่นๆ ตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ตามแนวทางการพัฒนาสถานศึกษา
สีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ “3 M-INEC”
เชิงคุณภาพ
๑. นักเรียนมีความรู้ ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและอบายมุข มีทักษะและวิธีการป้องกัน
ให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข
๒. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และระเบียบวินัย มีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการป้องกันปัญหายาเสพติด
สื่อลามกอนาจาร ปัจจัยเสี่ยงการติดเกม และการทะเลาะวิวาทในโรงเรียน
๓. ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านโนนระเวียง สามารถจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่นๆ ตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ตามแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว
ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ “3 M-INEC”
๓. ขั้นตอนการดำเนินงาน
๓.๑ กระบวนการการดำเนินงาน
โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านโนนระเวียง ได้ดำเนินการตามกระบวนการบริหารจัดการที่ปรับประยุกต์ขึ้น โดยใช้นวัตกรรมการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) คือ “การพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ 3 M-INEC” ด้วยจากสถานการณ์ปัจจุบันที่เด็ก เยาวชน และนักเรียน มีความสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดหรือสิ่งยั่วยุต่าง ๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโนนระเวียงจึงได้กำหนดแนวทางการป้องกันและพัฒนาคุณภาพชีวิตและทักษะของนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน ดังนี้
๑. โรงเรียนบ้านโนนระเวียง ชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และกลุ่มภาคีเครือข่าย ร่วมกันวิเคราะห์สภาพ
ปัญหาและสถานการณ์ยาเสพติด ความรุนแรง อาชญากรรม หรือปัจจัยเสี่ยง เพื่อสร้างความตระหนักของ
ปัญหาและร่วมกันหาแนวทางการแก้ไข
๒. โรงเรียนศึกษานโยบายและแนวทางการดำเนินงานด้านการศึกษาของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติที่มี
ความสอดคล้องตามแนวคิดการจัดการศึกษาแผนการศึกษาแห่งชาตินโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานต้นสังกัด ประชุมชี้แจงคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน เพื่อรับทราบนโยบายการ
ดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ภายใต้นวัตกรรม “การพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ 3 M-INEC”
๓. ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมลงสู่ตัวนักเรียนตามขั้นตอนของนวัตกรรมที่ออกแบบไว้ โดยเน้น
นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเป็นสำคัญ
๔. ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครู ดำเนินการตามนโยบายที่วางแผนไว้อย่างเป็นระบบ โดยประชุม
คำสั่งและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบส่วนต่าง ๆ การดำเนินกิจกรรม การติดตามผลและ
ประเมินผล ตลอดจนการสรุปผลการดำเนินกิจกรรม/โครงการ และรายงานผลการปฏิบัติต่อผู้บริหารทราบ
จัดประชุมรายงานผลการดำเนินงานและเสนอแนะปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรม เพื่อนำไปเป็น
แนวทางในการแก้ไขและพัฒนากิจกรรม/โครงการ ของปีการศึกษาถัดไป
๕. สถานศึกษาจัดให้มีการอบรมและพัฒนาความรู้ของครูและบุคลากร นักเรียนแกนนำ ให้มีความรู้
ตามกรอบการดำเนินงาน ขยายองค์ความรู้สู่นักเรียนทุกคนในโรงเรียนตามนวัตกรรมการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ 3 M-INEC
๖. ติดตามผล ประเมินผล วิเคราะห์ผล และอภิปรายผลจากการดำเนินงานระหว่างครู บุคลากร และ
นักเรียนแกนนำ โดยนำปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินกิจกรรมมาอภิปราย สู่การพัฒนา ปรับปรุง และ
แก้ไขตามลำดับ
๓.๒ ขั้นตอนการดำเนินงาน/กระบวนการพัฒนา
๓.๒.๑ การวางแผนการดำเนินงาน (P : Plan)
การวางแผนการดำเนินงานเป็นแบบองค์รวมเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติดและอบายมุข ขั้นตอนการดำเนินงานได้ประยุกต์ ใช้หลักการบริหารจัดการศึกษา โดยใช้หลักความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ซึ่งหลักความ
ร่วมมือ (Cooperation) หมายถึง ความเต็มใจของแต่ละคนในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายใด
เป้าหมายหนึ่งขององค์การหรือหน่วยงาน ความร่วมมือเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้วยความสมัครใจ แม้จะไม่มีหน้าที่โดยตรง อาจจะทำเรื่องเดียวกันในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลาก็ได้ แม้กระทั่งอาจให้ความร่วมมือทำบางเรื่องบางเวลา การมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบปฏิบัติด้วยความสามัคคี สมานฉันท์และมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อให้ทุกๆฝ่ายร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ขับเคลื่อนให้ตรงกับวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์กร ที่สำคัญต้องรับรู้ว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มตามโครงสร้างที่มีอยู่ในองค์กร และผู้ปฏิบัติงานต่างก็เกิดความพอใจในการทำงานนั้นด้วย ซึ่งนำไปสู่แนวคิดรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ
“3M-INEC” ซึ่งโรงเรียนบ้านโนนระเวียงดำเนินการ ดังนี้
๑. จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง องค์กรต่าง ๆ และบุคลากร
ภายในโรงเรียน เพื่อชี้แจงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของการจัดทำนวัตกรรมรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้ภาคีเครือข่าย ตลอดจนร่วมเสนอแนวทางในกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรม ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมโดยเน้นการมีส่วนร่วม
๒. แต่งตั้งคณะทำงาน และจัดให้มีการประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานและเตรียมการจัดกิจกรรมต่างๆ
๓. ประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เว็บบล็อกของโรงเรียน ป้ายประชา-สัมพันธ์ จดหมายข่าวถึงผู้ปกครอง หนังสือเชิญหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ
๔. ดำเนินงานตามกิจกรรม ดังต่อไปนี้
M1 = Management คือ การบริหารจัดการความรู้ สารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ เป็นเนื้อหา
ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หลักการ รูปแบบ กรอบความคิด เกี่ยวกับยาเสพติด และการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดให้โทษ
“ยาเสพติด” หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มการเสพมากขึ้น มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา ทำให้สุขภาพทั่วไปทรุดโทรม ยาเสพติดรวมถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตัวอย่างที่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมาย ได้แก่ เฮโรอิน แอมเฟตตามีน และอนุพันธ์บางตัว เช่น ฝิ่น กัญชา มอร์ฟีน และ เมทาโดน
M2 = Moral คือ คุณธรรม เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งแต่ละกิจกรรมจะปลูกฝัง
คุณธรรมให้กับนักเรียนอันเป็นพื้นฐานสำคัญ เพื่อให้ปลอดจากยาเสพติด และอบายมุขต่างๆ รวมไปถึงการปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยมุ่งเน้นคุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ ได้แก่ ขยัน ประหยัด
ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี และมีน้ำใจ
M3 = Model คือ เป็นแบบอย่างที่ดี มีการส่งเสริมเชิงสร้างสรรค์ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และมีคุณธรรมผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อปลูกฝังป้องกันและสร้างภูมิคุมกันที่ดีให้กับนักเรียนด้วยการเรียนรู้จากการลงมือกระทำ จากการปฏิบัติจริงของนักเรียน โดยมีผู้บริหาร คณะครู และผู้ปกครองเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นผู้ให้การแนะนำสั่งสอน ฝึกฝนอบรม เป็นการสร้างนิสัยให้นักเรียนมีนิสัยใฝ่รู้
ใฝ่ทำดี และใฝ่รักษาสุขภาพ เมื่อ นักเรียนมีคุณธรรมหรือคุณลักษณะที่ดีย่อมไม่นำความรู้ไปใช้ในทางมิชอบ ไม่สร้างความเดือดร้อนเบียดเบียน ตนเองและผู้อื่นและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
I =Intergration คือ การบูรณาการ การผสมผสานกระบวนการเรียนรู้กับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม โดยผ่านการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ๘ กลุ่มสาระ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ได้แก่
๑)กิจกรรมการเล่นกีฬา กิจกรรมแข่งขันกีฬาภายใน/กีฬาภายนอกโรงเรียน
๒)ส่งเสริมการสร้างอาชีพเสริม
- ทำอาหาร ขนม
- การทำบายศรี
- การจักสาน
- การปลูกผักปลอดสารพิษ
๓) กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม
N = Network คือ การสร้างเครือข่าย โรงเรียนมีการสร้างเครือข่ายและทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมระหว่างผู้บริหาร สถานศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนสีขาวให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนี้
๑. โรงเรียนบ้านวังโพน
๒. โรงเรียนบ้านหลุบกุง
๓. โรงเรียนบ้านหนองเต่า
๔. สถานีตำรวจภูธรอำเภอแก้งสนามนาง
๕. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนระเวียง
๖. องค์การบริหารส่วนตำบลบึงพะไล
๗. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านโนนระเวียง (ผู้แทนชุมชน)
E = Environment คือ สิ่งแวดล้อม การจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน ไมมีพื้นที่เสี่ยง มีแหล่งเรียนรูทางวิชาการ เช่น จัดบอร์ด จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือวารสาร จดหมายข่าว ที่มีความรูเกี่ยวกับ
ยาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ การตั้งครรภก่อนวัยอันควร อุบัติภัยและอบายมุข นำสถานการณข่าวสารทุกด้านมาเสนอให้เพื่อนนักเรียนรับฟัง
C = Cooperation คือ ความร่วมมือในการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง ผู้บริหารโรงเรียนกับผู้นำชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน สถานีตำรวจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้ง ผู้ปกครอง คณะครูและนักเรียน ในการร่วมกันขับเคลื่อนโครงการ เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์อันมุ่งมั่น และความตั้งใจที่จะร่วมกันดำเนินการแกไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรม
๓.๒.๒ การปฏิบัติงานตามแผน (D : Do)
เป็นขั้นตอนที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกส่วนต้องลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้อย่างมีระบบเป็น
ขั้นตอน โดยส่งเสริมกระบวนการพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้ได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนได้กำหนดขึ้นตามแนวทางการดำเนินกิจกรรมที่วางไว้ ดังนี้
๑) ผู้บริหาร คณะครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นำแผนการดำเนินงานที่วางไว้ตามนโยบายทางการศึกษาของโรงเรียน โดยเริ่มจากการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อจัดทำแผนการปฏิบัติกิจกรรมหรือกำหนดการ การติดตามผลและประเมินผล สรุปและรายงานการดำเนินกิจกรรมตามลำดับ เพื่อนำเสนอฝ่ายงบประมาณในการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมและคุ้มค่าต่อนักเรียน เสนอแนะปัญหาอุปสรรค เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
๒) ฝ่ายบริหารทั่วไป งานอาคารสถานที่ และคณะครูทุกท่านมีส่วนร่วมในการพัฒนาจัดบรรยากาศ
และห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เช่น ห้องคลินิกเสมารักษ์ บอร์ดนิเทศให้ความรู้แก่นักเรียนในโรงเรียน ฯลฯ
๓) การพัฒนาองค์ความรู้ของครู บุคลากร และนักเรียนแกนนำทุกคน ในเรื่องการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข การมีความรู้ด้านสิ่งเสพติดหรืออบายมุขต่าง ๆ แนวทางการให้คำปรึกษากับผู้มาใช้บริการ เป็นต้น
๔) การจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยบูรณาการการจัดการเรียนรู้พร้อมสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และปลูกฝังการป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดและอบายมุข ร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างหลากหลายให้ภูมิคุ้มกันตนเองจากยาเสพติด ดังนี้
๔.๑) กิจกรรมการเล่นกีฬา กิจกรรมแข่งขันกีฬาภายใน/กีฬาภายนอก เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๔.๒) กิจกรรมส่งเสริมการสร้างอาชีพเสริม เช่น การทำอาหาร ขนม การทำน้ำสมุนไพร การทำบายศรี การจักสาน และการปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นการบูรณาการการจัดการเรียนรู้โดยความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานต่างๆ มาให้ความรู้ ฝึกปฏิบัติ ให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
๔.๓) กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จัดกิจกรรมการสวดมนต์ นิมนต์พระสงฆ์มาสอนธรรมะ นั่งสมาธิ รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาในวันสำคัญ เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน
๔.๔) โครงการสถานศึกษาปลอดภัย สุขภาพอนามัยดี เป็นโครงการที่ต้องการให้นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต และรู้จักแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยจัดกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เช่น กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย กิจกรรมการแปรงฟัน การดูแลรักษาความสะอาดห้องน้ำห้องส้วม เป็นต้น
๔.๕) โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูประจำชั้นตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๒ – ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ ๖ ทุกห้องเรียน ดำเนินการคัดกรองนักเรียนและเยี่ยมบ้านนักเรียนในชั้นเรียนทุกคน ร้อยละ ๑๐๐ ส่งผลให้ครูรับทราบถึงพฤติกรรมของนักเรียน มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูและผู้ปกครอง สามารถพูดคุยและแก้ปัญหาของ
นักเรียนร่วมกันได้ตรงจุด
๔.๖) โครงการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในสถานศึกษา นักเรียนได้รับความรู้เรื่องยาเสพติด การดูแลสุขภาพ จากสถานีตำรวจภูธรแก้งสนามนาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนระเวียง และองค์การบริหารส่วนตำบลบึงพะไล
๓.๒.๓ การตรวจสอบ (C : Check)
คือ ขั้นตอนการตรวจสอบผลที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ รวมทั้งกระบวนการในการแก้ปัญหา ติดตามผล ประเมินผล และวิเคราะห์อภิปรายผล โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และอภิปรายผล รวมทั้งฟังเสียงสะท้อนจากนักเรียนเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อสามารถนำไปเป็นข้อมูลสำหรับการจัดกิจกรรมในปีการศึกษาถัดไป
๓.๒.๔ การปรับปรุงผลการดำเนินงาน (A : Action)
เป็นขั้นตอนที่ดำเนินการภายหลัง ๓ ขั้นตอนแรกของวงจรได้ดำเนินการเสร็จสิ้น เริ่มจากการนำผลจากการตรวจสอบมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์และอภิปรายผล สรุปประเมินผล ปรับประยุกต์กิจกรรมให้สอดคล้องกับรูปแบบ 3 M-INEC ที่ได้วางแผนไว้ เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติโครงการหรือกิจกรรม ตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียน
๓.๓ ขั้นตอนการพัฒนา
โรงเรียนบ้านโนนระเวียง ได้ดำเนินการโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้นำกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ในสถานศึกษามาบูรณาการร่วมกับการบริหารจัดการโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ตามยุทธศาสตร์ ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกัน ด้านการค้นหา ด้านการรักษา ด้านการเฝ้าระวัง และด้านการบริหารจัดการ ตามแนวคิดการมีความรู้คู่คุณธรรม เมื่อนักเรียนมีความรู้และมีการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม หรือการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ปลูกฝังและส่งเสริมกระบวนการดังกล่าวแล้วนั้น จะช่วยให้การดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นสถานศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุขอย่างยั่งยืน จึงได้ดำเนินการตามรูปแบบและกระบวนการบริหารสู่ความสำเร็จจนได้เกิดเป็น “3 M-INEC Model”
๔. ผลการดําเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชนที่ไดรับ
๔.๑ ผลสำเร็จของการดำเนินงานที่เกิดจากการนำไปใช้
๑) โรงเรียนบ้านโนนระเวียงมีแนวทางในการดำเนินงานและเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และ แก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข ทำให้นักเรียนทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงพิษภัยและผลเสียที่ เกิดกับร่างกาย รวมทั้งมีทักษะและวิธีการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข จากกระบวนการบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนกับกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมทั้งความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สู่การพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข ภายใต้รูปแบบ “3 M-INEC”
๒) นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และระเบียบวินัย มีภูมิคุ้มกันที่ดีจากการได้รับการปลูกฝังในการ ป้องกันตนเองและมีจิตสำนึกที่ดีสามารถมองเห็นถึงปัญหาและโทษของยาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะแก้ไขปัญหาผ่านการบูรณาการโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ที่สถานศึกษาจัดขึ้น ร่วมกับหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก
๓) ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านโนนระเวียงได้รับส่งเสริมและพัฒนา สามารถจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่นๆ ตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ตามแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ “3 M-INEC”
๔. ผลการดําเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๒ ประโยชน์ที่ได้รับจากผลงาน
๑) โรงเรียนบ้านโนนระเวียงได้รับความร่วมมือและมีเครือข่ายในการร่วมกันเฝ้าระวัง ป้องกัน และ แก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข ทั้งจากโรงเรียน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ตัวแทนผู้เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน โดยใช้รูปแบบการดำเนินงาน “การพัฒนาสถานศึกษา
สีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ 3 M-INEC”
๒) โรงเรียนมีแบบแผนและขั้นตอนในการบริหารจัดการโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม เกิดการสรรสร้างนวัตกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนกระบวนการดำเนินงานให้ สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๓) นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ มีความรู้และความเข้าใจจากการเข้าร่วมและลงมือปฏิบัติกิจกรรมใน โครงการต่าง ๆ ของโรงเรียนในรูปแบบที่หลากหลาย ฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม การอยู่ร่วมกันในสังคม การเฝ้าระวัง และการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด จนสามารถดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการดำเนินงานตามกระบวนการ “การพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ 3 M-INEC” ภายใต้กระบวนการวงจรคุณภาพ หรือ PDCA
๔) นักเรียนทุกคนมีบทบาหน้าที่ในการร่วมกันเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดและ อบายมุขในสถานศึกษาและมีจิตสำนึกในการดูแลชุมชนของตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดและบายมุข ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ จนนักเรียนทุกคนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดีเกิดขึ้นกับตัวนักเรียน
๕) นักเรียนนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ ต่อยอดเป็น
ความสามารถของนักเรียนเองและเผยแพร่ความรู้ความสามารถจนเป็นที่ประจักษ์และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ นักเรียนในโรงเรียนได้ เช่น กิจกรรมโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข การแข่งขันดนตรีพื้นบ้าน ได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันทำอาหารน้ำพริก ผักสด การแข่งขันงานบายศรีปากชาม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ การแข่งขันงานจักสาน ได้รับรางวัลเหรียญทอง และการแข่งขันแอโรบิก ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน ในการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๗๒ นอกจากนั้นยังเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬาในระดับเขตพื้น ได้รับรางวัลชนะเลิศรางวัลชนะเลิศ วิ่งผลัด ๕๐ เมตรอนุบาล และในระดับศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก้งสนามนาง ๓ ได้รับรางวัลชนะเลิศรางวัลชนะเลิศ ฟุตบอลอนุบาล วิ่ง ๑๐๐ เมตรหญิง รุ่นอายุ ๙ ปี
วิ่ง ๑๐๐ เมตรชาย รุ่นอายุ ๑๒ ปี และชนะเลิศวิ่ง ๑๕๐๐ เมตรหญิง รุ่นอายุ ๑๒ ปี เป็นต้น
๖) ผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านโนนระเวียง มีกระบวนการ ดำเนินการในการพัฒนาสถานศึกษาและวางรากฐานให้กับนักเรียนอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน จนเป็นที่ยอมรับของชุมชนโดยรอบ โดยใช้กระบวนการพัฒนางานอย่างมีคุณภาพตามวงจรคุณภาพ PDCA มีการกำกับ นิเทศ และติดตามการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
๕.๑ ผู้บริหารโรงเรียน มีการวางแผน มีการบริหารจัดการที่ดี มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผล ส่งเสริม การมีสวนร่วม ในการปฏิบัติงานทุกกจิกรรม
๕.๒ ครูที่ปรึกษาแต่ละห้อง ให้ความสำคัญ ตระหนักในบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้ความช่วยเหลือและดูแลนักเรียนในที่ปรึกษาตนเองในเรื่องของ วินัย ความประพฤติ มีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียน และพร้อมที่จะพัฒนานักเรียนในที่ปรึกษาทุกคน ตามความถนัดและความสามารถของนักเรียนแต่ละคน
๕.๓ นักเรียนแกนนำ ๔ ฝ่าย เข้าใจบทบาท หน้าที่ในภารกิจและดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อขับเคลื่อน
กลยุทธ์ทั้ง ๔ ด้าน ของกิจกรรมห้องเรียนสีขาว มีการประชุมวางแผน มอบหมายงาน ดำเนินกิจกรรมตามแผน ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงาน และมีการนำข้อผิดพลาดหรือข้อที่ควรปรับปรุงมาปรับแก้ในกิจกรรมต่อไป
๕.๔ ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการดูแลบุตรหลานของตนเองเป็นอย่างดี ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการเพื่อบรรลุตามเป้าหมาย และจุดประสงค์ของกิจกรรม เช่น การประชุมผู้ปกครอง การสนับสนุนกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ เช่น กิจกรรมวันเด็ก กิจกรรมวันสุนทรภู่ กีฬาสีภายใน เป็นต้น
ในการสอดส่องดูแลนักเรียน และทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
๕.๕ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้นำหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความร่วมมือและ สนับสนุนกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นเพื่อพัฒนานักเรียนทุกๆ ด้าน เช่น กิจกรรมด้านวิชาการ กิจกรรมด้านการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมการตรวจคัดกรองสุขภาพ ให้ความรู้ ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและ
อบายมุข เป็นต้น
๕.๖ โรงเรียนเครือข่ายให้ความร่วมมือ มีสวนร่วม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการขับเคลื่อนและพัฒนา ตาม โครงการโรงเรียนสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข เป็นอย่างดี
๖. บทเรียนที่ไดรับ
๖.๑ ข้อสรุป
การดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ด้วยการบูรณาการกิจกรรมที่ เสริมสร้างความรู้ ควบคู่คุณธรรม และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทำให้นักเรียนมีทักษะและการป้องกันตนเอง มีความรู้เรื่องยาเสพติด รู้จักการป้องกัน หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ รวมทั้งความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติกิจกรรมที่สร้างสรรค์ตามความถนัดและความสนใจของนักเรียน สร้างความเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจ เลือกปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องที่สอดคล้องกับวัยของนักเรียน รู้จักคิดและแก้ไขปัญหา ด้วยตัวของนักเรียนเอง
ในการปฏิบัติกิจกรรม/โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยการใชรูปแบบ
“3 M-INEC ” เป็นการเสริมสร้างความรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ เข้าใจตนเอง และยอมรับผู้อื่น มีทักษะและพฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่ดีเกิดขึ้นกับตัวนักเรียน โดยเน้นกิจกรรม ที่เสริมสร้างทักษะให้นักเรียนมีส่วนร่วม และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การใช้กิจกรรมถือเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีอีกวิธีหนึ่ง เพราะนักเรียนจะเกิดการเรียนรู้และได้แสดงออกทางพฤติกรรม และความคิดอย่างสร้างสรรค์จากการพัฒนานวัตกรรมทางการเรียนรู้ที่เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างสูงสุด
๖.๒ ข้อเสนอแนะ
๑) สถานศึกษาต้องพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการอบรม มีความรู้ที่ทันต่อ เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม
๒) มีการดำเนินการกิจกรรม/โครงการอย่างเป็นระบบ หมั่นตรวจสอบ ติดตามผล และประเมินผล อย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำข้อผิดพลาดมาปรับใช้ในการกิจกรรม/โครงการในครั้งต่อไป
๓) ส่งเสริมให้คณะครูผู้สอนนำกิจกรรมการเรียนรู้ไปบูรณาการและปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สอดคล้องกับระดับชั้นการศึกษาของนักเรียน
๔) การนำความรู้ไปเผยแพร่ต่อสังคมและชุมชนที่เกี่ยวข้องที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลอื่น เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงและทันต่อสังคมปัจจุบัน