ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ทางธุรกิจด้วยแนวคิด 6 รู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น
ผู้วิจัย นางญาณิน นุรังษี
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทาง
ในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ทางธุรกิจด้วยแนวคิด 6 รู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ทางธุรกิจด้วยแนวคิด 6 รู้
เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนรู้ทางธุรกิจด้วยแนวคิด 6 รู้
เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและ
ความต้องการ 2) แบบสังเคราะห์เอกสาร 3) แบบประเมินร่างรูปแบบการเรียนรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญ
4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ผู้ประกอบการรุ่นจิ๋ว จำนวน 30 ข้อ 5) แบบประเมินความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ จำนวน 15 ข้อ 6) แบบประเมินโครงงานธุรกิจของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ 7) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 15 ข้อ 8) แบบประเมิน
รูปแบบการเรียนรู้ จำนวน 40 ข้อ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก
เขต 2 จำนวน 19 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
บ้านห้วยไม้แป้น พบว่า
1.1 สภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ พบว่า ด้านที่มีสภาพปัญหามากที่สุด คือ
ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ และด้านที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ ด้านสภาพแวดล้อม เมื่อพิจารณาใน
แต่ละด้าน พบว่า ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม ขาดแนวทาง/วิธีการสอนที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ ปัญหาด้านครูผู้สอน พบว่า ครูขาดความคิดสร้างสรรค์ต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับนักเรียน ปัญหาด้านผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนมีความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ต้องการมีรายได้เสริมเพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัว ปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่า ขาดการบูรณาการทักษะผู้ประกอบการกับเนื้อหาวิชา มีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในการทำโครงงานน้อย และขาดการสอนทักษะการวางแผนและจัดการให้เหมาะกับวัยของผู้เรียน ปัญหาด้านผู้บริหาร พบว่า มีการสนับสนุนทรัพยากรหรืองบประมาณในการดำเนินโครงงาน ผู้บริหารส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อการมีอาชีพ มีงานน้อย ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้
เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
บ้านห้วยไม้แป้น ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
1.2 ความต้องการในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีความต้องการมากที่สุด คือ มีการหาตลาดรับซื้อผลผลิตของนักเรียน และข้อที่มีความต้องการน้อยที่สุด คือ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ได้แก่ ควรส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำธุรกิจจริง ๆ
ฝึกเรียนรู้จากการทำงานจริง ๆ ให้นักเรียนได้ทำการค้าขายด้วยตนเอง โรงเรียนควรสนับสนุนเงิน
ให้นักเรียนในการทำโครงงาน ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การจัดการเรียนรู้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ งบประมาณในการทำงาน การมีตลาดรับซื้อของที่นักเรียนทำขาย นักเรียนมีความรู้ในเรื่องที่ทำ ความสามารถสำคัญของการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้แก่
การมีความรู้ในด้านธุรกิจ ความซื่อสัตย์ และขายของเป็น
1.3 แนวทางในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น พบว่า
1.3.1 องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) จุดประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) การจัดระบบ และ 5) การวัดและประเมินผล
1.3.2 ความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถม- ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น มี 5 ด้าน ดังนี้ 1) มีความคิดสร้างสรรค์ 2) มีความมุ่นมั่น ตั้งใจ 3) มีความเชื่อมั่นในตนเอง 4) มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องธุรกิจ และ 5) มีจริยธรรมทางธุรกิจ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ทางธุรกิจด้วยแนวคิด 6 รู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น พบว่า
2.1 รูปแบบการเรียนรู้ทางธุรกิจด้วยแนวคิด 6 รู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น
เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ภายใต้แนวคิด 6 รู้ เรียกว่า K-SMART Model ประกอบด้วย 6 รู้ ได้แก่ 1) รู้เขา (Know Market) 2) รู้เรา (Self-Knowledge) 3) รู้วางแผน (Make Plans) 4) รู้ทำ (Act & Apply) 5) รู้พัฒนา (Refine & Review) และ 6) รู้รับผิดชอบ (Take Responsibility)
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการผ่านการลงมือปฏิบัติจริง มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นสร้างประสบการณ์ 2) ขั้นวิเคราะห์และวางแผน
3) ขั้นปฏิบัติและเรียนรู้ 4) ขั้นประเมินและพัฒนา และ 5) ขั้นสรุปและประยุกต์ใช้
2.2 ร่างคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย คู่มือการใช้รูปแบบ
การเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 19 แผน และเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ผู้ประกอบการรุ่นจิ๋ว จำนวน 1 เล่ม
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ทางธุรกิจด้วยแนวคิด 6 รู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น พบว่า
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ทางธุรกิจด้วยแนวคิด 6 รู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
บ้านห้วยไม้แป้น ปีการศึกษา 2566 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ โดยได้เกณฑ์ประสิทธิภาพเท่ากับ 86.24/80.88
3.2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้ทางธุรกิจด้วยแนวคิด 6 รู้
เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น ปีการศึกษา 2566 มีค่าเท่ากับ 0.7434 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7434 หรือคิดเป็นร้อยละ 74.34
3.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ทางธุรกิจด้วยแนวคิด 6 รู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น ปีการศึกษา 2566 สูงกว่าก่อนเรียน และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.4 ผลการประเมินความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนชั้นประถม- ศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ทางธุรกิจด้วยแนวคิด 6 รู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่
มีจริยธรรมทางธุรกิจ ส่วนด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ
3.5 ผลการประเมินโครงงานธุรกิจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น ปีการศึกษา
2566 มีผลการประเมินโครงงาน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 87.32 คุณภาพอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม
3.6 ผลการประเมินความพึงพอใจ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ทางธุรกิจด้วยแนวคิด 6 รู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ
โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้ทางธุรกิจด้วยแนวคิด 6 รู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
บ้านห้วยไม้แป้น พบว่า มีความเหมาะสมในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีผลการประเมินมากที่สุด ได้แก่ ด้านผลผลิต ส่วนด้านที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม
คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนรู้, ธุรกิจ, แนวคิด 6 รู้, ความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการ,
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6