รายงานการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามบริบทของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามบริบทของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 2) เพื่อสร้างการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามบริบทของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ตามบริบทของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 4) เพื่อประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ตามบริบทของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา โรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ และ 2) แบบสอบถาม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ในแต่ละศูนย์พัฒนาวิชาการ จำนวน 22 คน และ 2) ครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็ก ในแต่ละศูนย์พัฒนาวิชาการ จำนวน 22 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่และร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นสร้างและการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามบริบทของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ แบบบันทึกการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 2) ผู้บริหารหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 12 คน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามบริบทของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ 1) แบบติดตามตรวจสอบและประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก 2) แบบติดตามการประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก และ 3) แบบติดตามและประเมินผลวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) ผู้บริหารการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำนวน 3 คน 2) คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำนวน 7 คน 3) ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพวิชาการ จำนวน 22 คน และ 4) ศึกษานิเทศก์ จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 102 คน และ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 102 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่และร้อยละ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามบริบทของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบประเมินรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาและรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 86 คน 2) ครูที่ทำหน้าที่สอนโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 102 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย 3) คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัด จำนวน 102 คน และ 4) ผู้ปกครองนักเรียนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัด จำนวน 102 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามบริบทของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จากการศึกษาเอกสาร ศึกษาทฤษฎี แนวคิด การสัมภาษณ์ การสอบถาม ผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า
1.1) การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา พบว่า โรงเรียนขนาดเล็กประสบปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ครบทุกชั้นเรียน อีกทั้งบุคลากรครูส่วนใหญ่เป็นครูบรรจุใหม่ที่ยังขาดประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอน และต้องรับผิดชอบการสอนที่ไม่ตรงตามสาขาวิชาเอก ขาดความรู้ในรูปแบบการบริหารจัดการ นอกจากนี้ยังขาดแคลนทั้งงบประมาณ บุคลากรและสื่อวัสดุที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน
1.2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยสภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด (x ̅ = 4.58, S.D.= 0.21)
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามบริบทของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 พบว่า
2.1) รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามบริบทของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ที่เหมาะสม ประกอบด้วย 1) แนวคิดและหลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีการดำเนินการของรูปแบบ (3.1) ด้านการวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน (3.2) การบริหารจัดการ (3.3) การบริหารจัดการบุคลากร (3.4) การบริหารจัดการวิชาการ (3.5) การบริหารการเงิน พัสดุ ที่ดิน อาคารสถานที่และสินทรัพย์อื่น ๆ 4) ความเหมาะสมและกลไกการดำเนินการของรูปแบบ และ 5) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ (ผลการประเมินความสำเร็จ)
2.2) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ประโยชน์ ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52,  = 0.50)
2.3) ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามบริบทของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57,  = 0.50)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ตามบริบทของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 พบว่า
3.1) ผลการติดตามประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามบริบท ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ในภาพรวมเฉลี่ยโรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่มีผลการปฏิบัติระดับคุณภาพ มากที่สุด (x ̅ = 4.70, S.D. = 0.20)
3.2) ผลการติดตามผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามบริบทของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ของครูผู้สอน ในภาพรวมเฉลี่ยระดับ มากที่สุด (x ̅ = 4.61, S.D. = 0.18)
3.3) ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่เป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของสถานศึกษาโดยรวมของโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ส่วนใหญ่โรงเรียนมีผลการปฏิบัติอยู่ ในระดับคุณภาพดีมาก จำนวน 39 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 38.24 รองลงมาคือ ระดับคุณภาพดี จำนวน 34 โรงเรียน คิดเป็น ร้อยละ 33.33 ระดับคุณภาพปานกลาง จำนวน 19 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 18.63 ระดับคุณภาพพอใช้ จำนวน 10 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 9.80 และไม่มีโรงเรียนใดมีระดับคุณภาพปรับปรุง ตามลำดับ
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ตามบริบทของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 พบว่า
4.1) การประเมินรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.54, S.D. = 0.40) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้องครอบคลุม และด้านความเป็นไปได้ ตามลำดับ
4.2) การประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ตามบริบทของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x ̅ = 4.64, S.D. = 0.16)