รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนโดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และสื่อการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวมาธวี นุเสน
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
ความเป็นมาและความสำคัญ
เด็กอนุบาลปีที่ 3 ช่วงอายุระหว่าง 5-6 ปี ควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ ทั้ง 4 ด้านไปพร้อมๆกัน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนระดับสูงต่อไป การอ่านและการเขียนสามารถจัดประสบการณ์ บูรณาการให้เด็กได้ ในกิจกรรม สร้างสรรค์ กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเสรี และ กิจกรรมเกมการศึกษา
ผู้วิจัยเห็นว่า การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์จากการทำกิจกรรมที่เด็กริเริ่มและครูริเริ่ม สามารถส่งเสริม ด้านการอ่านได้จากผลงานทางศิลปะ ซึ่งเป็นรูปธรรมมากกว่า การเขียนตัวหนังสือ นอกจากนั้น การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ยังช่วยฝึกทักษะการใช้ กล้ามเนื้อเล็ก การประสานสัมพันธ์ ระหว่างมือกับตาจะสามารถ ช่วยให้ผู้เรียนมีกล้ามเนื้อมือที่แข็งแรง ส่งผลดีต่อ การเขียนภาพ เขียนสัญลักษณ์ ตัวหนังสือ ตัวเลขได้ดี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และสื่อการอ่าน
สมมุติฐาน
เมื่อจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และสื่อการอ่านแล้วความสามารถในทักษะด้านการอ่านและการเขียนก่อนและหลังมีความแตกต่างกัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีทักษะการอ่านและการเขียนเพิ่มมากขึ้น
2. นักเรียนอ่านและเขียนได้ชัดเจนและถูกต้อง
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร / นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชาย–หญิง ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปรือพวงสำราญ ตำบลตาจง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 12 คน
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชาย–หญิง ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปรือพวงสำราญ ตำบลตาจง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มาโดยการคัดเลือก นักเรียนที่อ่านภาพจากงานศิลปะ แล้วออกเสียงได้ไม่ถูกต้องและเขียนไม่ได้ เพื่อนำมาเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 12 คน
ระยะเวลาในการทดลอง
ดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน – เดือน มีนาคม ทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที รวม 4 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
1. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์วาดภาพระบายสี
2. แบบทดสอบการอ่าน – การเขียน ก่อน และ หลัง
3. แบบประเมินพฤติกรรม พัฒนาการ การอ่าน การเขียน ก่อนและหลัง
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ การใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และสื่อการอ่าน
ตัวแปรตาม การอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปรือพวงสำราญ จำนวน 6 คน ได้มาโดยการเลือกนักเรียนที่อ่าน ภาพ จากงาน ศิลปะ แล้วออกเสียงได้ไม่ถูกต้องและเขียนไม่ได้โดยผู้วิจัยจะใช้เครื่องมือในการทดลอง คือ ศิลปะสร้างสรรค์และสื่อการอ่าน แบบทดสอบการอ่าน การเขียน แบบประเมินพฤติกรรมพัฒนาการการอ่าน การเขียน ก่อน – หลัง โดยนำไปทดลองใช้เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที รวม 24 ครั้ง แล้ว นำมาวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าร้อยละ
และ นำมา เปรียบเทียบผล สัมฤทธิ์ก่อน และ หลัง การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์และสื่อการอ่าน
* ส่วนนักเรียนที่ไม่ได้ทำการทดลอง ผู้วิจัยจะจัดกิจกรรม ให้กับเด็กคือ กิจกรรมวาดภาพระบายสีตามจินตนาการ การเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับภาพโดยจะให้เด็กพูดเป็นประโยค
สรุปผลการวิจัยในชั้นเรียน ปี 2564
ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนโดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
และสื่อการอ่านของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางสาวมาธวี นุเสน
โรงเรียนบ้านปรือพวงสำราญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จากการศึกษาข้อมูลพบว่านักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน เช่น การออกเสียงไม่ชัดเจน และตามรอยประไม่ค่อยตรงรอย ซึ่งการอ่านออกเสียงและเขียนดังกล่าวเป็นพื้นฐานสำคัญที่นักเรียนจะต้องเรียนรู้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมหรือจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ฝึกฝนการอ่านและการเขียนอยู่เป็นประจำ
ดังนั้นการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และสื่อการอ่านจึงเป็นวิธีหนึ่งที่มีความสำคัญและดึงดูดความสนใจของเด็กให้กลับมาอยากที่จะอ่านและเขียนและยังเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน รักการอ่านการเขียน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการอ่านและการเขียนในวิชาต่างๆ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และสื่อการอ่าน
2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และสื่อการอ่าน
สมมุติฐานของการวิจัย
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 12 คน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และสื่อการอ่าน มีความสามารถในทักษะด้านการอ่านและการเขียนก่อนและหลังแตกต่างกัน
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร / นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชาย – หญิงชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปรือพวงสำราญ ตำบลตาจง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 12 คน
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชาย – หญิง ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปรือพวงสำราญ ตำบลตาจง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการ คัดเลือกนักเรียนที่อ่านภาพจากงานศิลปะแล้วออกเสียงได้ไม่ถูกต้องและเขียนไม่ได้ เพื่อนำมาเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 12 คน
ระยะเวลาในการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 40 นาทีรวม 24 ครั้ง
เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเป็นการวิจัยเป็นการอ่านคำจากภาพงานศิลปะ เช่น ภาพสัตว์ ภาพผลไม้ ภาพของใช้ การระบายสีภาพ การเขียนตามรอยประ คำจากภาพแล้วอ่านออกเสียง เช่น ภาพสุนัขก็จะเขียนตามรอยประคำว่าสุนัขและอ่านออกเสียง คำว่าสุนัขพร้อมระบายสีภาพสุนัขแล้วนำมาสร้างเป็นแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียง การระบายสีภาพ การเขียนตามรอยประ
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น การใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และสื่อการอ่าน
ตัวแปรตาม การอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปรือพวงสำราญ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 12 คน โดยผู้วิจัยเป็นผู้สอนด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ
1. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์วาดภาพระบายสี
2. แบบทดสอบการอ่าน – การเขียน ก่อนและหลัง
3. แบบประเมินพฤติกรรมพัฒนาการ การอ่าน การเขียน ก่อนและหลังโดยนำไปทดลองใช้เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที รวม 24 ครั้ง แล้วนำมาวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน และเขียน ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง
ตารางที่ 1 ผลการพัฒนาการ การอ่าน การเขียน
เลขที่ ชื่อ – สกุล ระดับคุณภาพ
ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง
1 เด็กชายณภัทร อุปนันท์ 
2 เด็กชายกฤษกร สายเครือดำ 
3 เด็กชายธนภัทร คำผานุรัตน์ 
4 เด็กชายบุญรอด หมูสีโทน 
5 เด็กชายเมธพนธ์ รุ่งพิรุณ 
6 เด็กชายวิทวัส สุภผล 
7 เด็กหญิงกิ่งแก้ว เครื่องคว้าดำ 
8 เด็กหญิงเจนจิรา ทิวสมบูรณ์ 
9 เด็กหญิงเมธาทิพย์ กระแสเทพ 
10 เด็กหญิงวริษา นาคทอง 
11 เด็กหญิงสุภัทตา ผาสุข 
12 เด็กชายกฤตนัย เบ็ญจคุ้ม 
- การสะท้อนผล
ควรมีการสอดแทรกคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านต่างๆ เช่น ทักษะและนิสัยการทำงาน ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงาน
- ข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งต่อไป ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางภาษาที่มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของนักเรียน
ก่อนการพัฒนา
เลขที่ ชื่อ – สกุล ระดับคุณภาพ
ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง
1 เด็กชายณภัทร อุปนันท์ 
2 เด็กชายกฤษกร สายเครือดำ 
3 เด็กชายธนภัทร คำผานุรัตน์ 
4 เด็กชายบุญรอด หมูสีโทน 
5 เด็กชายเมธพนธ์ รุ่งพิรุณ 
6 เด็กชายวิทวัส สุภผล 
7 เด็กหญิงกิ่งแก้ว เครื่องคว้าดำ 
8 เด็กหญิงเจนจิรา ทิวสมบูรณ์ 
9 เด็กหญิงเมธาทิพย์ กระแสเทพ 
10 เด็กหญิงวริษา นาคทอง 
11 เด็กหญิงสุภัทตา ผาสุข 
12 เด็กชายกฤตนัย เบ็ญจคุ้ม 
หลังการพัฒนา
เลขที่ ชื่อ – สกุล ระดับคุณภาพ
ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง
1 เด็กชายณภัทร อุปนันท์ 
2 เด็กชายกฤษกร สายเครือดำ 
3 เด็กชายธนภัทร คำผานุรัตน์ 
4 เด็กชายบุญรอด หมูสีโทน 
5 เด็กชายเมธพนธ์ รุ่งพิรุณ 
6 เด็กชายวิทวัส สุภผล 
7 เด็กหญิงกิ่งแก้ว เครื่องคว้าดำ 
8 เด็กหญิงเจนจิรา ทิวสมบูรณ์ 
9 เด็กหญิงเมธาทิพย์ กระแสเทพ 
10 เด็กหญิงวริษา นาคทอง 
11 เด็กหญิงสุภัทตา ผาสุข 
12 เด็กชายกฤตนัย เบ็ญจคุ้ม 
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่าการใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และสื่อการอ่านส่งผลให้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 12 คนมีประสิทธิ์ภาพในด้านการอ่านออกเสียงที่ถูกต้องชัดเจน การเขียนก็สามารถบังคับกล้ามเนื้อมือในการเขียนให้ตรงตามเส้นที่กำหนดให้ได้มากขึ้น เพิ่มสูงขึ้นจากเดิม ก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย ดี ร้อยละ 75.00 และหลังเรียน มีค่าเฉลี่ย ดีมาก ร้อยละ 83.33 ถือว่าการเรียนการสอนจัดอยู่ในระดับคุณภาพที่เพิ่มขึ้น