รายงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา ๒๕๖๗ ระดับทอง
เรื่อง รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด โรงเรียนวัดพุมเรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒
---------------------------------------
๑. ความเป็นมาและความสำคัญของผลงาน
ปัญหายาเสพติดและอบายมุขเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนและสังคมโดยรวม โดยเฉพาะในสถานศึกษา ซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะเยาวชนให้เติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศ รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการจึงเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ โดยได้มีการกำหนดนโยบายให้โรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดยาเสพติดและอบายมุข พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี โครงการ สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เยาวชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อสร้างเครือข่ายป้องกันปัญหายาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่งยังคงเผชิญกับปัญหายาเสพติดและอบายมุขที่แทรกซึมเข้าสู่โรงเรียนในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น
1.การแพร่ระบาดของยาเสพติด เยาวชนบางกลุ่มถูกชักชวนให้ทดลองใช้ยาเสพติด เช่น บุหรี่ ยาไอซ์ กัญชา หรือยาบ้า ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและพฤติกรรมของนักเรียน
2.การพนันและอบายมุข การเล่นพนันออนไลน์ การพนันในโรงเรียน หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมอบายมุข เช่น การมั่วสุมและดื่มสุราในกลุ่มนักเรียน
3.ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน บางโรงเรียนขาดมาตรการป้องกันและดูแลที่เข้มงวด ทำให้ปัญหายาเสพติดสามารถแทรกซึมเข้ามาได้ง่าย
4.อิทธิพลจากสื่อและสังคม เยาวชนได้รับอิทธิพลจากสื่อโซเชียลและสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้เข้าถึงอบายมุขได้ง่ายขึ้น
โรงเรียนวัดพุมเรียง เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีชุมชนที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการของ โรงเรียนจำนวน ๕ ชุมชน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำอาชีพประมงและเกษตรกร ฐานะของนักเรียนค่อนข้างยากจนไปจนถึงปานกลาง พ่อแม่ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด ปล่อยบุตรหลานไว้ให้ ปู่ ย่า ตา ยาย ดูแล ทำให้การดูแลบุตรหลานไม่ทั่วถึง ที่ สำคัญชุมชนของนักเรียนเป็นพื้นที่สีแดงที่ต้องเฝ้าระวังเรื่องของยาเสพติด จากการดำเนินงานตามระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนจากข้อมูลของการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล นำสู่การคัดกรองนักเรียนด้วยเครื่องมือคัดกรอง SDQ พบว่า ปัญหาของนักเรียนจะเป็นปัญหาด้านครอบครัวหย่าร้าง ฐานะยากจน อันส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียน อาจยังผลต่อ พฤติการณ์เสี่ยงด้านยาเสพติด พฤติกรรม ทางการเรียน เช่น ขาดเรียนบ่อย การมาเรียนอาจไม่เต็มที่ บางส่วนใช้เวลาในช่วงวันหยุดรับจ้างทั่วไปหารายได้ ช่วยเหลือครอบครัว หรือแม้กระทั่งลาโรงเรียนในช่วงวันปกติเพื่อช่วยงานทางบ้านตามบริบทของชุมชน เช่น การช่วยครอบครัวทำประมง รับจ้าง เป็นต้น
การดำเนินชีวิตเช่นนี้ถูกมองเป็นเรื่องปกติของนักเรียนและชุมชน เวลาในการเรียนรู้ในโรงเรียนเริ่ม ถดถอย ลดน้อยลง บางคนไม่มาโรงเรียน บางคนหลุดออกจากระบบของโรงเรียน ด้วยอาจมองเห็นความสำคัญ ของการศึกษาน้อยลงหรืออาจมองความสำเร็จจากการเรียนล่าช้า ยังไม่มีเป้าหมายจากการเรียนที่ชัดเจน และยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน การใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น ยังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย เป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้กับ ทุกคน สิ่งที่น่าวิตกกังวลคือวัยรุ่นที่ใช้สารเสพติดนั้นมีแนวโน้มที่จะอายุน้อยลงเรื่อย ๆ มีการใช้สารเสพติด เพิ่มขึ้นในกลุ่มอายุ ๑๒๑๙ ปี และในปี ๒๕๖๒ มีการสำรวจพบว่าเด็กและเยาวชนหรือวัยรุ่นใช้สารเสพติด เป็นจำนวนร้อยละ ๓.๗๒ ความจริงแล้วสาเหตุในการใช้สารเสพติดของกลุ่มวัยรุ่นมีหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่า จะเป็นความคึกคะนองของช่วงวัย เพื่อนชักชวน เกิดปัญหาความรัก มีปัญหาส่วนตัว ได้รับความกดดันในการ เรียน ฯลฯ ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการใช้สารเสพติดของกลุ่มเด็ก เยาวชน และวัยรุ่นมากที่สุด พบว่า สิ่งที่มี อิทธิพลที่ทำให้เด็ก เยาวชนและวัยรุ่นเข้าไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติดมากที่สุดคือ ชุมชนและสังคม หากเด็ก เยาวชนหรือกลุ่มวัยรุ่นได้อยู่ในสังคมหรือชุมชนที่ดี ทุกคนมุ่งมั่นกับการเรียน มีเป้าหมายในชีวิตที่จะพัฒนา ตัวเองให้พร้อมสำหรับการทำงานในอนาคต ก็จะทำให้เด็ก เยาวชน และวัยรุ่นเหล่านั้นเลือกที่จะปฏิเสธไม่ใช้ ยาเสพติด แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันคงเป็นไปไม่ได้ที่เด็ก เยาวชนและวัยรุ่นจะได้อยู่ในสังคมที่ดีทุกคน สิ่ง สำคัญคือ สถาบันครอบครัว ต้องคอยมอบความรัก ความอบอุ่นและความเข้าใจให้กับเด็ก ไม่สร้างแรงกดดัน และคาดหวังสูงจนเกินไป
จากข้อมูลสภาพปัญหาของโรงเรียนวัดพุมเรียง การแก้ปัญหาและพัฒนาโรงเรียนให้เป็น สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ต้องอาศัย แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนากระบวนการดำเนินงานที่เป็นระบบ โดยการร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ด้วยกระบวนการ ได้แก่ การป้องกัน (Prevention) เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่ดี ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกันทางจิตใจ บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดและอบายมุขในหลักสูตรการเรียนการสอน ปลูกฝังวินัยและความรับผิดชอบผ่านกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี หรือชมรมจิตอาสา การให้ความรู้และสร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยกระบวนการจัดอบรมและสัมมนาเกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติดและอบายมุข โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ ใช้สื่อประชาสัมพันธ์ เช่น วิดีโอ โปสเตอร์ และแคมเปญออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง จัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง เช่น การเยี่ยมชมสถานพินิจหรือสถานฟื้นฟูยาเสพติด การเฝ้าระวัง (Monitoring) ด้วยการตรวจสอบและเฝ้าระวังภายในโรงเรียน ควรแต่งตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวัง ภายในโรงเรียนเพื่อดูแลและตรวจสอบพฤติกรรมของนักเรียน ตรวจตราสถานที่สุ่มเสี่ยง เช่น ห้องน้ำ สนามกีฬา และจุดอับภายในโรงเรียนใช้มาตรการตรวจสารเสพติดแบบสุ่มในกลุ่มนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง มีการเฝ้าระวังจากเครือข่ายภายนอก สร้างเครือข่ายร่วมกับชุมชน ตำรวจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันปัญหายาเสพติด ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลาน และแจ้งเบาะแสเมื่อพบพฤติกรรมเสี่ยง ประสานงานกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขเพื่อช่วยดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักเรียนที่มีปัญหา การแก้ไขและบำบัดฟื้นฟู (Intervention & Rehabilitation) ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาและแนะแนวเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีความเสี่ยงหรือได้รับผลกระทบจากยาเสพติด ให้โอกาสนักเรียนที่กระทำผิดได้เข้าร่วมโครงการฟื้นฟูและพัฒนาพฤติกรรม สนับสนุนให้เกิด พี่เลี้ยง หรือ เพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อให้กำลังใจและเป็นที่ปรึกษาในกลุ่มเพื่อนนักเรียน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกับสถานพินิจและศูนย์บำบัดยาเสพติดเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ติดยา จัดกิจกรรมร่วมกับองค์กรด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจของนักเรียน การส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก (Positive Reinforcement) ด้วยส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ สนับสนุนกิจกรรมทางเลือกที่ช่วยให้นักเรียนใช้เวลาว่างอย่างมีประโยชน์ เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ และกิจกรรมจิตอาสา จัดโครงการ "โรงเรียนสีขาวสร้างสรรค์" โดยให้นักเรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมออกแบบกิจกรรม ส่งเสริมให้มีการแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ เช่น การประกวดสื่อรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ให้รางวัลและสร้างแรงจูงใจ จัดมอบรางวัลให้กับนักเรียน ครู และโรงเรียนที่มีผลงานดีเด่นด้านการป้องกันยาเสพติด สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่เป็นแบบอย่างที่ดี ประกาศเกียรติคุณให้กับนักเรียนที่มีพฤติกรรมดีเด่นด้านความมีวินัยและความรับผิดชอบ การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Involvement) ด้วยการทำงานร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน เชิญผู้ปกครองเข้าร่วมประชุมและให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรหลานให้ห่างไกลยาเสพติด จัดโครงการ ครอบครัวร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติด เพื่อให้ครอบครัวมีบทบาทในการเฝ้าระวังให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังพื้นที่รอบโรงเรียน ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น สถานีตำรวจ หน่วยงานทางสาธารณสุข และองค์กรพัฒนาเอกชน จัดโครงการ โรงเรียนปลอดยาเสพติดต้นแบบ และขยายผลไปยังโรงเรียนอื่น ๆ
จากแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนาที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์ โรงเรียนวัดพุมเรียงจึงได้สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด ภายใต้กระบวนการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDSA (Deming Cycle) เพื่อเป็นแนวทางการการดำเนินงานและให้เกิดผลในระดับที่ดีขึ้นต่อไป ให้ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกัน เฝ้าระวัง การแก้ไขและฟื้นฟู การส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี และการมีส่วนร่วมของชุมชน และจะสามารถทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียน และช่วยลดปัญหายาเสพติดและอบายมุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๒.๑ วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
๑. เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด โรงเรียนวัดพุมเรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒
๒. เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด โรงเรียนวัดพุมเรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒
๒.๒ เป้าหมายของการดำเนินงาน
เป้าหมายเชิงปริมาณ
๑. นักเรียนโรงเรียนวัดพุมเรียงทุกคนปลอดยาเสพติดและอบายมุข
๒. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทุกคนดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขตามรูปการพัฒนาที่สร้างขึ้น
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
๑. นักเรียนโรงเรียนวัดพุมเรียงห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข
๒. นักเรียนโรงเรียนวัดพุมเรียงที่มีปัญหาด้านยาเสพติดและอบายมุข ที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือ และมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
๓. นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดีและปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสังคม
๔. ครูและบุคลากรมีความรู้และทักษะในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน
๕. ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข อยู่ในระดับมาก
๖. โรงเรียนได้รับการยอมรับจากชุมชนว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและอบายมุข และมีการทำงานร่วมกับชุมชนอย่างเป็นระบบ
๓. ขั้นตอนการดำเนินงาน
การพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด โรงเรียนวัดพุมเรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒ ได้ดำเนินการออกแบบและดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
๓.๑ ขั้นตอนการออกแบบนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
กระบวนการออกแบบนวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เรื่อง การพัฒนาสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุขด้วยรูปแบบ NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด โรงเรียนวัดพุมเรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒ เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการวางแผนและดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ดำเนินการตามกระบวนการวงจรคุณภาพ PDSA ของเดมมิ่ง โดยมีขั้นตอนหลักดังนี้
1. วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ (Problem Analysis & Needs Assessment) ผู้บริหาร ครู นักเรียน คณะกรรมการศึกษา ร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดและอบายมุขในโรงเรียน สำรวจพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงของนักเรียนผ่านแบบสอบถาม สัมภาษณ์ หรือกลุ่มสนทนา ดำเนินการสำรวจร้านค้ารอบ ๆ บริเวณโรงเรียน เพื่อดูความเสี่ยงในการจำหน่ายยาเสพติด วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อปัญหายาเสพติด และระบุกลุ่มเป้าหมายของการใช้รูปแบบ คือ
2. ศึกษาแนวคิดและออกแบบนวัตกรรม (Innovation Design & Development)
ศึกษาแนวทางการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ คิดค้นแนวทางใหม่หรือแนวทางปรับปรุงที่สามารถช่วยลดหรือป้องกันปัญหายาเสพติดและอบายมุข สร้าง รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด ใช้ในการบริหารจัดการโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนวัดพุมเรียง บูรณาการกับการดำเนินงานของกระบวนการ PDSA (Demming clycling) กำหนดรูปแบบของนวัตกรรม เช่น กิจกรรมเสริมหลักสูตร แพลตฟอร์มดิจิทัล สื่อสร้างสรรค์ หรือโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิต ออกแบบกลไกการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน
3. การทดลองและพัฒนา (Prototype & Pilot Testing) นำรูปแบบการพัฒนา
สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด โรงเรียนวัดพุมเรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒ ไปทดลองใช้แนวคิดหรือนวัตกรรมในกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็ก แล้วทำการเก็บข้อมูลผลลัพธ์และข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้อง จากนั้นนำไปปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. การนำไปใช้จริงและขยายผล (Implementation & Scaling Up) นำรูปแบบการ
พัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด โรงเรียนวัดพุมเรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒ นำไปใช้ในการบริหารจัดการและดำเนินงานกับนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
๕. การประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Evaluation & Continuous
Improvement) ทำการวัดผลสัมฤทธิ์ของนวัตกรรม คือ รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด โรงเรียนวัดพุมเรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒ โดยใช้ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ ประเมินผลระยะสั้นและระยะยาวเพื่อติดตามความยั่งยืน ปรับปรุงและพัฒนาแนวทางตามข้อมูลที่ได้รับ
จากกระบวนการออกแบบนวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด โรงเรียนวัดพุมเรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒ แสดงเป็นแผนภาพกระบวนการออกแบบ
๓.๒ ขั้นตอนการดำเนินงาน
การดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนวัดพุมเรียง ได้นำรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด มาเป็นแนวทางการดำเนินงานอย่างเป็นระบบตามวงจรคุณภาพ PDSA (Plan-Do-Study-Act) ของเดมมิ่ง
องค์ประกอบหลักของ NO-DRUGS Model จำนวน ๗ องค์ประกอบ มีรายละเอียด ดังนี้
1. N - Network Engagement (เครือข่ายความร่วมมือ) เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ดำเนินงานโดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานทางสาธารณสุข หน่วยงานภายในชุมชน และตำรวจ ฯลฯ จัดตั้งเครือข่ายสถานศึกษาสีขาวและแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดี รวมทั้งการสร้างพันธมิตรกับองค์กรภายนอกเพื่อสนับสนุนทรัพยากรและองค์ความรู้
2. O - Organizational Culture (วัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง) การปลูกฝังค่านิยม วัฒนธรรม และบรรยากาศที่ส่งเสริมการปฏิเสธยาเสพติดภายในสถานศึกษา ดำเนินงานด้วยการส่งเสริมให้โรงเรียนมีค่านิยมและจรรยาบรรณที่ชัดเจนเกี่ยวกับการต่อต้านยาเสพติด กำหนดมาตรการและระเบียบวินัยที่เข้มแข็งเกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติด และปลูกฝังจิตสำนึกและพฤติกรรมที่ดีให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากร
3. D - Development of Skills (การพัฒนาทักษะชีวิตและภูมิคุ้มกันทางจิตใจ) การเสริมสร้างทักษะชีวิตและภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่นักเรียน เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและหลีกเลี่ยงยาเสพติด ดำเนินงานโดยการจัดอบรมและกิจกรรมเกี่ยวกับทักษะชีวิต เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา และการจัดการอารมณ์ จัดกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น กีฬา ดนตรี และศิลปะ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อยาเสพติด รวมทั้งมีการจัดโปรแกรมพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาให้กับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
4. R - Reinforcement of Knowledge (การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ) การให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติดและแนวทางป้องกันผ่านสื่อและกิจกรรมที่เข้าถึงนักเรียน ดำเนินงานโดยการบูรณาการความรู้เรื่องยาเสพติดในหลักสูตรการเรียนการสอน จัดกิจกรรมรณรงค์และนิทรรศการเกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติด จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น โปสเตอร์ วิดีโอ และสื่อออนไลน์
5. U - Uniting Families & Communities (การบูรณาการครอบครัวและชุมชน) การสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหายาเสพติด ดำเนินงานโดยการจัดประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของครอบครัวในการป้องกันยาเสพติด จัดกิจกรรมสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน เช่น โครงการอาสาสมัครและกิจกรรมสาธารณประโยชน์ รวมทั้งส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
6. G - Good Governance & Policies (ธรรมาภิบาลและนโยบายที่เข้มแข็ง) การกำหนดนโยบายและมาตรการที่เข้มแข็งเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในสถานศึกษา ดำเนินงานโดยการกำหนดนโยบาย "สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข" และประกาศให้เป็นแนวทางปฏิบัติจัดทำระเบียบวินัยเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างเคร่งครัด และจัดตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวังและติดตามผลการดำเนินงาน
7. S - Surveillance System (ระบบเฝ้าระวังและติดตามผล) การพัฒนาระบบเฝ้าระวังเพื่อติดตามสถานการณ์ ป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด และให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีความเสี่ยง ดำเนินงานโดยการจัดทำฐานข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกำหนดมาตรการดูแลเป็นรายบุคคล ใช้เทคโนโลยีและระบบรายงานผลเพื่อติดตามแนวโน้มการใช้ยาเสพติดในโรงเรียน รวมทั้งประเมินผลและปรับปรุงมาตรการป้องกันเป็นระยะ
ดำเนินงานตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบด้วยกระบวนการของวงจรคุณภาพ PDSA (Plan-Do-Study-Act) ของเดมมิ่ง ดังนี้
1. Plan (วางแผน) การเตรียมการและกำหนดแนวทาง วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในโรงเรียน ระบุปัจจัยเสี่ยงและกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเฝ้าระวัง กำหนดเป้าหมายและมาตรการป้องกันโดยใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัยยา เสพติด วางแผนเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด (N : Network Engagement) เช่น โรงเรียน ครอบครัว ชุมชน หน่วยงานภายนอก จากนั้นกำหนดนโยบายโรงเรียนสีขาว (G : Good Governance & Policies) และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ออกแบบกิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิตและทักษะต่างๆ เพื่อการพัฒนา (D : Development of Skills) และการให้ความรู้ในทุกด้าน (R : Reinforcement of Knowledge)
2. Do (ลงมือปฏิบัติ) ดำเนินโครงการตามแผน ด้วยการดำเนินกิจกรรมรณรงค์และสร้างวัฒนธรรมองค์กร (O : Organizational Culture) เช่น กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด, คำปฏิญาณสถานศึกษาสีขาว, กิจกรรมลูกเสือต้านยาเสพติด เป็นต้น มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด (R : Reinforcement of Knowledge) เช่น การอบรมเครือข่ายต้านยาเสพติด, การให้ความรู้ผลกระทบจากยาเสพติด พัฒนาทักษะชีวิต (D : Development of Skills) โดยใช้กิจกรรม Role-Playing, การบริหารจัดการอารมณ์, ทักษะปฏิเสธสิ่งเสพติด สร้างเครือข่ายครอบครัวและชุมชน (U : Uniting Families & Communities) เช่น การจัดประชุมผู้ปกครอง, การตั้งกลุ่มอาสาสมัครชุมชน นำระบบเฝ้าระวัง (S : Surveillance System ) มาใช้ เช่น ระบบแจ้งเบาะแส, กลไกเฝ้าระวังผ่านครูที่ปรึกษา, เพื่อนช่วยเพื่อน
3. Study (ตรวจสอบและประเมินผล) วิเคราะห์ข้อมูลและปรับปรุงแนวทาง ติดตามผลการดำเนินงาน เช่น สำรวจความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง วิเคราะห์ประสิทธิภาพของกิจกรรม เช่น อัตราการเข้าร่วมกิจกรรม, การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียน ตรวจสอบนโยบายที่ใช้ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ รับฟังความคิดเห็นจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง (N : Network Engagement, U : Uniting Families & Communities) เพื่อปรับปรุงมาตรการป้องกัน
4. Act (ปรับปรุงและพัฒนา) นำผลลัพธ์ไปปรับปรุงให้ดีขึ้น ปรับปรุงนโยบายและแนวทางดำเนินโครงการให้มีความยั่งยืน (G : Good Governance & Policies) พัฒนาแนวทางใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลในการรณรงค์ ขยายผลแนวทางที่ได้ผลดีไปยังโรงเรียนหรือชุมชนใกล้เคียง (N : Network Engagement, U : Uniting Families & Communities) นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนา หลักสูตรและกิจกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียนมากขึ้น เผยแพร่แนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ให้แก่โรงเรียนอื่น
การดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ด้วยรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด บูรณาการกับวงจรคุณภาพ PDSA ทำให้การดำเนินงานเป็นระบบ มีการวางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดภัยและปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีแก่นักเรียนอย่างยั่งยืน
๔. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ได้รับ
โรงเรียนวัดพุมเรียง ได้ดำเนินการพัฒนาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด จนเกิดผลสำเร็จ ดังนี้
๔.๑ ผลการดำเนินการ
๑. นักเรียนโรงเรียนวัดพุมเรียงทุกคนปลอดยาเสพติดและอบายมุข
๒. นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริม และเข้าร่วมกิจกรรมป้องกัน ค้นหา รักษา เฝ้าระวัง ให้ปลอดยาเสพติด อบายมุข สื่อลามกอนาจาร และปัจจัยเสี่ยง การติดเกมและการทะเลาะวิวาทในโรงเรียน
๓. นักเรียนมีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกันในการป้องกันปัญหายาเสพติด สื่อลามกอนาจาร และปัจจัยเสี่ยง การติดเกมและการทะเลาะวิวาทในโรงเรียน
๔. ครู บุคลากร นักเรียน และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรม
๕. โรงเรียนมีการบริหารจัดการโรงเรียนสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน และปฏิบัติกิจกรรมห้องเรียนสีขาวทุกห้องเรียน
๖. โรงเรียน ผู้บริหาร และครูได้รับรางวัล ได้แก่ สถานศึกษาดีไม่มีอบายมุข ครูดีไม่มีอบายมุข รางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่น ระดับเงิน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา ๒๕๖๖ และ รางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดีเด่น ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗
๔.๒ ผลสัมฤทธิ์
๔.๒.๑ ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
๑) แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดและอบายมุขของนักเรียนโรงเรียนวัดพุมเรียง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๗
ระดับ
ชั้น จำนวนนักเรียน (คน) พฤติกรรมของนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และอบายมุข (คน)
ยาเสพติด สื่อลามกอนาจาร การพนัน การทะเลาะวิวาท
เคย ไม่เคย เคย ไม่เคย เคย ไม่เคย เคย ไม่เคย
ป.๔ ๓๕ ๐ ๓๕ ๐ ๓๕ ๐ ๓๕ ๒ ๓๓
ป.๕ ๔๐ ๑ ๓๙ ๐ ๔๐ ๐ ๔๐ ๓ ๓๗
ป.๖ ๓๕ ๒ ๓๓ ๐ ๓๕ ๐ ๓๕ ๒ ๓๓
ม.๑ ๓๔ ๐ ๓๔ ๐ ๓๔ ๐ ๓๔ ๓ ๓๑
ม.๒ ๒๓ ๒ ๒๑ ๐ ๒๓ ๒ ๒๑ ๑ ๒๒
ม.๓ ๓๑ ๓ ๒๘ ๐ ๓๑ ๐ ๓๑ ๐ ๓๑
รวม ๑๙๘ ๘ ๑๙๐ ๐ ๑๙๘ ๒ ๑๙๖ ๑๑ ๑๘๗
คิดเป็นร้อยละ 4.04 95.96 0.00 100.00 1.01 98.99 5.56 94.44
จากตารางพบว่า การสอบถามพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดและอบายมุขของนักเรียน
โรงเรียนวัดพุมเรียง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑๙๘ คน นักเรียนที่เคยเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๔.๐๔ นักเรียนที่ไม่เคยเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จำนวน ๑๙๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๙๖ ไม่มีนักเรียนที่เคยเกี่ยวข้องกับสื่อลามกอนาจาร คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ นักเรียนที่เคยเกี่ยวข้องกับการพนัน จำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๐๑ นักเรียนที่ไม่เคยเกี่ยวข้องกับการพนัน จำนวน ๑๙๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๙๙ และ นักเรียนที่เคยเกี่ยวข้องกับการทะเลาะวิวาท จำนวน ๑๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๕๖ นักเรียนที่ไม่เคยเกี่ยวข้องกับการทะเลาะวิวาท จำนวน ๑๘๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๔.๔๔
จากข้อมูลตามตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่ายังไม่นักเรียนบางส่วนที่ยังเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและอบายมุข ซึ่งโรงเรียนวัดพุมเรียงยังคงการดำเนินการพัฒนาสถานศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการสอดแทรกในเนื้อหาหลักสูตร การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อลดพฤติกรรมของนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ในการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและอบายมุข ซึ่งจะมีการประเมินผลการดำเนินงานอีกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๗
๒) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
ระดับชั้น จำนวนนักเรียน ผลการประเมิน ระดับดี
ขึ้นไป ร้อยละ
ไม่ผ่าน ผ่าน ดี ดีเยี่ยม
ป.๑ ๔๑ ๒ 0 ๘ ๓๑ ๓๙ ๙๕.๑๒
ป.๒ ๓๓ ๑ 0 - ๓๒ ๓๒ ๙๖.๙๗
ป.๓ ๓๕ - 0 - ๓๕ ๓๕ ๑๐๐
ป.๔ ๔๔ ๕ 0 ๗ ๓๒ ๓๙ ๘๘.๖๓
ป.๕ ๓๗ ๒ 0 ๑๑ ๒๔ ๓๕ ๙๔.๕๙
ป.๖ ๓๘ ๒ 0 ๒๐ ๑๖ ๓๖ ๙๔.๗๓
ม.๑ ๒๖ ๓ 0 ๘ ๑๕ ๒๓ ๘๘.๔๖
ม.๒ ๓๘ ๕ 0 ๒๒ ๑๑ ๓๓ ๘๖.๘๔
ม.๓ ๓๒ ๕ 0 ๒๒ ๕ ๒๗ ๘๔.๓๘
รวม ๓๒๔ ๒๕ 0 ๙๘ ๒๐๑ ๒๙๙ ๙๒.๒๓
จากตาราง ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๓๒๔ คน นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดี - ระดับดีเยี่ยม จำนวน ๒๐๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๒๓
. ๓) นักเรียนได้รับรางวัลการแข่งขันกิจกรรมศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 72 ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗ ระดับเหรียญทอง จำนวน ๑๑ รายการ ระดับเหรียญเงิน จำนวน ๘ รายการ ระดับเหรียญทองแดง จำนวน ๑๐ รายการ และระดับชมเชย จำนวน ๑ รายการ
๔.๒.๒ ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นกับครู
๑) ครูได้รับรางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่น ระดับเงิน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จากศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒.๒.๓ ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน
๑) โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่ได้รับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส่ในการดำเนินงานของสถานศึกษาออนไลน์ (ITA ONLINE) ในระดับผ่านดี คะแนน ๙๑.๗๙ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗
๒) โรงเรียนได้รับรางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่น ระดับเงิน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จากศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒.๒.๔ ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชน
๑) โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ปัญหายาเสพติดและอบายมุขที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น
๔.๓ ประโยชน์ที่ได้รับ
1) ได้รับความร่วมมือและเป็นเครือข่ายกับโรงเรียนบ้านตะกรบ และโรงเรียนวัดไตรรัตนากร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพุมเรียง เทศบาลตำบลพุมเรียง สถานีตำรวจภูธรไชยา คณะครู และนักเรียนโรงเรียนวัดพุมเรียง ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน วัดต่าง ๆ ในชุมชน เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน และหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข โดยรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด
2) โรงเรียนมีการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน มีนวัตกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนกระบวนการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
3) นักเรียนได้ความรู้จากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมนอก หลักสูตร ได้ฝึกกระบวนการทำงานกลุ่ม กระบวนการทางสังคม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและสามารถ ดำเนินกิจกรรมห้องเรียนสีขาวได้อย่างมีคุณภาพ โดยใช้วิธีการหรือรูปแบบ NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด และผ่านการตรวจสอบคุณภาพกิจกรรมโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA
4) นักเรียนทุกคนมีบทบาทหน้าที่ร่วมกันทั้งแกนนำห้องเรียนสีขาว ในการขับเคลื่อนกิจกรรม ต่าง ๆ ให้กับเพื่อนในห้องเรียนในการสร้างภูมิคุ้มกันด้านยาเสพติดและอบายมุข ความรู้คุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
๕. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยปัจจัยสำคัญหลายด้าน ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้
๕.๑ ด้านการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
โรงเรียนควรมีแนวทางที่ชัดเจนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และได้รับการสนับสนุน
จากผู้บริหารสถานศึกษา ใช้หลัก PDSA (Plan-Do-Study-Act) ให้ต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่องและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนมีการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และปรับปรุงแนวทางตามสถานการณ์จริง
๕.2 ด้านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
๕.๒.๑ ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นแบบอย่างที่ดี มีการอบรมและตระหนักถึงบทบาทใน
การป้องกันยาเสพติด
๕.๒.๒ ควรส่งเสริมนักเรียนให้มีบทบาทในการป้องกันและสร้างวัฒนธรรมโรงเรียนปลอดยาเสพ
ติด เช่น การเป็นแกนนำต่อต้านยาเสพติดหรือเป็นสมาชิกชมรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านยาเสพติดในสถานศึกษา
๕.๒.๓ ผู้ปกครองและชุมชน สนับสนุนและเฝ้าระวังพฤติกรรมของนักเรียน ทั้งที่โรงเรียนและที่
บ้าน
๕.๒.๔ เครือข่ายภายนอก ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานทางสาธารณสุข
สถานีตำรวจ หน่วยงานภายในชุมชน หน่วยงานป้องกันยาเสพติด เป็นต้น
๕.3 การบูรณาการเข้ากับหลักสูตรและกิจกรรม
ควรจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริมกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถทางสังคม เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ และจิตอาสา ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายนักเรียนที่ช่วยสอดส่องดูแลกันเอง
๕.4 สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันยาเสพติด
โรงเรียนมีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันที่เข้มงวด เช่น มาตรการตรวจสอบการนำสารเสพติดเข้าโรงเรียน สร้างบรรยากาศเชิงบวกในโรงเรียนควรมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย อบอุ่น และส่งเสริมการเรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีและสื่อสารสมัยใหม่ ใช้โซเชียลมีเดีย สื่อดิจิทัล และเทคโนโลยีในการให้ความรู้และเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยง
๕.5 การเสริมสร้างทักษะชีวิตและภูมิคุ้มกันทางจิตใจ
การสร้างทักษะปฏิเสธ (Refusal Skills) ฝึกให้นักเรียนกล้าปฏิเสธสิ่งที่ไม่ดี สอนให้นักเรียนจัดการปัญหาโดยไม่พึ่งยาเสพติดหรืออบายมุข การส่งเสริมค่านิยมที่ดีปลูกฝังค่านิยมเรื่องความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และการใช้ชีวิตอย่างมีสติ
ความสำเร็จของโครงการ สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ต้องอาศัย นโยบายที่เข้มแข็ง ความร่วมมือของทุกภาคส่วน กิจกรรมสร้างสรรค์ สภาพแวดล้อมที่ดี และการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน เพื่อให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยและนักเรียนสามารถเติบโตอย่างมีคุณภาพ
๖. บทเรียนที่ได้รับ
การดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ทำให้เกิดบทเรียนสำคัญที่สามารถนำไปพัฒนาและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งสามารถสรุปได้เป็นประเด็นหลัก ดังนี้
๖.๑ การแก้ปัญหายาเสพติดและอบายมุข ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง อาศัยความ ร่วมมือร่วมใจจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน โรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องมีภาคี เครือข่ายที่เข้มแข็งเพื่อร่วมกันดูแล สอดส่อง ปกป้อง คุ้มครองนักเรียน รวมทั้งให้การสนับสนุนนักเรียน ในการทำกิจกรรมด้านต่าง ๆ อย่างเต็มที่ มุ่งเน้นผลประโยชน์ที่เกิดแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
๖.๒ การจัดทำนวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ เรื่อง การพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ด้วยรูปแบบ NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด เป็นรูปแบบวิธีการที่เหมาะกับสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนขยายโอกาส เนื่องจากนักเรียนในโรงเรียนค่อนข้างไม่มีความพร้อมทางฐานะทางเศรษฐกิจ ขาดแคลนทุนทรัพย์เป็นส่วนใหญ่ และนักเรียนบางส่วนขาดการสนับสนุนทางด้านการเรียนจากผู้ปกครอง ทางโรงเรียนจึงต้องมีการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มุ่งเน้นทางด้านทักษะชีวิต ควบคู่ไปกับการมีคุณธรรม จริยธรรมและความรู้ทางวิชาการ โดยส่งเสริมและสนับสนุนความสามารถทางด้านทักษะอาชีพในท้องถิ่นเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และการแก้ปัญหายาเสพติดและอบายมุขได้บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
๖.๓ การป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนไม่สามารถทำได้โดยโรงเรียนเพียงลำพัง ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็ง เช่น การทำ MOU กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอ
๖.๔ โรงเรียนควรออกแบบหลักสูตรที่เน้นการฝึกปฏิบัติมากขึ้น เช่น กิจกรรม Role-Playing หรือ Workshops ฝึกทักษะชีวิต เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ได้จริง การให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติดไม่เพียงพอ ต้องเสริมสร้างทักษะชีวิต เช่น การตัดสินใจ การปฏิเสธ การจัดการอารมณ์ และความเครียด
๖.๕ โรงเรียนที่มีบรรยากาศที่อบอุ่น มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและนักเรียน จะช่วยลดโอกาสที่นักเรียนจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและอบายมุข ควรเน้นการสร้างวัฒนธรรมเชิงบวก เช่น ระบบพี่เลี้ยง (Mentor System) ระหว่างนักเรียนรุ่นพี่กับรุ่นน้อง หรือ โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน
๖.๖ นักเรียนที่มีเวลาว่างมากเกินไป หรือขาดกิจกรรมที่สร้างสรรค์มักมีโอกาสเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ดังนั้นโรงเรียนควรส่งเสริมกิจกรรมเสริม เช่น ชมรม กีฬา ดนตรี ศิลปะ และจิตอาสา เพื่อให้นักเรียนมีพื้นที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์
๖.๗ การใช้เทคโนโลยีในการป้องกันและให้ความรู้ยังไม่ถูกใช้อย่างเต็มที่ นักเรียนใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางหลักในการรับข้อมูลข่าวสาร แต่เนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติดยังขาดความน่าสนใจและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายไม่เพียงพอ ควรใช้ Social Media, TikTok, YouTube, และเกมการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและดึงดูดความสนใจของนักเรียน
โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข จะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัย ความร่วมมือจากทุกฝ่าย การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียน การส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ และการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
๗. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/และรางวัลที่ได้รับ
๗.๑ การเผยแพร่
โรงเรียนวัดพุมเรียง ได้ดำเนินการเผยแพร่นวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เรื่อง การพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด โรงเรียนวัดพุมเรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒ ทั้งในหน่วยงานการศึกษาและช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
๑) ส่งผลงานเผยแพร่ไปยังสถานศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ โรงเรียนบ้านท่าขนอน โรงเรียนบ้านห้วยพุน โรงเรียนวัดอัมพาราม เป็นต้น
ตอบรับการเผยแพร่จากโรงเรียนบ้านท่าขนอน สพป.สุราษฎร์ธานี เขต ๒
ตอบรับการเผยแพร่จากโรงเรียนบ้านห้วยพุน สพป.สุราษฎร์ธานี เขต ๒
ตอบรับการเผยแพร่จากโรงเรียนวัดอัมพาราม สพป.สุราษฎร์ธานี เขต ๒
๒) การเผยแพร่ทางแอพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้แก่
๗.๓ การได้รับการยอมรับ
-
๗.๓ รางวัลที่ได้รับ
โรงเรียนวัดพุมเรียง ได้รับรางวัลต่าง ๆ ที่ได้มาจากการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข และที่เกี่ยวข้อง ในปีการศึกษา ๒๕๖๗ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
รางวัลสถานศึกษา
๑) เกียรติบัตรรางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่น ระดับเงิน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา ๒๕๖๖
๒) เกียรติบัตรรางวัลดีเด่น ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี ๒๕๖๗
๒) รางวัลสถานศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุข
๓) รางวัลชนะเลิศอันดับที่ ๑๗ สพฐ.-ไทยฮอนด้า วิ่ง ๓๑ ขา สามัคคี ปีที่ ๑๙
รางวัลครูและบุคลากร
๑) เกียรติบัตรรางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่น ระดับเงิน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา ๒๕๖๖
๘. ภาคผนวก เช่น ร่องรอย หลักฐาน ภาพถ่าย ชิ้นงาน ที่แสดงให้เห็นว่าได้มีการปฏิบัติจริง
การดำเนินในโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ภายใต้การใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NO-DRUGS Model รัก เข้าใจ ร่วมป้องกันภัย ห่างไกลยาเสพติด โรงเรียนวัดพุมเรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒ ได้ดำเนินการด้วยการบูรณาการร่วมกับกระบวนการวงจรคุณภาพ PDSA ของเดมมิ่ง โดยมีร่องรอย หลักฐาน ภาพถ่าย ชิ้นงาน ที่แสดงให้เห็นว่ามีการปฏิบัติจริง ดังนี้
๑. Plan (วางแผน) การเตรียมการและกำหนดแนวทาง
วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในโรงเรียน
ภาพรายงานผลการคัดกรองนักเรียน ด้านการใช้สารเสพติด ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗
ระบุปัจจัยเสี่ยงและกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเฝ้าระวัง
กำหนดเป้าหมายและมาตรการป้องกันโดยใช้ NO-DRUGS Model
ภาพ โรงเรียนได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานและขออนุมัติจัดตั้งตู้เสมารักษ์ มีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง โดยให้มีการจัดทำตู้เสมารักษ์เพื่อรับร้องทุกข์หรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด การสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามกอนาจาร การพนัน และการทะเลาะวิวาท
วางแผนเครือข่ายความร่วมมือ (N : Network Engagement) เช่น โรงเรียน ครอบครัว ชุมชน หน่วยงานภายนอก
ภาพแสดงการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับภาคีเครือข่าย
กำหนดนโยบายโรงเรียนสีขาว (G : Good Governance & Policies) และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
ภาพ ประกาศนโยบายห้องเรียนสีขาว ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗
ออกแบบกิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิต (D : Development of Skills)
และการให้ความรู้ (R : Reinforcement of Knowledge)
ภาพ ศูนย์การเรียนรู้ CPR & Frist Aid ไชยา จัดกิจกรรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเรียนรู้หลักการ CPR
ภาพ นักเรียนแกนนำให้ความรู้ เรื่องยาเสพติดและอบายมุข
๒. Do (ลงมือปฏิบัติ) - ดำเนินโครงการตามแผน
ดำเนินกิจกรรมรณรงค์และสร้างวัฒนธรรมองค์กร (O : Organizational Culture) เช่น กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด, คำปฏิญาณสถานศึกษาสีขาว
ภาพกิจกรรมเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดและแสดงคำปฏิญาณสถานศึกษาสีขาว
จัดอบรม/เวิร์กช็อปให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด (R : Reinforcement of Knowledge) เช่น "โรงเรียนปลอดยาเสพติด", "ผลกระทบจากยาเสพติด"
ภาพ วิทยากรให้ความรู้ด้านยาเสพติด เพื่อให้นักเรียนมีภูมิ คุ้มกันที่ดี
พัฒนาทักษะชีวิต (D : Development of Skills) โดยใช้ กิจกรรม Role-Playing, การบริหารจัดการอารมณ์, ทักษะปฏิเสธสิ่งเสพติด
ภาพโรงเรียนการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนที่มีความสนใจทางด้านดนตรีและกิจกรรมทักษะอาชีพ
สร้างเครือข่ายครอบครัวและชุมชน (U : Uniting Families & Communities) เช่น การจัดประชุมผู้ปกครอง, การตั้งกลุ่มอาสาสมัครชุมชน
ภาพ การจัดประชุมผู้ปกครองและผู้นำชุมชนสนับสนุนการดำเนินงานบ้านและชุมชนปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่
นำระบบเฝ้าระวัง (S : Surveillance System) มาใช้ เช่น ระบบแจ้งเบาะแส, กลไกเฝ้าระวังผ่านครูที่ปรึกษา, เพื่อนช่วยเพื่อน
ภาพ การจัดตู้เสมารักษ์แจ้งเบาะแสยาเสพติดในโรงเรียน
๓. Study (ตรวจสอบและประเมินผล) - วิเคราะห์ข้อมูลและปรับปรุงแนวทาง
ติดตามผลการดำเนินงาน เช่น สำรวจความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง
วิเคราะห์ประสิทธิภาพของกิจกรรม เช่น อัตราการเข้าร่วมกิจกรรม, การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียน
ภาพ รายงานผลการดำเนินงาน กำกับ ติดตาม ประเมินผลการป้องกันและแก้ไขปัญหา
ยาเสพติดในสถานศึกษา
ตรวจสอบนโยบายที่ใช้ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ (G : Good Governance & Policies)
ภาพ คำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการดําเนินงานกิจกรรมสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด
และอบายมุข ประจําปีการศึกษา ๒๕๖๗
รับฟังความคิดเห็นจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง (N : Network Engagement, U : Uniting Families & Communities) เพื่อปรับปรุงมาตรการป้องกัน
ภาพ การรับฟังความคิดเห็นจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
๔. Act (ปรับปรุงและพัฒนา) - นำผลลัพธ์ไปปรับปรุงให้ดีขึ้น
ปรับปรุงนโยบายและแนวทางดำเนินโครงการให้มีความยั่งยืน (G : Good Governance & Policies)
ที่ รายการ การรายงานผล
ครั้งที่ ๑ การรายงานผล
ครั้งที่ ๒ ผู้รับผิดชอบ
๑ มาตรการป้องกัน
๑.๑ การดำเนินกิจกรรมห้องเรียนสีขาวและ
โครงงานป้องกันยาเสพติด ต.ค. ๒๕๖7 มี.ค. ๒๕๖8 อรอนงค์ นาคน้อย
1.2 การจัดทำประกาศและมอบรางวัลหรือ
เกียรติบัตรห้องเรียนสีขาวดีเด่น ตลอดปีการศึกษา อรอนงค์ นาคน้อย
๑.3 การดำเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดบุหรี่ฯ ตลอดปีการศึกษา คณะครู
๑.4 จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อป้องกันยาเสพติด ต.ค. ๒๕๖7 มี.ค. ๒๕๖8 คณะครู
๒ มาตรการค้นหา
๒.๑ การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มิ.ย. ๒๕๖7 ธ.ค. ๒๕๖8 อรอนงค์ นาคน้อย
๒.๒ การสุ่มตรวจปัสสาวะของนักเรียน ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง อรอนงค์ นาคน้อย
๒.๓ การคัดกรองนักเรียน มิ.ย. ๒๕๖7 ธ.ค. ๒๕๖8 คณะครู
๒.๔ การรายงานการสำรวจสภาพการใช้สารเสพติด
ในระบบ CATAS ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง อรอนงค์ นาคน้อย
๓ มาตรการด้านการรักษา
๓.๑ การจัดระบบส่งต่อนักเรียนเพื่อบำบัดฟื้นฟู ตลอดปีการศึกษา อรอนงค์ นาคน้อย
๓.๒ การจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คณะครู
๓.๓ การดำเนินการด้านจิตสังคมบำบัด อรอนงค์ นาคน้อย
๓.๔ การให้คำปรึกษา คลินิกเสมารักษ์ ตามตวรรณ ซุยหลง
๔ มาตรการด้านการเฝ้าระวัง
๔.๑ การรับเรื่องปัญหายาเสพติดและอบายมุข ตลอดปีการศึกษา กิตติศิลป์ หมื่นไว
๔.๒ การจัดตั้งชมรมเสมารักษ์ป้องกันยาเสพติด อรอนงค์ นาคน้อย
๔.๓ การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการ
จัดการเรียนรู้ คณะครู
๕ มาตรการด้านการบริหารจัดการ
๕.๑ การกำหนดนโยบาย/ยุทธศาสตร์และแผนงาน/
โครงการ พ.ค. ๒๕๖7 ผู้บริหาร/คณะครู
๕.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน พ.ค. ๒๕๖7 ผู้บริหาร
๕.๓ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
บูรณาการการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับภาคี
เครือข่ายทุกภาคส่วน ตลอดปีการศึกษา ผู้บริหาร
๕.๔ กำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงาน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต.ค. ๒๕๖7 มี.ค. ๒๕๖8 อรอนงค์ นาคน้อย
ภาพ กำหนดปฏิทินการกำกับติดตาม ประเมินผล
พัฒนาแนวทางใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลในการรณรงค์
ภาพ การรับร้องทุกข์หรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด การสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามกอนาจาร การพนัน และการทะเลาะวิวาท ด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์
ขยายผลแนวทางที่ได้ผลดีไปยังโรงเรียนหรือชุมชนใกล้เคียง (N : Network Engagement,
U : Uniting Families & Communities)
ภาพ การขยายผลร่วมมือในการดำเนินร่วมกับชุมชน
นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนา หลักสูตรและกิจกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียนมากขึ้น
เผยแพร่แนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ให้แก่โรงเรียนอื่น
ภาพ การเผยแพร่แนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ให้แก่โรงเรียนอื่น