ผู้วิจัย นางสาวไข่มุก มณีศรี
สังกัด หน่วยงานศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา เมืองพัทยา
ปีที่วิจัย 2567
บทคัดย่อ
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยาด้วยการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกรด้วยการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้าง นวัตกรด้วยการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกรด้วยการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 4) ประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกรด้วยการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหาร และครู โรงเรียนเมืองพัทยา 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 6 โรงเรียนเมืองพัทยา 9 และ โรงเรียนเมืองพัทยา 10 จำนวน 204 คน จำแนกเป็นผู้ทำหน้าที่สอน จำนวน 192 คน หัวหน้างานวิชาการ 4 คน และผู้บริหาร 8 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย ครูพี่เลี้ยงที่ปรึกษา จำนวน 6 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกร แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกรด้วยการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกร แบบประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกรด้วยการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกรด้วยการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ความต้องการฝึกอบรมเพื่อเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกรด้วยการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ครูมีความต้องการพัฒนาตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกรด้วยการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของหลักสูตร 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) เนื้อหาสาระ 4) กิจกรรมและขั้นตอนการฝึกอบรม 5) สื่อประกอบการฝึกอบรม 6) การวัดและประเมินผล ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3.การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกรด้วยการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า
3.1 ครูมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการทำโครงงาน เกี่ยวกับการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกร ภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก
3.2 ครูมีความสามารถการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4.การประเมินหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกรด้วยการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า
4.1 การรับรองหลักสูตรของผู้เชี่ยวชาญ ภาพรวมมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
4.2 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานสร้างนวัตกรด้วยการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อครูที่ปรึกษาทำโครงงานสร้างนวัตกร ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ข้อค้นพบของผู้วิจัย พบว่า ศึกษานิเทศก์ผู้ที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้เชี่ยวชาญ ครูพี่เลี้ยงที่ปรึกษา และครูผู้เข้ารับการอบรม ต้องประสานข้อมูลทุกด้านให้เท่าเทียมกันทุกโรงเรียนผ่านรองฝ่ายวิชาการ และหัวหน้างานวิชาการด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย และพี่เลี้ยงที่ปรึกษาต้องเป็นครู ผู้บริหาร หรือศึกษานิเทศก์ผู้มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำโครงงาน และมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น ๆ จึงจะทำให้การนำหลักสูตรไปใช้มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังพบว่า ระยะห่างของช่วงเวลาในการฝึกอบรม แต่ละระยะควรเว้นช่วงห่างกันหนึ่งเดือน จะช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมมีเวลาในการลงมือปฏิบัติได้อย่างเต็มความสามารถส่งผลให้คุณภาพของงานออกมาดี