๑. ความเป็นมาและความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
ยาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข อย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติดมีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการเมืองและความมั่นคงของชาติ รัฐบาลจึงได้กำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็น วาระแห่งชาติ และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา การกำหนดมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รู้จักปฏิเสธ หลีกเลี่ยงยาเสพติดและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นมั่วสุมกับยาเสพติดและอบายมุข ตลอดจนดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงได้กำหนดนโยบายให้สถานศึกษาเป็นองค์กรหลักในการดำเนินการ เนื่องจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งทางด้านการสื่อสารเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบผู้คนในเชิงบวก ในเชิงลบก็มีปรากฏการณ์ เช่นกัน เป็นต้นว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาแพร่ระบาดของยาเสพติด ปัญหาการแข่งขันในรูปแบบต่างๆปัญหาครอบครัวที่เกิดความทุกข์ ความวิตกกังวล ความเครียด มีการปรับตัวที่ไม่เหมาะสม หรืออื่น ๆภาพความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนานักเรียน ให้เป็นไปตามความมุ่งหวังนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกคน โดยเฉพาะบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในสถานศึกษา ซึ่งมีครู อาจารย์ เป็นหลักสำคัญในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ให้เติบโตงดงามและสวยงาม และเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคม
การพัฒนานักเรียน ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ และสติปัญญา มีความรู้ ความสามารถและคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตที่เป็นสุข ตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษาทุกแห่ง ต้องดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการให้เป็น คนดี คนเก่ง มีความสุข นอกจากการดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนได้รับกระบวนการเรียนรู้แล้ว การป้องกันและการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา ต่างๆที่เกิดขึ้น จากปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษาที่มีพฤติกรรมไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ร้านเกม การพนัน หนีเรียน ทะเลาะวิวาท ก่ออาชญากรรม เป็นปัญหาสังคมที่ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ต้องเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยงการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้แนวคิดและหลักการของ ๔ ประสาน ๒ ค้ำ ซึ่ง ๔ ประสาน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนนักเรียน และส่วนของ ๒ ค้ำ เดิมเป็นผู้แทนชุมชน แต่พื้นที่เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น จึงได้กำหนดใหม่ เพื่อให้บุคลากรสำคัญที่จะเข้ามาช่วยสถานศึกษา ในการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ได้แก่ ตำรวจและพระสงฆ์ ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องถิ่นและชุมชน ทั้งนี้เพื่อช่วยสถานศึกษาในการดำเนินงานให้มีมาตรการป้องกันและการป้องปรามติดตามผู้จำหน่ายและผู้เสพและมาตรการความปลอดภัย เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับคณะกรรมการสถานศึกษาสีขาว ในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติดและแหล่งอบายมุขรอบสถานศึกษา ดังนั้นเพื่อให้สถานศึกษามีระบบการป้องกันที่เข้มแข็งและยั่งยืนจึงให้มีการดำเนินงาน ๕ มาตรการ ได้แก่ ๑. มาตรการการป้องกัน ๒. มาตรการค้นหา ๓. มาตรการรักษา ๔. มาตรการเฝ้าระวัง ๕. มาตรการบริหารจัดการ และกลยุทธ์ ๔ ต้อง ๒ ไม่ คือ ๑. ต้องมียุทธศาสตร์ ๒. ต้องมีแผนงาน ๓. ต้องระบบข้อมูล ๔. ต้องมีเครือข่าย และ ๒ ไม่ คือ ๑. ไม่ปกปิดข้อมูล ๒. ไม่ไล่ออก เป็นแนวทางในการดำเนินงาน
โรงเรียนวัดหนองหอย ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต ๑ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ ๒ ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีนักเรียนทั้งหมด ๒47 คน มีบุคลากรทั้งหมด 16 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ๑ คน ข้าราชการครู ๑3 คน พนักงานราชการ 1 คน และครูธุรการ ๑ คน ซึ่งมีหมู่บ้านในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน จำนวน ๓ หมู่บ้าน คือ ๑. บ้านหนองหอย หมู่ที่ ๖. ๒. บ้านเขาปอ หมู่ที่ ๗ และ ๓. ตะแบกโพรง หมู่ที่ ๘ ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีปัญหาพัวพันเรื่องยาเสพติด โรงเรียนวัดหนองหอยและผู้นำในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนได้เล็งเห็นความสำคัญของนักเรียนซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติต่อไป จึงหาวิธีให้นักเรียนดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขโดยไม่พึ่งพายาเสพติด และอบายมุข รวมทั้งการป้องกันโรคและอุบัติเหตุ จึงได้ดำเนินการหารูปแบบนวัตกรรม ปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขด้วยนวัตกรรม การพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขด้วยนวัตกรรม NH. CARE ขึ้น
๒.วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
๒.๑ เพื่อพัฒนาให้นักเรียนตระหนักถึงโทษและมีทักษะในการป้องกันยาเสพติด
๒.๒ เพื่อพัฒนานักเรียนให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมและไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุข
๒.๓ เพื่อพัฒนาระบบและการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว โดยใช้ NH.CARE Model
๓. เป้าหมายของการดำเนินงาน
๓.๑ เป้าหมายเชิงปริมาณ
๓.๑.๑ นักเรียนทุกคนตระหนักถึงโทษและมีทักษะในการป้องกันยาเสพติด
๓.๑.๒ นักเรียนทุกคนหลีกเลี่ยงพฤติกรรมและไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุข
๓.๒ เป้าหมายเชิงคุณภาพ
๓.๒.๑ นักเรียนโรงเรียนวัดหนองหอย ร้อยละ 100 ตระหนักถึงโทษและมีทักษะในการป้องกันยาเสพติด
๓.๒.๒ นักเรียนโรงเรียนวัดหนองหอย ร้อยละ 100 หลีกเลี่ยงพฤติกรรมและไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุข
๔. ขั้นตอนการดำเนินงาน
การพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ด้วยนวัตกรรม NH.CARE มีหลักการและแนวคิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (Participation Management) ซึ่งได้นำทฤษฎีการบริหารเป็นฐานความคิดและมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ได้แก่
๑. หลักการของวงจรเดมมิ่ง (PDCA )
๒. การบูรณาการการดำเนินงานแบบองค์รวม เกี่ยวกับเรื่องยาเสพติดและอบายมุข ขั้นตอนการดำเนินงานประยุกต์ใช้หลักการบริหารจัดการศึกษา โดยใช้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
หลักการของวงจรเดมมิ่ง (PDCA)
PDCA คือ วงจรที่พัฒนามาจากวงจรที่คิดค้นโดยวอล์ทเตอร์ ซิวฮาร์ท (Walter Shewhart ) ผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรมและต่อมาวงจรนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเมื่อ เอดวาร์ด เดมมิ่ง (W.Edwards Deming) ปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพเผยแพร่ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการทำงานของพนักงานภายในโรงงานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยค้นหาปัญหาอุปสรรคในแต่ละขั้นตอนการผลิตโดยพนักงานเอง จนวงจรนี้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า วงจรเดมมิ่ง ต่อมาพบว่า แนวคิดในการใช้วงจร PDCA นั้นสามารถนำมาใช้ได้กับทุกกิจกรรม จึงทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลกPDCA เป็นอักษรนำของศัพท์ภาษาอังกฤษ ๔ คำคือ
P : Plan = วางแผน
D : DO = ปฏิบัติตามแผน
C : Check = ตรวจสอบ / ประเมินผลและนำผลประเมินมาวิเคราะห์
A : Action = ปรับปรุงดำเนินการให้เหมาะสมตามผลการประเมิน
การบูรณาการการดำเนินงานแบบองค์รวมเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติดและอบายมุข ขั้นตอนการดำเนินงานได้ประยุกต์ใช้หลักการบริหารจัดการศึกษา โดยใช้หลักความร่วมมือของภาคีเครือข่าย
หลักความร่วมมือ (Cooperation) หมายถึง ความเต็มใจของแต่ละคนในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง ขององค์การหรือหน่วยงาน ความร่วมมือเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยความสมัครใจ แม้จะไม่มีหน้าที่โดยตรง อาจจะทำเรื่องเดียวกันในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลาก็ได้ แม้กระทั่งอาจให้ความร่วมมือทำบางเรื่องบางเวลา การมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบปฏิบัติด้วยความสามัคคี สมานฉันท์ และมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อให้ทุก ๆ ฝ่ายร่วมมือปฏิบัติงานเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน ขับเคลื่อนให้ตรงกับวัตถุประสงค์ และนโยบายขององค์กร ที่สำคัญต้องรับรู้ว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มตามโครงสร้างที่มีอยู่ในองค์กรและผู้ปฏิบัติงาน
จากหลักการวงจรเดมมิ่ง (PDCA) และการบูรณาการการดำเนินงานแบบองค์รวมเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติดและอบายมุข ขั้นตอนการดำเนินงานได้ประยุกต์ใช้หลักการบริหารจัดการศึกษา โดยใช้หลักความร่วมมือของภาคีเครือข่าย โรงเรียนวัดหนองหอยได้พัฒนารูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขด้วยนวัตกรรม NH.CARE โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
๑. การวางแผน (Plan: P)
๑.๑ จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง องค์กรต่าง ๆ และบุคลากรภายในโรงเรียนเพื่อชี้แจงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของการจัดทำนวัตกรรมรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้ภาคีเครือข่าย ตลอดจนร่วมเสนอแนวทางในกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรม ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมโดยเน้นการมีส่วนร่วม
๑.๒ แต่งตั้งคณะทำงานและจัดให้มีการประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานและเตรียมการจัดกิจกรรมต่างๆ
๑.๓ประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เว็บบล็อกของโรงเรียน ป้ายประชาสัมพันธ์จดหมายข่าวถึงผู้ปกครอง หนังสือเชิญหน่วยงานและองค์กรต่างๆ
๒. การดำเนินงาน (Do: D)
ดำเนินงานตามกิจกรรม ดังต่อไปนี้
N = Network คือ การสร้างภาคีเครือข่ายในพื้นที่ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วม เช่น สถานศึกษาใกล้เคียง หน่วยงานราชการต่างๆ ตำรวจ พระสงฆ์ ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องถิ่นและชุมชน ทั้งนี้เพื่อช่วยสถานศึกษาในการดำเนินงานให้มีมาตรการป้องกันและการป้องปรามติดตามผู้จำหน่ายและผู้เสพและมาตรการความปลอดภัย เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับสถานศึกษาในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติดและแหล่งอบายมุขรอบสถานศึกษา
H = Harmony คือ ความสามัคคี ในการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างผู้บริหารโรงเรียนกับผู้นำชุมชน หน่วยงานต่างๆ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน สถานีตำรวจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้ง ผู้ปกครอง คณะครูและนักเรียน ในการร่วมกันขับเคลื่อนโครงการ เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์อันมุ่งมั่น และความตั้งใจที่จะร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรม
C = Communication คือ การประสานงานและ ร่วมมือกันปฏิบัติงานของภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรม การสื่อสารรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง มีกิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน อาทิ การเยี่ยมบ้าน การประชุมสัญจร การระดมทรัพยากร การให้บริการด้านสถานที่ การเดินรณรงค์ การประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านแผ่นพับ ป้าย เว็บไซต์ และเว็บบล็อกของโรงเรียน
A = Activity คือ กิจกรรมการให้บริการวิชาการ จัดกิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันและการป้องกันที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน ประชุมสายสัมพันธ์ผู้ปกครอง กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ โดยการให้หน่วยงาน/องค์กรต่างๆ ให้ความรู้แก่นักเรียน บุคลากร และชุมชน เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่อนามัย ปลัดอำเภอ มีกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ช่วยให้มีความสามัคคี และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ไม่มั่วสุมกับยาเสพติด หรือสื่อลามก อนาจร เช่น การเล่นกีฬา การเล่นดนตรี ศิลปะ และกิจกรรมตามกลุ่มสนใจร่วมกันจัดทำขึ้นมาเพื่อพัฒนาร่างกายและจิตใจ รวมทั้งกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
R = Rally คือ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ๘ กลุ่มสาระ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ มีการจัดการเรียนการสอนโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนได้เชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการถ่ายทอดภูมิรู้ให้กับนักเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
E = Environment คือ การจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน ไม่มีพื้นที่เสี่ยง มีแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการ เช่น จัดบอร์ด จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือวารสาร จดหมายข่าว ที่มีความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อุบัติภัยและอบายมุข นำสถานการณ์ข่าวสารทุกด้านมาเสนอให้เพื่อนนักเรียนรับฟัง
๓. การตรวจสอบ (Check: C)
๓.๑ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านแผ่นพับ ป้าย เว็บไซต์ของโรงเรียน
๓.๒ ผู้บริหารติดตามการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
๓.๓ ผู้เกี่ยวข้อง ประเมินผลการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข
๔. การปรับปรุง (Action : A)
นำผลดำเนินการมาพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาการดำเนินงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยอาศัย
ความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และรายงานผล ดังแผนภาพการดำเนินงาน การพัฒนาสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขด้วยนวัตกรรม NH.CARE
ระบบและการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว NH.CARE Model
๕. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
โรงเรียนวัดหนองหอย ได้ดำเนินการพัฒนา นวัตกรรมส่งเสริมให้นักเรียน ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ด้วยนวัตกรรม NH. CARE จนก่อเกิดความสำเร็จ ดังนี้
ด้านผู้เรียน
นักเรียนโรงเรียนวัดหนองหอย ร้อยละ 100 ตระหนักถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อบายมุขและอุบัติภัยที่มีผลกระทบต่อตนเองและสังคม หลีกเลี่ยงพฤติกรรมและไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุข มีความคิดริเริมสร้างสรรค์สามารถสร้างองค์ความรู้และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จากการร่วมกิจกรรมห้องเรียนสีขาว นักเรียนไม่เสพสารเสพติด หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและป้องกันตนเองจากอุบัติเหตุและอบายมุข ปฏิบัติตามระเบียบสถานศึกษา ทุกคนปลอดยาเสพติดและอบายมุข จำนวนนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงลดลง การช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา ผลที่ได้จากการช่วยเหลือ สามารถติดตามนักเรียนมาเรียนจนจบหลักสูตร สามารถช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหามาเรียนในสถานศึกษาจนจบภาคบังคับ
๖. ปัจจัยความสำเร็จ
๖.๑ ผู้บริหารให้การสนับสนุนด้านขวัญและกำลังใจ แนะนำ กำกับติดตามและร่วมกันประเมินผลการดำเนินงาน
๖.๒ ครูทุกคนทุ่มเทกำลังใจ กำลังกายในการปฏิบัติงาน
๖.๓ ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการกำกับ ติดตาม และแก้ไขปัญหาของบุตรหลานเป็นอย่างดี
๖.๔ ชุมชน และผู้นำท้องถิ่น ให้การสนับสนุนและ มีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของนักเรียน
๖.๕ อัตราส่วนของครู : นักเรียน มีอัตราส่วนที่กำลังดี ส่งผลให้ครูประจำชั้นทุกคนดูแลนักเรียนในระดับชั้นที่ตนเองรับผิดชอบอย่างทั่วถึง ปัญหาหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่นักเรียนแสดงออกจะได้รับการดูแลและแก้ไขอย่างเหมาะสมทันเวลา
๖.๖ สถานศึกษามีเป้าหมายที่จะพัฒนานักเรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม อย่างชัดเจน ปลูกฝังค่านิยม
ที่ถูกต้อง ปลูกจิตสำนึกที่ดี สร้างทักษะชีวิตของเด็กอย่างเข้มแข็งส่งผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติด
๗.บทเรียนที่ได้รับ
บทเรียนที่ได้รับ จากการดำเนินการพัฒนา นวัตกรรมส่งเสริมนักเรียนปลอดยาเสพติดและอบายมุขโดยใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ด้วยนวัตกรรม NH.CARE ประกอบด้วยประเด็นต่างๆดังนี้
๗.๑ การออกแบบการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ คือ การใช้ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานในปีการศึกษาที่ ผ่านมา มาร่วมกันวิเคราะห์จุดแข็งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ หรือดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาปัจจุบัน และวิเคราะห์ถึงจุดอ่อนที่ควรปรับปรุงก่อนดำเนินการตามกระบวนการในวงรอบถัดไป คณะครูและบุคลากรในโรงเรียนทุกคน ควรใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ เพื่อค้นคิดหาวิธีการใหม่ๆ ตามหลักวิชาการ หรือแม้แต่การ ลองผิด ลองถูก เพื่อมาปรับปรุง และพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ต้องอ่านให้มาก ฟังให้มาก จดให้มาก และคิดให้มาก มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และไม่ย่อท้อ เมื่อเจอปัญหาหรืออุปสรรค ปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานอยู่เสมอ
๗.๒ การแก้ปัญหายาเสพติด ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง อาศัยความร่วมมือร่วมใจจากผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน โรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องมีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง เพื่อ ร่วมกันดูแล สอดส่อง ปกป้อง คุ้มครองนักเรียน รวมทั้งให้การสนับสนุนนักเรียนในการทำกิจกรรมด้านต่างๆ อย่าง เต็มที่ มุ่งเน้นผลประโยชน์ที่เกิดแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
๗.๓ วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันทางร่างกายและจิตใจให้แก่นักเรียน เปรียบเสมือนการให้วัคซีน (Vaccine) เพื่อใช้ต่อต้านยาเสพติด นักเรียนจะสร้างภูมิคุ้มกันด้วยตนเอง สามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะสิ่งที่ดี หรือหนทางแห่งอบายมุข และสามารถตัดสินใจเพื่อการแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมีสติและมีวิจารณญาณ รู้จักยับยั้งชั่งใจต่อสิ่งยั่วยุต่างๆ โดยจัดกิจกรรมโครงงานคุณธรรมทั้งระบบ นักเรียนต้องนำคุณธรรมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบในตนเองในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ห่างไกลจากยาเสพติด
๘. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
การเผยแพร่
๑. เผยแพร่นวัตกรรมโดยการจัดกิจกรรมเสียงตามสาย โดยให้คณะกรรมการนักเรียนห้องเรียนสีขาวเป็นผู้ประชาสัมพันธ์
๒. การเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook โรงเรียนวัดหนองหอย และเว็ปไซต์โรงเรียน
รางวัลที่ได้รับ
ผลงานสถานศึกษา
๑. รางวัลเสมา ป.ป.ส.ประเภทผลงานดีเด่นรักษามาตรฐานระดับเพชร ปีที่ ๑ โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขปีการศึกษา ๒๕๖๕
๒. รางวัลเสมา ป.ป.ส.ประเภทผลงานดีเด่นรักษามาตรฐานระดับเพชร ปีที่ ๑ โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขปีการศึกษา ๒๕๖๖
๓. ได้รับเกียรติบัตรระดับยอดเยี่ยม อันดับที่ ๒ ประเภทสถานศึกษาระดับประถมศึกษาขนาดกลาง การคัดเลือกสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี ๒๕๖๗ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๔.รางวัล IQA AWARD ระดับดีเด่น ประเภทสถานศึกษาขนาดกลาง ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
5.รางวัลสถานศึกษาปลอดภัยประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ ประเภทรางวัล เกียรติบัตรดีเด่น
ผลงานครูและบุคลากร
๑. นางสาวธัญมาศ นิยมญาติ รับรางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่นรักษามาตรฐานระดับเพชร ๑
ปีที่ ๑ โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา ๒๕๖๕
๒. นางสาวไอลดา โสรถาวร รับรางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่นรักษามาตรฐานระดับเพชร ปีที่ ๒
โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา ๒๕๖๖
๓. นางสาวธัญมาศ นิยมญาติ รับรางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่นรักษามาตรฐานระดับเพชร ๒
ปีที่ ๑ โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา ๒๕๖๖
๔. นายกนกพล จันทร์ดารัตน์ ได้รับรางวัลผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ภายใต้แนวคิด องค์กรแห่งการเรียนรู้ สร้างคนดี มีความสุข ด้านการเสริมสร้างความปลอดภัยของสถานศึกษา เหรียญทองชนะเลิศอันดับ @ งานมหกรรมวิชาการ PCK 1 Innovation Open House ๒๐๒๔ ปีที่ ๒
๕. นางสาวจุฑารัตน์ นาคทุ่งเตา ได้รับรางวัลผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ภายใต้แนวคิด องค์กรแห่งการเรียนรู้ สร้างคนดี มีความสุข ด้านการสร้าง เสริม เติม เต็ม ทักษะอาชีพ เหรียญทองชนะเลิศอันดับ # งานมหกรรมวิชาการ PCK ๑ Innovation Open House ๒๐๒๔ ปีที่๒
๖. นางสาวขวัญตา รื่นเริง ได้รับรางวัลผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ภายใต้แนวคิด องค์กรแห่งการเรียนรู้ สร้างคนดี มีความสุข ด้านการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย เหรียญทองชนะเลิศอันดับ ๒ งานมหกรรมวิชาการ PCK ๑ Innovation Open House ๒๐๒๔ ปีที่๒
๗. นางสาวธัญมาศ นิยมญาติ ได้รับรางวัลผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ภายใต้แนวคิด องค์กรแห่งการเรียนรู้ สร้างคนดี มีความสุข ด้านการส่งเริม สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เหรียญทองชนะเลิศอันดับ ๒ งานมหกรรมวิชาการ PCK ๑ Innovation Open House ๒๐๒๔ ปีที่๒
๘. นางสาวจุฑารัตน์ นาคทุ่งเตา ครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศ กิจกรรม การประกวดโครงงานอาชีพ ระดับชั้น ป.๔-ป.๖ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๗๒ปีการศึกษา ๒๕๖๗ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑
๙. นางสาวณัชฌา ใจอาษา ครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศ กิจกรรม การประกวดโครงงานอาชีพ ระดับชั้น ป.๔-ป.๖ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๗๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๗ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑
ผลงานนักเรียน
๑. เด็กหญิงกมลชนก โชติช่วง ได้รับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศ กิจกรรม การประกวดโครงงานอาชีพ ระดับชั้น ป.๔-ป.๖ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๗๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๗ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑
๒. เด็กหญิงปภาวารินทร์ นาคโต ได้รับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศ กิจกรรม การประกวดโครงงานอาชีพ ระดับชั้น ป.๔-ป.๖ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๗๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๗ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑
๓. เด็กหญิงอินทร์อร แดงโชติ ได้รับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศ กิจกรรม การประกวดโครงงานอาชีพ ระดับชั้น ป.๔-ป.๖ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๗๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๗ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑
4.เด็กชายณัฐพล จันทร์แดง ได้รับรางวัลระดับภาคคณะสงฆ์ กิจกรรมสวดมนต์หมู่สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น งานมหกรรมส่งเสริมศีลธรรมและการประกวดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านพระพุทธศาสนา ปีที่ ๖
5.เด็กชายสรธัญ หวานสนิท ได้รับรางวัลระดับภาคคณะสงฆ์ กิจกรรมสวดมนต์หมู่สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น งานมหกรรมส่งเสริมศีลธรรมและการประกวดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านพระพุทธศาสนา ปีที่ ๖
6.เด็กหญิงรุ่งฤดี ทรงพล ได้รับรางวัลระดับภาคคณะสงฆ์ กิจกรรมสวดมนต์หมู่สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น งานมหกรรมส่งเสริมศีลธรรมและการประกวดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านพระพุทธศาสนา ปีที่ ๖
7.เด็กชายพิพัฒน์ นิ่มอนงค์ ได้รับรางวัลระดับภาคคณะสงฆ์ กิจกรรมสวดมนต์หมู่สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น งานมหกรรมส่งเสริมศีลธรรมและการประกวดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านพระพุทธศาสนา ปีที่ ๖
8.เด็กหญิงปรียา อ่างทอง ได้รับรางวัลระดับภาคคณะสงฆ์ กิจกรรมสวดมนต์หมู่สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น งานมหกรรมส่งเสริมศีลธรรมและการประกวดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านพระพุทธศาสนา ปีที่ ๖
9.เด็กหญิงกาลัญญุตา สิทธิกุล ได้รับรางวัลระดับภาคคณะสงฆ์ กิจกรรมสวดมนต์หมู่สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น งานมหกรรมส่งเสริมศีลธรรมและการประกวดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านพระพุทธศาสนา ปีที่ ๖
นางสาวธัญมาศ นิยมญาติ รับรางวัลเสมา ป.ป.ส.
ประเภทผลงานดีเด่น รักษามาตรฐานระดับเพชรปีที่ 2
โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2566