ชื่อผลงานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5S Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง รายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อ-สกุล ผู้วิจัย นางสาวกฤษณา ทิมสี
ตำแหน่งผู้วิจัย ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร
ปีที่ทำวิจัย 2566 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5S Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง รายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5S Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง รายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัด การเรียนรู้ 5S Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง รายวิชาการสื่อสารและ การนำเสนอ (IS2) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 4) เพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีม หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5S Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ แบบนำตนเอง รายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ที่เรียนรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) ซึ่งได้มาโดยการสุ่ม แบบง่าย (Simple random sampling) จับฉลาก 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5S Model แบบประเมินความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดการทำงานเป็นทีม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5S Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง รายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.35 S.D. = 0.09)
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5S Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง รายวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.31 S.D. = 0.22)
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ 5S Model สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 21.81 คิดเป็น ร้อยละ 72.71
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5S Model มีการทำงานเป็นทีมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.55 และ S.D. = 0.22)