ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด
โดยใช้รูปแบบการประเมินซีโป (CPOs Evaluation Model) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ผู้ประเมิน : นางสาวมยุรี แก้วภู่ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ปีที่ดำเนินงาน : 2567
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด โดยใช้รูปแบบการประเมินซีโป (CPOs Evaluation Model) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ มีความมุ่งหมายของการประเมินโครงการเพื่อ 1. ประเมินโครงการของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด โดยใช้รูปแบบการประเมินซีโป (CPOs Evaluation Model) ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) 2) ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ (Process) และ 3) ประเมินผลผลิตของโครงการ (Outcome) และ 2. ประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2566 จำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการประเมินความสอดคล้องเชิงเนื้อหา (IOC)
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ การประเมินปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด ส่วนของความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการและความพร้อม และทรัพยากรในโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. กระบวนการดำเนินโครงการ การประเมินกระบวนดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด ส่วนของกิจกรรมรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล กิจกรรมคัดกรองนักเรียน กิจกรรมส่งเสริมนักเรียน กิจกรรมป้องกันและช่วยเหลือและกิจกรรมส่งต่อนักเรียนในโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
3. ผลผลิตของโครงการ การประเมินผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในส่วนคุณลักษณะของนักเรียนในโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
4. ประเมินความพึงพอใจ การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
รายงานการประเมินโครงการของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ด โดยใช้รูปแบบการประเมินซีโป (CPOs Evaluation Model) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้
1. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียนควรนำข้อมูลจากรายงานการประเมินผลมาใช้ในการพัฒนาโครงการให้มีความโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ และสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงเรียน
2. ควรมีการจัดทำสารสนเทศ รายงานผลการปฏิบัติงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมขั้นตอนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ชัดเจนและครบถ้วน
3. ควรมีการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ มีทักษะชีวิต นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนบ้านทุ่งเสม็ดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ กำหนด
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูประจำชั้นกับพฤติกรรมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. ควรศึกษาและสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน