บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน และ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีเครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 35 คน ที่มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานมีระดับสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการพูดภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x̄= 4.48, S.D.= 0.71)
คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน, ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ, ความพึงพอใจ, ประชากร
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน และ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีเครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน
2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 35 คน ที่มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานมีระดับสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการพูดภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x̄= 4.48, S.D.= 0.71)
คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน, ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ, ความพึงพอใจ, ประชากร
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน
วิธีการดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่
1.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 10 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 360 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 100 คน ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ 6 ซึ่งตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม
2. เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน จำนวน 6 แผน ผ่านการหาคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา แล้วนำคะแนนมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดล้อง พบว่า หัวข้อของแผนการจัดการเรียนรู้ทุกหัวข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องซึ่งได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 และผู้วิจัยนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 2) แบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 10 ข้อคำถาม ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน (1) ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 1 ท่าน (2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา และคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง พบว่าอยู่ในระดับ 1.00 และนำแบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษไปทดลองใช้ (Try out) กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 คนที่ใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ประกอบไปด้วย 3 ตอน ได้แก่ (1) ด้านเนื้อหา (2) ด้านการจัดการเรียนรู้ (3) ด้านประโยชน์ที่ได้รับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
โดยข้อคำถามได้หาค่าความสอดคล้อง พบว่า ค่าความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 จากนั้นนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ผู้วิจัยดำเนินแผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) การแนะนำวัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ผู้เรียนทดสอบก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 10 ข้อและทำการบันทึกผล 3) ดำเนินการจัดการเรียนรู้กับผู้เรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 6 แผนการเรียนรู้ ใช้เวลา 6 สัปดาห์ วันละ 2 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 คาบเรียน ไม่รวมการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ผู้เรียนทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดทักษะการพูดจำนวน 10 ข้อ และบันทึกผล 5) ผู้เรียนทำแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 6) นำผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติ และ 7) แปลความหมายโดยการวเคราะห์แบบทดสอบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยนำแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถาม และแบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ มาหาค่าความเที่ยงตรงโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Object Congruence: IOC) 2) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ มีดังนี้ ผู้วิจัยนำผลที่ได้จากการใช้เครื่องมีกับกลุ่มตัวอย่างมาเปรียบเทียบโดยใช้ t-test ซึ่งตั้งเกณฑ์ไว้ในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 วิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำผลไปแปลความหมาย
5. สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที (t- test)
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยเรื่อง ผลของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยสามารถสรุปผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน โดยรวยมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x̄=4.48, S.D. = 0.71)