บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าและข้อคิดจากวรรณกรรมท้องถิ่น บูรณาการรูปแบบการจัดการเรียนรู้เทคนิคใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านป่าติ้ว ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าและข้อคิดจากวรรณกรรมท้องถิ่น
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านป่าติ้ว โดยใช้แบบฝึกทักษะบูรณาการร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้เทคนิคใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าและข้อคิดจากวรรณกรรมท้องถิ่น บูรณาการรูปแบบการจัดการเรียนรู้เทคนิคใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านป่าติ้ว จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าและข้อคิดจากวรรณกรรมท้องถิ่น บูรณาการรูปแบบการจัดการเรียนรู้เทคนิคใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้คือ E1/E2 เท่ากับ 89.19/89.21
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าและข้อคิดจากวรรณกรรมท้องถิ่น บูรณาการรูปแบบการจัดการเรียนรู้เทคนิคใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าและข้อคิดจากวรรณกรรมท้องถิ่น บูรณาการรูปแบบการจัดการเรียนรู้เทคนิคใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.70, S.D.= 0.45)