ชื่อผลงาน คุณธรรมนำใจ ห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข โดย PATAM Model
ชื่อผู้เสนอผลงาน โรงเรียนบ้านหนองตับเต่า ตำบลป่าปอ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โทร.0880645700
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
ผู้บริหาร นายวชรปกรณ์ ทองน้อย
ผู้รับผิดชอบ นางสาวอำภาภรณ์ ไสทอง
1. ความเป็นมาและความสำคัญของผลงาน
สภาพบริบทโรงเรียนบ้านหนองตับเต่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านหนองตับเต่า ตำบลป่าปอ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40110 เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ดำเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียน 110 คน มีข้าราชการครูและบุคลาการทางการศึกษาจำนวน 14 คน บนพื้นฐานสภาพครอบครัวนักเรียนที่ยากจนและขาดโอกาส ผู้ปกครองนักเรียน ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างทั่วไป ทำให้นักเรียนโดยส่วนใหญ่ไม่ได้อาศัยอยู่กับครอบครัว เนื่องจาก ผู้ปกครองรับจ้างต่างจังหวัด ปัญหาผู้ปกครองหย่าร้าง นักเรียนอาศัยอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติเลี้ยงดู ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้นักเรียนในกลุ่มนี้เสี่ยงที่จะเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและอบายมุข ขาดโอกาสทางการศึกษา เนื่องจากขาดภูมิคุ้มกันที่ดีจากครอบครัว เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านหนองตับเต่า จึงได้ดำเนินการที่จะสร้างภูมิคุ้มกันเฝ้าระวัง ปัญหาด้านยาเสพติดและอบายมุขให้กับนักเรียน
“เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชน ในทุกระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าทันต่อโลก ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อมาเมื่อมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายนอกหรือภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินงานทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฏี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”
โรงเรียนบ้านหนองตับเต่า จึงน้อมนำเอาศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านแผนปฏิบัติการโรงเรียน หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ มาตรฐานตัวชี้วัดและกิจกรรม มาพัฒนานักเรียนในทุกด้าน บูรณาการผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียน มีความรู้ มีเหตุผล รู้จักวิเคราะห์ และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนคุณธรรม สพฐ เป็นสถานศึกษาในระบบปกติ ที่มุ่งปลูกฝังให้ผู้บริหาร ครู นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการปลูกฝังคุณธรรม 5 ประการ ได้แก่ 1) พอเพียง 2) กตัญญู 3) ซื่อสัตย์สุจริต 4) ความรับผิดชอบ และ 5) อุดมการณ์คุณธรรม ให้ทุกคนปฏิบัติตนเป็น “คนดี” ทั้งคิดดี พูดดี ทำดี ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม สุจริต มีวินัย และมีความสามัคคีซึ่งกันและกัน เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดไป
ทั้งนี้การพัฒนาผู้เรียนดังกล่าวร่วมกับผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมความดีในรูปแบบต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งนำใปสู่การพัฒนาและปรับเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ได้อย่างยังยืน และนำไปขยายเครือข่ายได้ มีศักยภาพในการคิด การแก้ปัญหาที่เหมาะสม (โยนิโสมนสิการ) โดยมีครู และผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกัลยาณมิตรสำคัญที่รักและปรารถนาดี ที่จะพัฒนาผู้เรียนอย่างดีที่สุดด้วยความเพียรพยายาม
ด้วยการนี้โรงเรียนบ้านหนองตับเต่าตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร่วมกันวิเคราะห์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการออกแบบนวัตกรรม เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือ ขับเคลื่อนการพัฒนา ทั้งด้านการมีส่วนร่วม ที่จะพัฒนาลูกหลานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น นำตัวให้ห่างไกลยาเสพติด มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี จึงน้อมนำเอาหลักศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทางพระพุทธศาสนาโรงเรียนคุณธรรมมาบูรณาการสู่กิจกรรมการเรียนการสอน
2 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของผลงาน/นวัตกรรมถอดบทเรียน (Best Practice)
2.1 วัตถุประสงค์
1) เพื่อเสริมสร้างพัฒนาทักษะชีวิตให้ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ PATAM Model
2) เพื่อนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตับเต่ามีความรู้ และมีภูมิคุ้มกันต่อปัญหายาเสพติด หรือหลีกเลี่ยง จากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและอบายมุข
3) เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือผู้ที่ เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติด และอบายมุข ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด และมีนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
4) เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแก่โรงเรียน และหน่วยงานภายนอกต่าง ๆ
2.2 เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1) นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองตับเต่า ปีการศึกษา 2567 จำนวน 110 คน มีความรู้ และมีภูมิคุ้มกันต่อปัญหายาเสพติด หรือหลีกเลี่ยง จากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และอบายมุข
2) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 14 คน ได้รับการส่งเสริมและ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างเต็มความสามารถ มีความรู้ความเข้าใจ สามารถให้คำปรึกษาและแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติด และอบายมุข มีนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็น รูปธรรม
เชิงคุณภาพ
1) โรงเรียนบ้านหนองตับเต่า มีการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดในสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ PATAM Model
2) ครูได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างเต็มความสามารถ มีความรู้ความเข้าใจ สามารถให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติด และอบายมุข มีนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
3) นักเรียนเกิดเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพตามความสามารถของแต่ละบุคคล มีภูมิคุ้มกันต่อ ปัญหายาเสพติด หรือหลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และอบายมุข
4) เครือข่ายความร่วมมือมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดใน สถานศึกษาผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา
3.ขั้นตอนการดำเนินงาน
ได้ดำเนินการตามกระบวนการบริหารจัดการที่ประยุกต์ขึ้น โดยใช้วงจร PDCA หรือ Deming Cycle เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน 4 ขั้น คือ Plan (วางแผน) DO (ปฏิบัติ) Check (ตรวจสอบ) และ Action (การปรับปรุง) โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. P : Plan การวางแผนด้วยกิจกรรม ดังนี้
1.1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาจากการประชุมคณะครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วนามาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา
1.2 ประชุม วางแผน ร่วมกับครูประจาชั้น เพื่อทาความเข้าใจนโยบาย สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข
1.3 ประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อรับทราบนโยบาย การดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
- ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหนองตับเต่า อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
- ประชุมผู้ปกครองนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง
1.4 ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เตรียมพร้อมสู่การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยแต่งตั้งผู้รับผิดชอบและคณะทำงาน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข จัดทำแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย
- โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
- โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
- กิจกรรมห้องเรียนสีขาว
- คณะกรรมการคลินิกเสมารักษ์
1.5 แต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาสีขาวและคณะกรรมการห้องเรียนสีขาว 4 ฝ่ายเพื่อ
ขับเคลื่อนกลยุทธ์
1.6 สร้างเครื่องมือประเมินผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้แก่ แบบสอบถาม เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมส่งเสริม แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของครู นักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการดาเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
1.7 จัดหาทรัพยากร/งบประมาณ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
1.8 จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง ผู้บริหารโรงเรียนกับผู้ปกครอง (MOU) และ
ระหว่างสถานศึกษากับสถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
- สถานีตำรวจภูธรบ้านไผ่
- โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลป่าปอ
- โรงเรียนในศูนย์เครือข่าย
- คณะกรรมการสถานศึกษา
- ผู้นำชุมชน
- ตัวแทนผู้ปกครอง
- ตัวแทนนักเรียน
- ตัวแทนครู
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าปอ
2. A:Awareness สร้างความตระหนัก ด้วยการประชุมชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่นักเรียนและจัดองค์กรภายในห้องเรียนประกอบด้วยแกนนำนักเรียน 4 ฝ่าย คือ
2.1 ฝ่ายการเรียน มีหน้าที่ช่วยเหลือในด้านวิชาการเกี่ยวกับการเรียน การบ้าน โครงงานหรือปัญหาการเรียน ต้องรับผิดชอบแก้ไขช่วยเหลือ และให้คำแนะนำ คำอธิบาย ชี้แนะ แหล่งเรียนรู้ และนำเสนอครูประจำชั้น
2.2 ฝ่ายการงาน มีหน้าที่ดูแลความสะอาดเรียบร้อยในห้องเรียน รักษาของมีค่า และทรัพย์ สมบัติของห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุด ป้องกันอุบัติเหตุภายในห้องเรียน จัดสภาพสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนให้น่าเรียน และป้องกันไม่ให้มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นในห้องเรียน
2.3 ฝ่ายกิจกรรม มีหน้าที่จัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ทั้งในห้องเรียน และกิจกรรมในทุกระดับชั้น เช่น การเล่นดนตรี กีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม และจัดกิจกรรมในกลุ่มสนใจของเพื่อน ๆเพื่อใช้เวลาว่างให้ เป็นประโยชน์ ไม่ไปมั่วสุมหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
2.4 ฝ่ายสารวัตรนักเรียน มีหน้าที่สอดส่องดูแลความเรียบร้อยทั้งในห้องเรียนและมุมอับ เช่น ห้องน้ำ หรือที่บริเวณอาคาร แหล่งที่ไปมั่วสุมสูบบุหรี่ ดูแลเพื่อน หากมีพฤติกรรมที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือพฤติกรรมเสี่ยง รวมทั้งปัญหาส่วนตัวในด้านต่าง ๆ ให้คณะกรรมการห้องเรียนแก้ไข แต่หากไม่สามารถแก้ไขได้ ให้นักเรียนบอกครูประจำชั้น เพื่อแก้ไขต่อไป
3. T :Take action ดำเนินการผ่านกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
3.1 กิจกรรมสภานักเรียน จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจวิถีประชาธิปไตยและรู้จักการใช้เหตุผลในการตัดสินใจ การรู้จักแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบโดยมีผู้นำหรือหัวหน้าเป็นคนประสานการทำงานให้สำเร็จ
3.2 กิจกรรมการจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน ไม่มีพื้นที่เสี่ยง มีแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการ เช่น จัดบอร์ด จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือวารสาร จดหมายข่าว ที่มีความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อุบัติภัยและอบายมุข นำสถานการณ์ข่าวสารทุกด้านมาเสนอให้เพื่อนนักเรียนรับฟัง รวมทั้งการให้นักเรียนได้ใกล้ชิดกับครูดี เพื่อนดี และสังคมดี
3.3 กิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการให้นักเรียนได้เรียนรู้และมีคุณธรรมผ่านกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เพื่อปลูกฝัง ป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับนักเรียน ด้วยการเรียนรู้จากการลงมือกระทำจากการปฏิบัติจริงของนักเรียน โดยมีครูเป็นผู้ให้การแนะนำ สั่งสอน ฝึกฝน อบรม เป็นการสร้างนิสัยให้นักเรียนมีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่ทาดี และใฝ่รักษาสุขภาพ เมื่อนักเรียนมีคุณธรรมหรือคุณลักษณะที่ดีย่อมไม่นาความรู้ไปใช้ในทางมิชอบ ไม่สร้างความเดือดร้อน เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยแบ่งเป็นกิจกรรมตามมาตรการ 4 ด้าน ได้แก่
ด้านที่ 1 มาตรการป้องกัน
1. กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุข
2. กิจกรรมวันงดสูบบุหรี่โลก
3. กิจกรรมค่ายคุณธรรม
4. กิจกรรมโรงเรียนคุณธรรม
5. กิจกรรมอบรมความรู้เรื่องเพศศึกษา
6. กิจกรรมดนตรี นาฏศิลป์ และนันทนาการ
7. กิจกรรมกีฬาต่อต้านยาเสพติด
8. กิจกรรม To be number one
9. กิจกรรมส่งเสริมการแสดงออกวันสำคัญ
10. กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย
11. กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ
12. กิจกรรมห้องเรียนสีขาว
ด้านที่ 2 มาตรการค้นหา
1. กิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน/การเยี่ยมบ้าน
2. กิจกรรมสุ่มตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด
ด้านที่ 3 มาตรการรักษา
1. กิจกรรมคลินิกเสมารักษ์/กิจกรรมแนะแนว
ด้านที่ 4 มาตรการเฝ้าระวัง
1. กิจกรรมครู D.A.R.E
2. กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีต้านภัยยาเสพติด
3. กิจกรรมตู้แดงเสมารักษ์
4. A :Assessment การประเมินเป็นการตรวจสอบการดำเนินการจากการสร้างภาคีเครือข่ายในพื้นที่ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วม เช่นสถานศึกษาใกล้เคียง หน่วยงานราชการต่างๆ ตำรวจ พระสงฆ์ ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องถิ่นและชุมชน ทั้งนี้เพื่อช่วยสถานศึกษาในการดำเนินงานให้มีมาตรการป้องกันและการป้องปรามติดตามผู้จำหน่ายและผู้เสพและมาตรการความปลอดภัย เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับสถานศึกษาในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติดและแหล่งอบายมุข รอบสถานศึกษา มีการตรวจสอบติดตาม ประเมินผล ว่า มีปัญหา อุปสรรคที่ควรแก้ไขและพัฒนาหรือไม่ ถ้าหาก “ใช่” ก็จะนำปัญหา อุปสรรคที่พบมาเป็นสิ่งที่จะต้องแสวงหาวิธีการแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาอีกครั้ง ถ้าหาก “ไม่ใช่” แสดงว่ารูปแบบการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดในสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ PATAM Model บรรลุผลตามเป้าหมายที่ กำหนดไว้
5. M : Motivation การสร้างแรงจูงใจจากการให้กำลังใจ เพื่อสร้างความยังยืน เพิ่มพลังในการดำเนินงานตามกิจกรรม ซึ่งมีทั้งการพบปะพูดคุยกับคณะทำงาน รับฟังปัญหาอุปสรรค สนับสนุนปัจจัยที่จำเป็นตามความเหมาะสม เสริมด้วยรางวัลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ประทับใจ และจัดทำรายงานเผยแพร่ ตลอดทั้งการประชาสัมพันธ์กิจกรรมดีเด่น ทำให้เกิดครูรักเด็ก เด็กรักครู ให้ครูสอนให้เด็กมีน้ำใจต่อเพื่อนไม่ให้แข่งขันกัน แต่ให้แข่งกับตัวเองและให้เด็กที่เรียนเก่งช่วยสอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า ให้ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนทำร่วมกันเพื่อให้เห็นคุณค่าของความสามัคคี ปฏิบัติตนเป็น “คนดี” ทั้งคิดดี พูดดี ทำดี ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม สุจริต มีวินัย และมีความสามัคคีซึ่งกันและกัน ห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดไป
4. ผลการดำเนินงาน
โรงเรียนบ้านหนองตับเต่า ได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดี มีธรรมนำใจ ห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข มีผลการดำเนินการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดในสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ PATAM Model เป็นไปตามจุดประสงค์และเกิดผลแห่งความสำเร็จ ดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์
1) นักเรียน
- นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยง ปัญหายาเสพติดและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้ร้อยละ 100
- นักเรียนได้รับรางวัลนักเรียนคุณธรรม และผ่านการประเมินกิจกรรมห้องเรียนสีขาว ระดับดีเด่น ทุกห้องเรียน จำนวน ๖ ห้องเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 และได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ
- นักเรียนสามารถเป็นตัวแทนในการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับโทษ และพิษภัยจาก ยาเสพติด ผ่านกิจกรรมการประกวดบอร์ดนิเทศความรู้ในกิจกรรมห้องเรียนสีขาวของแต่ละห้องเรียน
2) บุคลากร
- ครูทุกคนเข้าใจกระบวนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดในสถานศึกษา สามารถให้ คำปรึกษา แก้ปัญหา และมีส่วนช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา ตนเองอย่างเต็มความสามารถ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้คำปรึกษากับ นักเรียน ตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติด และอบายมุข มีนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
- ครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวการป้องกันปัญหายาเสพติดและอบายมุข ได้ครบทุกระดับชั้น
- ครูมีส่วนร่วมในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยมีการคัดกรองนักเรียนทุกภาคเรียน เพื่อสำรวจปัญหาและสภาพปัจจุบันของนักเรียน เพื่อที่จะได้เข้าถึง และช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังรู้จักนักเรียนผ่านกิจกรรมการเยี่ยมบ้าน การโฮมรูมนักเรียนในที่ปรึกษาตลอดปีการศึกษา
3) โรงเรียน
- โรงเรียนมีการดำเนินการให้ธรรมนำใจ ห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ PATAM Model ในการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุขอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน สามารถกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแผนการดำเนินการต่าง ๆ อย่างชัดเจน อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนานักเรียน บุคลากร องค์กร เครือข่ายทางวิชาการ และผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องต่าง ๆ ด้วย
- โรงเรียนมีเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดของ โรงเรียนบ้านหนองตับเต่า ในการเป็นแหล่งองค์ความรู้ในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขในโรงเรียน
- โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย และปลอดจากมุมอับสายตา อันจะเป็นปัจจัยเสี่ยงในสถานศึกษาที่จะเอื้อให้นักเรียนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด และอบายมุขต่าง ๆ
4) ชุมชน/สังคม
- เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาแก่ โรงเรียนและหน่วยงานภายนอกต่าง ๆ ผ่านโครงการความร่วมมือต่าง ๆ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาระหว่างโรงเรียนบ้านโพนสวาง กับ หน่วยงานที่ทำ MOU
- ชุมชนและหน่วยงานที่ทำ MOU ร่วมกันขับเคลื่อนกลไกด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
- ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการให้ธรรมนำใจ ห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ PATAM Model ในการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข ให้ความร่วมมือในเรื่องต่าง ๆ ทำให้การดำเนินงานของโรงเรียนเกิดประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ
- ชุมชนให้การยอมรับ และมีความมั่นใจในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดของ โรงเรียนบ้านหนองตับเต่า
4.2 ผลสัมฤทธิ์
1) ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการให้ธรรมนำใจ ห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ PATAM Model ในการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข ให้ความร่วมมือในเรื่องต่าง ๆ ทำให้การดำเนินงานของโรงเรียนเกิด ประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ
2) ชุมชนให้การยอมรับ และมีความมั่นใจในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดของ โรงเรียนบ้านหนองตับเต่า
ความภาคภูมิใจ
ผลการพัฒนาคุณภาพนักเรียน
ที่ รายการ
๑ ผลการประเมินพัฒนาการเด็กชั้นอนุบาลปีที่ ๒-๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ผ่านระดับดี ร้อยละ ๑๐๐ ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
๒ ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียน ๕ ด้าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ผ่านร้อยละ ๑๐๐ ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
๓ ผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ผ่านร้อยละ ๑๐๐ ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
๔ ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ผ่านระดับดีเยี่ยมร้อยละ ๑๐๐ ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
๕ ร้อยละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรายวิชาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ผ่านร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ของคะแนนเต็ม มากกว่าร้อยละ ๕๐ ของนักเรียนทั้งหมด
5. สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การดำเนินงานในครั้งนี้ โรงเรียนบ้านหนองตับเต่า ได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดี มีธรรมในใจ ห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้รูปแบบ PATAM Model สามารถสรุปอภิปรายผลดังนี้
5.1 สรุปผล อภิปรายผล
1. กระบวนการสร้างธรรมะให้เกิดขึ้นในใจ โรงเรียนได้ใช้แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมและน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการทำกิจวัตรประจำวันของนักเรียนทุกชั้น ทุกคนในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จนเกิดเป็นนิสัย เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้โรงเรียนไม่มีปัญหานักเรียนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุข
2. การนำรูปแบบ PATAM Model มาใช้ในการดำเนินงานโรงเรียนสีขาว ได้ผลเป็นที่น่าพอใจของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
5.2 ประโยชน์ที่ได้รับ
1) ประโยชน์ต่อผู้เรียน นักเรียนปลอดยาเสพติด และอบายมุข มีภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดในสถานศึกษา และ หลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และอบายมุข
2) ประโยชน์ต่อสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด สามารถให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาในเบื้องต้นที่เกิดขึ้นกับนักเรียนได้
3) ประโยชน์ต่อชุมชน มีกลไกการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดในสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ PATAM Model เพื่อป้องกันยาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษาอย่างครบวงจร โดยมีมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกัน บำบัดรักษา โดยยาเสพติดนั้นหมายรวมถึงบุหรี่ด้วย เนื่องจาก บุหรี่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การติดยาเสพติด อื่นที่รุนแรงขึ้น จึงจำเป็นต้องสกัดกั้นนักเรียนไม่ให้สูบบุหรี่ โดยโรงเรียนได้ประกาศให้สถานศึกษาเป็นเขต ปลอดบุหรี่ โดยครู ผู้บริหาร จะต้องไม่สูบบุหรี่เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็ก
4) ชุมชนมีแนวโน้มผู้ติดสารเสพติดลดลง
5.3 ข้อเสนอแนะ
1. โรงเรียนควรสร้างความเข้าใจในการยอมรับกับความเป็นจริงทั้งทางบวกและทางลบกับผู้ปกครองนักเรียนและตัวนักเรียน เพื่อการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนานักเรียนได้อย่างตรงจุด ครูต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครองนักเรียนและตัวของนักเรียนเอง เพื่อก่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
2. โรงเรียนต้องพยายามสร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเป็นแบบอย่างที่ดีของครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้นักเรียนเกิดการซึมซับสิ่งดีงามที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียน
3. โรงเรียนควรสร้างนักเรียนต้นแบบ หรือนักเรียนผู้นำ ที่นักเรียนทั่วไปเชื่อมั่นและยอมรับ เพื่อไว้ช่วยเหลือครูในการแก้ปัญหาหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
5.4 ปัจจัยความสำเร็จ
5.4.1 ผู้บริหาร ครู และบุคลากรมีความรู้ความสามารถที่ได้รับการอบรม ฝึกฝนทักษะในการส่งเสริมและพัฒนา นำหลักธรรมของโรงเรียนคุณธรรม สพฐ สู่การปฎิบัติ และนิเทศติดตามเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดในสถานศึกษาได้อย่าง ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นระบบตามรูปแบบ PATAM Model เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์
5.4.2 จัดสรรงบประมาณได้เพียงพอ และเหมาะสมในการดำเนินงานตามแผนงานที่ตั้งไว้ สามารถบริหารจัดการงบประมาณได้อย่างคุ้มค่า เกิดประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดในสถานศึกษาสูงสุด
5.4.3 จัดสรรวัสดุ อุปกรณ์ที่ทันสมัย มีความเหมาะสมให้พร้อมในการดำเนินงานและการขับเคลื่อน การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดในสถานศึกษา เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว และบรรลุวัตถุประสงค์
5.4.4 มีการบริหารจัดการบุคคล งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานได้ตรงจุด เหมาะสม
มีประสิทธิภาพ เพื่อทรัพยากรเหล่านี้สามารถส่งเสริมขับเคลื่อนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
5.5 บทเรียนที่ได้รับ
การดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้วิธีการหรือรูปแบบการดำเนินงาน ตามรูปแบบ PATAM Model ประสบผลสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีทำให้โรงเรียน ผู้บริหาร ครูบุคลากร นักเรียน และผู้ปกครอง สามารถนำประสบการณ์จากการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อเป็นบทเรียนในการนำไปปรับใช้ในการดำเนินโครงการหารือกิจกรรมอื่น ๆ โดยมีบทเรียนที่ได้รับสามารถสรุปได้ ดังนี้
5.5.1 ผู้บริหาร ครูบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง หรือผู้เกี่ยวข้อง ที่ได้ดำเนินงานตามโครงการหรือกิจกรรมเมื่อเข้าใจวิธีการดำเนินงานตาม วิธีการหรือรูปแบบการดำเนินงาน ตามรูปแบบ PATTAM Model แล้วสามารถนำวิธีการหรือรูปแบบการดำเนินงาน ตามรูปแบบ PATAM Model ไปปรับใช้ในโรงเรียนหรือองค์กรอื่นได้
5.5.2 นักเรียนแกนนำ 4 ฝ่าย เข้าใจวิธีการตรวจสอบคุณภาพการดำเนินงานตามโครงการหรือกิจกรรม โดยใช้วงจรการตรวจสอบคุณภาพ PDCA ไปปรับใช้ในการเรียนรู้ หรือการดำเนินกิจวัตรประจำวันเพื่อพัฒนางานให้มีคุณภาพต่อไป
5.5.3 การดำเนินงานด้วยวิธีการหรือรูปแบบที่ชัดเจน สนับสนุน ส่งผลให้งานบรรลุตาวัตถุประสงค์และสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
5.5.4 การทำงานเป็นทีมและคณะ การมีส่วนร่วมรับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ความร่วมมือร่วมใจ การเอาใจใส่ การเสียสละ ของผู้บริหาร ครู บุคลากรและนักเรียน ส่งผลให้โครงการประสบผลสำเร็จได้ผลงานที่มีคุณภาพ
5.5.5 โครงการมีความสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ โรงเรียนมีความภูมิใจ ในการได้ทำหน้าที่ที่รับผิดชอบต่อนักเรียน สามารถนำความสำเร็จนี้ไปพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับของสถานศึกษาในสังกัด หรือเป็นที่ยอมรับและเป็นแบบอย่างของการดำเนินงานให้กับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องได้
5.6. การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม PATAM Model มีการเผยแพร่ผลงานที่เกิดขึ้นในรูปแบบของประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนตามสื่อออนไลน์ในช่องทางต่าง ๆ เช่น แอพพลิเคชั่นไลน์กลุ่มของผู้ปกครองนักเรียนแต่ละชั้น Page Facebook ของโรงเรียนบ้านหนองตับเต่า และได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนและชุมชนต่าง ๆ เป็นต้น