บทสรุปผู้บริหาร
การส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารการศึกษาในโรงเรียนสมนึกพิทยา ได้นำ เทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการ พัฒนากระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงรุก ส่งเสริมและสนับสนุนการ บริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียนโรงเรียนสมนึกพิทยามีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการบริหาร จัดการและอำนวยความสะดวกกับการให้บริการด้านต่างๆ อย่างทั่วถึง มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทันสมัย แม่นยำ ถูกต้อง ในการบริหารจัดการในด้านต่างๆ และง่ายต่อการจัดเก็บข้อมูล มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย และบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ นํานวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร จัดการสถานศึกษาของโรงเรียนสมนึกพิทยาสู่ความเป็นเลิศในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้ผู้บริหาร ครู บุคลากร เข้าถึง เทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้งานอย่างรวดเร็ว โรงเรียนสมนึกพิทยานำเทคโนโลยีสารสนเทศมาบริหารจัดการต่างๆภายในโรงเรียน ทั้งด้านการเงิน งานด้านบัญชีและทรัพย์สิน งานฝ่ายวิชาการ ทะเบียนวัดผลและ ประเมินผลการเรียนนักเรียน งานด้านบุคลากรบริหารบุคคลการเช่น ลงเวลาทำงานด้วยการสแกนลายนิ้วมือและ รวบรวมผลการมาทำงานของครู บุคลากร ข้อมูลของครูบุคลากร พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยการสนับสนุนการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ ทำให้เกิดผลการดำเนินงานคือ ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียนโรงเรียนสมนึกพิทยามีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการบริหารจัดการและอำนวยความสะดวกกับการให้บริการด้านต่างๆ อย่างทั่วถึง เข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้งาน อย่างรวดเร็วและ โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทันสมัย แม่นยำ ถูกต้อง ในการบริหารจัดการในด้านต่างๆ และง่ายต่อการจัดเก็บข้อมูล ด้วยการได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ในการพัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียน จึงทำให้มีการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารการศึกษาเป็นได้ตามวัตถุประสงค์
1. ชื่อผลงาน การส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารการศึกษา
2. เจ้าของผลงาน ฝ่ายบริหารงานทั่วไป โรงเรียนสมนึกพิทยา อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
3. สอดคล้องกับมาตรฐาน กระบวนการบริหารและการจัดการ
4. ความสำคัญ/ที่มาของการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
การบริหารงานใดๆ ในยุคนี้จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสม เครื่องมือที่รู้จักกันทั่วไปก็ได้แก่เครื่องมือที่ ใช้ในสำนักงาน ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ได้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล ฯลฯ ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สารสนเทศกับการดำรงชีวิต นวัตกรรมและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน (Disruptive technology) ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อระบบ เศรษฐกิจแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีการประดิษฐ์คิดค้น พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำ ให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ความเจริญก้าวหน้าที่ไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยีทำให้ มนุษย์ต้องเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนตนเองให้ทันต่อวิทยาการใหม่ ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตดังนั้นเทคโนโลยี สารสนเทศจึงถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็วทั้งด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม ผลจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้องค์การหรือ หน่วยงานต้องเรียนรู้และนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของตน (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 2554) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ระบุไว้ว่าให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐในการสนับสนุนให้สถานศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศมา ช่วยในการบริหารจัดการศึกษา สอดคล้องกับ กระทรวงศึกษาธิการ จึงมีนโยบายให้มีการนําเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในการบริหารโรงเรียน เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศให้การปฏิรูปการศึกษา ประสบผลสำเร็จใน การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยใช้สนับสนุนการบริหาร ตามขอบข่ายงานทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการด้าน การบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงาน บุคคล และด้าน การบริหาร ทั่วไป(กระทรวงศึกษาธิการ, 2548)
เนื่องด้วยปัจจุบันโรงเรียนสมนึกพิทยามีนักเรียนจำนวน 774 คน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ จึงได้พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการทุกด้าน อาทิ งานบริหารวิชาการ งานทะเบียนวัดและประเมินผลการเรียน ด้านงบประมาณ การเงิน และด้านบัญชีด้านบริหารบุคคลากร โดยประยุกต์ใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างหลากหลาย ได้แก่ โปรแกรมด้านบัญชี GAL 24 ,Facebook Page ,ระบบ Regis และมี Line Group ผู้ปกครองหรือผู้เรียน ใน รูปแบบการบูรณาการทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนา ส่งเสริมผู้เรียนอย่างไร้ขีดจำกัด เต็มตามศักยภาพ
5. วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษา สู่ความเป็นเลิศ
2) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียนโรงเรียนสมนึกพิทยาด้านการใช้เทคโนโลยี เพื่อการเรียนรู้
3) เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทันสมัย แม่นยำ ถูกต้อง ในการบริหารจัดการในด้าน ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครู บุคลากร นักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน
6. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
6.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ อัจฉรียา ทองมา (2558 : 15) สรุปว่า เทคโนโลยีสารสนเทศได้ช่วยให้มนุษย์เจริญก้าวหนาในด้านต่าง ๆ มากยิ่งกว่าความเจริญก้าวหน้าด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์มาจนถึงเมื่อมีการคิดประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ได้ เทคโนโลยีสารสนเทศได้ช่วยให้เกิดความก้าวหน้าไม่ว่าจะในด้านวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์สังคมศาสตร์ ธุรการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การแพทย์การศึกษา การขนส่งหรือแม้แต่ในด้านการใช้วิถีชีวิตของมนุษย์เอง
จากประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่าง ๆ ทำให้ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับความสนใจจากบุคลากรทุกระดับและทุกหมู่เหล่า รัฐบาลได้มองเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจการคากับประเทศอื่นได้สามารถเพิ่มผลผลิตในด้านต่าง ๆ ทั้ง ด้านเกษตร อุตสาหกรรมและการบริหารสามารถพัฒนาเยาวชนไทยให้มีการศึกษาได้สูงขึ้นและทั่วถึงทุกพื้นที่ได้สามารถสร้างงานและกระจายรายได้แก่คนทั่วทั้งประเทศและคนทุกระดับชั้น สามารถให้บริการด้านสวัสดิการสังคมและสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง นอกจากนั้นยังช่วยให้ประชาชนทุกคนได้รับทราบข่าวสารอย่างรวดเร็วและทั่วถึง
ดังนั้นจึงได้สรุปถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ไว้ดังนี้ 1) ช่วยในการจัดระบบข้อมูลจำนวนมากในแต่ละวัน 2) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคํานวณตัวเลข การจัด เรียงลำดับ 3) ช่วยให้เก็บสารสนเทศไว้ในรูปแบบที่สามารถเรียกใช้ได้สะดวก 4)ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการประมวลผลและเรียกใช้สารสนเทศ 5) ช่วยในการเขาถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น 6) ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างรวดเร็วโดยการใช้โทรศัพท์และอื่น ๆ
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ (2551 : 14) ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่ครอบคลุมการ ดำเนินกิจกรรมแทบทุกด้านไม่วาจะเป็นด้านเอกชนหรือภาครัฐ ศาสนา สังคม เศรษฐกิจ บันเทิง ฯลฯ ปัจจุบัน แนวโน้มการลงทุนด้านไอทีเพิ่มมากขึ้น และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมีโครงการเทคโนโลยีไอที ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทินกฤต รุงเมือง (2552) ได้ระบุความสำคัญของสารสนเทศและการสื่อสารไว้ 5 ประการ ได้แก่ 1) การบริหารงานในปัจจุบันมีความยุ่งยากมากกว่าในอดีต 2) ขนาดขององค์กรในการดำเนินการมีขนาดใหญ่กว่าในอดีต 3) การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว 4) การกระจายข่าวสารและข้อมูลเป็นไป อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง 5) มีการทำงานอย่างเป็นระบบในลักษณะ (Feedback Control System)
7. ขอบเขตของดำเนินการ
7.1 ขอบเขตเนื้อหา /งาน
การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการทุกด้าน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานทะเบียนวัดและประเมินผลการเรียน ด้านงบประมาณ การเงิน และด้านบัญชี ด้านบริหารบุคคลกร
7.2 กลุ่มเป้าหมาย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากร พนักงาน และนักเรียน โรงเรียนสมนึกพิทยา อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
7.3 ระยะเวลาที่ดำเนินการ ตลอดปีการศึกษา 2566
8. ขั้นตอนการดำเนินงาน
8.1 ขั้นวางแผน (P : PLAN)
8.1.1 ศึกษาสภาพปัญหา ทบทวน เอกสาร แบบฟอร์ม ข้อมูลต่างๆ ของงานระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและระบบต่าง ๆ ดำเนินการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ กับการบริหารการศึกษา โดยเน้นแนวคิดที่มีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา และนํามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นแนวคิดและรูปแบบของตนเองเพื่อนํามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา การ ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา การพัฒนาสถานศึกษาและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิด ขึ้นกับสถานศึกษา
8.1.2 จากการศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ แนวคิด ทฤษฎีต่าง ๆ ก่อให้เกิดเป็นรูปแบบ กระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงรุกและนวัตกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการ สถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารการศึกษา
8.1.3 รวบรวมข้อมูล ตามบทบาทหน้าที่ของระบบงานสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ
8.2. ขั้นดำเนินการ (D : Do)
8.2.1 สํารวจสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการในการพัฒนาสถานศึกษา เพื่อให้ทราบจุด แข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของสถานศึกษา แล้วกำหนดแผนงานโครงการ กิจกรรม กลยุทธ์และ แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา
8.2.2 นําเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการ สถานศึกษา 8.2.3 พัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อสอดคล้องตรงตามความต้องการของโรงเรียน
8.2.4 พัฒนาศักยภาพผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียนโรงเรียนสมนึกพิทยาด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้โดย พัฒนาบุคลากรภาคเรียนละ1 ครั้ง และส่งเสริมทักษะการใช้ เทคโนโลยีให้กับนักเรียนโดยตรงในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบูรณาการการใช้ใน รายวิชาอื่นๆ ในการสืบค้นข้อมูลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และยังมีกิจกรรมชุมนุมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เพื่อพัฒนาส่งเสริมผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ
8.3 ขั้นตรวจสอบ และประเมินผล (C : CHECK) ตรวจสอบ ประเมินผลการดําเนินงานเพื่อนํามาปรับปรุง แก้ไขการดําเนินงานอย่างเป็นระบบ ผู้เกี่ยวข้อง ทดลองใช้ระบบ และคู่มือ โดยมีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และรายงานผล อย่างสม่ำเสมอ ในรูปคณะกรรมการกำกับ ติดตาม
8.4 ขั้นปรับปรุง และพัฒนา (A : ACTION)
8.4.1 ประเมินผลการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง ของ โรงเรียนมารีย์อนุสรณ์ เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข ดำเนินการนําผลการ ประเมินมาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป
9. ผลการดำเนินงาน
1. มีรูปแบบการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษา โดยการประยุกต์ใช้ โปรแกรม Regis ที่มีประสิทธิภาพ
2. ผู้บริหาร ครู บุคลากร ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ และมีความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อ การศึกษาผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดทุกคน คิดเป็นร้อยละ และนักเรียนโรงเรียนสมนึกพิทยาได้รับ การพัฒนา ส่งเสริมให้มีความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ใน ระดับ ป.1-ม.3 คิดเป็นร้อยละ 100
3. มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทันสมัย ในการบริหารจัดการในด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ครู บุคลากร นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบูรณาการเทคโนโลยี สารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนอยู่ในระดับ มากที่สุด
10. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ
1. ผู้บริหารตระหนักเห็นความสำคัญของการนําเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในส่งเสริมและ สนับสนุนการบริหารจัดการ
2. มีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายของการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน
3. มีการกำหนดนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนจากผู้บริหารลงสู่ผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจังและ ชัดเจน
4. มีการกำหนดทิศทางการปฏิบัติงานในทุกระดับให้มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน มีความชัดเจนและ สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงสม่ำเสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
11. บทเรียนที่ได้รับ สิ่งที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรม
1. ครู และนักเรียน และผู้เกี่ยวข้องเกิดทักษะกระบวนการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ได้แนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ Best Practice
3. ได้ข้อมูลในการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ Best Practice เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการบริหารจัดการ
4. ได้นำความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ Best Practice มาพัฒนาและปรับปรุง ให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
12. การเผยแพร่/การยอมรับ
1. ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสมนึกพิทยา
2. มีการเผยแพร่นวัตกรรมไปสู่ โรงเรียนเอกชนใกล้เคียง ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลจำรูญพุทธรินทร์ โรงเรียนอนุบาลทองขาว โรงเรียนอนุบาลการกุศลวัดประชาชุมพล