ปั้นดินให้เป็นดาว
โดยโรงเรียนสมนึกพิทยา อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ความเป็นมาและความสำคัญ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ในมาตรา 22 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ จากสาระสำคัญของมาตรา 22 ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับศักยภาพและความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนที่มีอยู่อย่างหลากหลาย และมีความเชื่อว่าแต่ละบุคคลมีความสามารถแต่ละด้านไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมาทำให้เด็กแต่ละคนมีแบบแผน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะหรือความสามารถพิเศษ (Talented) และถ้าเด็กบางคน มีความสามารถพิเศษตั้งแต่ 2 ด้านขึ้นไป ซึ่งจะจัดอยู่ในเด็กปัญญาเลิศ (Gifted) หากเด็กได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสมกับความสามารถของเขา ก็จะสามารถพัฒนาความสามารถ ที่ตนมีอยู่ให้ เต็มศักยภาพได้เป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของแต่ละบุคคลเด็กแต่ละคน มีความสามารถและความถนัดและวิธีการเรียนรู้มีความแตกต่างกัน ไม่มีใครที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะต้องเรียน แต่ทุกคนสามารถเลือกเรียนสิ่งที่ต้องการ การจัดการศึกษาควรจะตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการออกแบบกิจกรรมของแต่ละสาระการเรียนรู้ที่ตอบสนองความสามารถส่วนบุคคลที่เหมาะกับชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นของผู้เรียน
ดังนั้น ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีทักษะความสามารถพิเศษในลักษณะพหุปัญญาหรือความสามารถพิเศษของเด็ก ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ทั้ง 4 ด้าน จาก 9 ด้าน ได้แก่
1.ด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
2.ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
3.ด้านดนตรี (Musical Intelligence)
4.ด้านกีฬา
ได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะของตนเองให้มีความชำนาญในระดับสูงขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การมีทักษะที่เชี่ยวชาญสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตต่อไป
วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะความสามารถพิเศษตามแนวคิดพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
2) เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในการฝึกทักษะความสามารถพิเศษตามแนวความคิดของการ์ดเนอร์กับองค์กรภายนอก
กระบวนการการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการ
1) ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถพิเศษตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจขั้นตอนในการดำเนินตามโครงการ
2) จัดตารางการฝึกฝน
3) ดำเนินการฝึกซ้อมและส่งนักเรียนเข้าสู่การแข่งขัน ทั้งทางด้านดนตรี ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ และด้านกีฬา
ขั้นตอนที่ 2
1) เขียนโครงการในแผนปฏิบัติการของโรงเรียน
2) คัดเลือกครูผู้ฝึกสอน
3) คัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
4) ฝึกซ้อม
5) ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันในรายการต่างๆ
6) สรุป/ประเมินผลเสนอผู้บริหาร
7) นำข้อบกพร่องมาปรับปรุง แก้ไขและนำไปใช้ในการศึกษาต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 ผลการปฏิบัติและผลการดำเนินงาน
1) นักเรียนมีการพัฒนาความสามารถเฉพาะด้านของตนเองอย่างต่อเนื่อง
2) นักเรียนเป็นผู้มีความสามารถด้านดนตรี ในวงสมนึกสะออนโปงลาง วงโยวาทธิต และวงสตริง
3) นักเรียนชนะเลิศในการแข่งขันทักษะทางด้านวิชาการและได้รับรางวัลจากการสอบแข่งขันต่างๆ
4) นักเรียนได้รับรางวัลในการแข่งขันด้านกีฬา
บทเรียนที่ได้รับ
1) นักเรียนได้รับประสบการณ์จากการแข่งขันกับองค์กรภายนอก
2) นักเรียนได้รับความภาคภูมิใจในตนเอง และมีแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนตนเองสู่การมีอนาคตที่ดี
ปัจจัยความสำเร็จ
ได้รับความร่วมมือจากคณะผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองในการสนับสนุนนักเรียนเข้าแข่งขันในทุกๆ รายการ
การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
การได้รับการยอมรับ
1) ได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองในร่วมฝึกซ้อมด้วยความสมัครใจ
2) นักเรียนที่มีความเป็นเลิศด้านดนตรี ได้รับโอกาสในการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียง
รางวัลที่ได้รับ
ปีการศึกษา 2564
การแข่งขันทักษะวิชาการและประกวดสิ่งประดิษฐ์นักเรียนโรงเรียนเอกชน ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2564 เนื่องใน วันการศึกษาเอกชน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนร่วมกับสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน ผลการตัดสินการแข่งขัน Muti skills competition ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ชนะเลิศ เหรียญทอง เด็กหญิงกรชนก ระวิโรจน์
ครูผู้ฝึกซ้อม: คุณครูปรมินทร์ น้อยสีมุม และ Mr. Jeric P. Brawis
ปีการศึกษา 2565
วันที่ 31 ตุลาคม 2565 ผู้อำนวยการนิรมล จงจินากูล และคุณครู พร้อมนักเรียนผู้ทำการแสดงได้รับโอกาสอันทรงเกียรติ ร่วมทำการแสดงเพื่อต้อนรับคณะอาคันตุกะจาก 24 ประเทศ เนื่องในโอกาส
719 : International artist delegations from 24 countries Thailand International Folklore Festival
ปีการศึกษา 2566
-
-
ปีการศึกษา 2567
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 การแข่งขันกีฬาว่ายน้ำ ฟรีสไตล์ 25 เมตรหญิง รุ่นอายุไม่เกิน 6 ปีเด็กหญิงชนัญชิดา สระแก้ว นักเรียนระดับชั้น อนุบาล 3/1 วันที่ 14 - 15 ธันวาคม 2567
- รางวัลชมเชยในการเข้าร่วมการทดสอบแข่งขันวัดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประจำปี 2567ณ สนามสอบโรงเรียนบ้านโพนทอง เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2567
เด็กหญิงพัชราภรณ์ หนองแคน ป.4/2 IEP
เด็กชายปัญญพนต์ กุมมารสิทธิ์ ป.4/2 IEP
เด็กชายภคพงษ์ อินทมะโน ป.6/1 IEP
- Thailand Educational Development and Evaluation Tests 2024 โครงการประเมินและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2567
รางวัลชมเชย วิชาคณิตศาสตร์ เด็กชายปรัชญกร อินอ่อน ป.4/1 IEP
รางวัลชมเชย วิชาคณิตศาสตร์ เด็กชายธาวิน นิลหมื่นไว ป.6/2 IEP
- การแข่งขันเทควันโด พุมเซ่เดี่ยว=เหรียญเงิน พุมเซ่คู่=เหรียญเงิน SPEED KICK =เหรียญทองเเดง
เด็กหญิงกันยกร ผุดผ่อง นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 IEP
- เด็กหญิงชนันธิดา มิตรจันทร์ ประถมศึกษาปีที่ 5/1 #ชนะเลิศ การแข่งขันประกวดวาดภาพระบายสีเนื่องในกิจกรรมสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม ประจำปีการศึกษา 2567
ภาพกิจกรรมการดำเนินงาน
การฝึกซ้อมนักเรียนที่มีความสามารถด้านดนตรี
ร่วมการแสดงด้านดนตรีโปงลางประยุกต์ ซึ่งมีการประสานดนตรีระหว่างดนตรีพื้นบ้านและดนตรีสากล ณ ถนนคนเดินสืบสานวัฒนธรรม ที่ว่าการอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ปีการศึกษา 2566
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 ผู้อำนวยการนิรมล จงจินากูล และคุณครู พร้อมนักเรียนผู้ทำการแสดงได้รับโอกาสอันทรงเกียรติ ร่วมทำการแสดงเพื่อต้อนรับคณะอาคันตุกะจาก 24 ประเทศ เนื่องในโอกาส 719 : International artist delegations from 24 countries
Thailand International Folklore Festival
การติวเข้มเพื่อพัฒนาทักษเฉพาะด้านสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ จากครูผู้สอนในโรงเรียนสมนึกพิทยา
การติวเข้มเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะด้านสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ จากครูผู้สอนองค์กรภายนอก
การฝึกซ้อมว่ายน้ำ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านกีฬา
การส่งเสริมการแข่งขันทักษะว่ายน้ำกับองค์กรภายนอกเพื่อสร้างประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
ค่ายฝึกทักษะด้านดนตรี
วงดนตรีสตริงร่วมการแสดงบุณคูณลาน
ณ ที่ว่าการอำเภอเลิงนกทา จังหวักยโสธร ประจำปี 2566