ความเป็นมาและความสำคัญ
ปัจจุบันสังคมโลกเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ คนในสังคมจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลา การปฏิรูป
การศึกษาเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนเป็นการเตรียมเยาวชนให้มีความสามารถในการปรับตัวก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและเทคโนโลยีต่างๆ เป็นผู้พร้อมและมีความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโลกไร้พรมแดนในยุคปัจจุบัน ภาษาจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้ และการสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่มีผู้นิยมใช้กันเป็นอันมาก การที่นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้เป็นอย่างดีนับเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้แล้ว ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสเปิดประตูสู่โอกาสทางธุรกิจ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการสื่อสารที่ดีสร้างความได้เปรียบทางด้านทักษะอาชีพในอนาคต และปัจจัยสำคัญที่สุดพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่ต้องการได้ คือครู ซึ่งมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องได้แก่ คุณภาพของตัวครูและคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินผลของครู (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2554:5) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนและยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นคือการพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนนั่นเอง ครูจึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ของนักเรียน ความพร้อมในการเตรียมการสอน และความมั่นใจในการสอนของครูทั้งในด้านเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้จะส่งผลในเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
และเพื่อสนองความต้องการของสังคมและวิสัยทัศน์ของโรงเรียนและเอกลักษณ์ของโรงเรียน โครงการเด่น เน้นสองภาษา ทางโรงเรียนจึงพัฒนารูปแบบการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักสื่อสารยุวทูตทางภาษาโดยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ IPPPC Model สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมศักยภาพนักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถมุ่งสู่มาตรฐานสากล สามารถดำรงชีพได้ในอนาคตเป็นพลโลกที่สมบูรณ์ต่อไป
วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
1.) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักสื่อสารยุวทูตทางภาษา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน IPPPC Model
เป้าหมาย
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
1) นักเรียนร้อยละ 50 ได้รับการพัฒนาเป็นนักสื่อสารยุวทูตทางภาษา โดยนักเรียนมีความสามารถและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ IPPPC Model
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
1) นักเรียนมีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพโดยการจัดการเรียนรู้แบบ IPPPC Model
4. ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา
โรงเรียนสมนึกพิทยาได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอน IPPPC Model โดยโรงเรียนสมนึกพิทยาได้กำหนดแนวทางการพัฒนาตามกรอบแนวคิด การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้น Child centered Learning ภายใต้กรอบการบริหารจัดการจาก SOMNUK Model (M = Mastery ) ที่สร้างให้ครูมีความเป็นมืออาชีพ สู่การพัฒนา Care Model ที่เป็นรูปแบบการบริหารที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วม มาเป็นกลไกหลัก ในการบริหารงานประกอบกับการใช้ทฤษฎีระบบ (system theory) ในการกำหนดรูปแบบการบริหารงาน ใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ P-D-C-A ในการดูแล ควบคุม และกำกับติดตามการ ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่เน้นการบุคลากรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน ร่วมชื่นชม และตกลงร่วมกันในการบริหารโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมาย (Team) และนำสู่การปฏิบัติงานวิชาการการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาเป็นนักสื่อสารยุวทูตทางภาษา โดยนักเรียนมีความสามารถและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีลำดับขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 Checking the current condition ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการจัดเรียนการสอนของกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ พร้อมทั้งวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การสำรวจสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของนักเรียน พิจารณาจากผลการสอบ O-NET ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประจำปีของรายวิชาภาษาต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ว่าการจัดการเรียนการสอนมีคุณภาพมากน้อยเพียงใดเป็นการวิเคราะห์ และจัดทำฐานข้อมูล ด้วยกระบวนการสังเกตการสอน (Observe) และการระดมสมอง ผ่านกระบวนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
ขั้นตอนที่ 2 Setting Goal กำหนดเป้าหมายความสำเร็จ
2.1) นักเรียนเป็นนักสื่อสารยุวทูตทางภาษา สามารถใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 50 จากนักเรียนทั้งหมด
ขั้นตอนที่ 3 Developing Model and Implementing ด้วยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศและร่วมกันสังเคราะห์เอกสาร จากการทำงานเป็นทีม ( TEAM) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะแก่การใช้จัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้
3.1 ศึกษาแนวคิดที่นำมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม ได้แก่
1) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ซึ่ง Hord S. M. (1997 : 36-53) ได้กล่าวถึงนัยยะการเป็นผู้นำร่วมกันของครู หรือเปิดโอกาสให้ครูเป็น ประธาน ในการเปลี่ยนแปลง (วิจารณ์ พานิช, 2555 : หน้า 135-136) การมีคุณค่าร่วม กัน มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และรวมไปถึงการเรียนรู้ร่วมกัน และการนำสิ่งที่เรียนรู้ ไปประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน การรวมตัวในรูปแบบนี้เป็นเหมือนแรงผลักดัน ให้ครูเกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ทำงานร่วมกันก่อเกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ (Teamwork)
2) แนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้สอน ต้องเป็นครูแบบ Actively Teach คือ สอนแบบมีส่วนร่วม จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ตลอดเวลา เป็นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยผู้สอนสามารถนำการจัดการเรียนรู้เชิงรุกไปจัด กิจกรรมการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทุกรายวิชา รวมถึงนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อื่น
3) แนวคิดของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered, Student-centred หรือ Child-centered) จึงเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่เปลี่ยนมายึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีหลักการว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องเน้นให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพของตนเอง รวมทั้งสนับสนุนให้มีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและการประยุกต์ใช้ มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ โดยไม่เน้นไปที่การท่องจำเพียงเนื้อหา
3.2 การพัฒนารูปแบบ IPPPC Model โดยการนำแนวคิดที่ได้จากการศึกษาเอกสารและงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง มาสังเคราะห์เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศด้วยรูปแบบ IPPPC Model ดังนี้
Step 1 I = Intro การนำเข้าสู่บทเรียน โดยการกระตุ้น ทบทวน และปูพื้นฐานความรู้ ครู จะต้องทำการกระตุ้น ทบทวน รวมถึงปูพื้นความรู้ของนักเรียนให้มีความพร้อมสำหรับ การเรียนรู้ในขั้นต่อไป นอกจากนั้นยังเป็นการเปิดใจของนักเรียน โดยควรเริ่มจากความรู้ที่นักเรียนคุ้นเคยหรือมีความรู้มาก่อน หรือเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก ผ่านกระบวนการเล่นเกมส์ การร้องเพลง การเต้น เพื่อดึงดูดความสอนใจของนักเรียนเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน และการกล่าวทักทาย Small talk ทุกครั้งที่จะเริ่มสู่กระบวนการสอน Small talk หมายถึงบทสนทนาทั่ว ๆ ไปสำหรับชวนอีกฝ่ายคุยเวลาพึ่งเจอกันครั้งแรก ถือว่าเป็นการ break the ice หรือว่าพูดทลายกำแพง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักกันในชีวิตประจำวัน เรื่องส่วนตัวของนักเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้การจดจำรูปประโยคในการใช้ในชีวิตประจำวันได้และสามารถนำไปใช้ได้จริง
Step 2 P= Presentation การนำเสนอเนื้อหาสาระ เป็นการนำเสนอเนื้อหาใหม่ ซึ่งครูจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลทางภาษาแก่นักเรียน โดยเน้นให้นักเรียนรับรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย รูปแบบภาษา การออกเสียงคำศัพท์ และโครงสร้างทาง ไวยากรณ์
Step 3 P= Practice การฝึกฝนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งครูจะเป็น ผู้นำในการฝึกฝนที่จะเน้นให้นักเรียนจดจำรูปแบบ ความถูกต้องของภาษา และทำความเข้าใจ ความหมาย รวมถึงวิธีการใช้ โดยทำการฝึกในกลุ่มใหญ่ก่อนเพื่อให้นักเรียนเกิดความมั่นใจใน การใช้ภาษา และเปลี่ยนเป็นกลุ่มย่อย ฝึกเป็นคู่ แล้วจึงให้นักเรียนได้ฝึกเดี่ยว แม้ว่ากิจกรรม ในขั้นตอนนี้จะต้องใช้เวลา แต่นักเรียนก็จะได้ปฏิบัติจริง โดยครูมีหน้าที่เพียงกำกับดูแลให้การ ฝึกฝนดำเนินการไปอย่างมีความหมายและเกิดความสนุกสนาน อีกทั้งครูต้องออกแบบการสอนที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ซึ่งเป็นวิธีสอนที่ให้ประสบการณ์ตรงกับ ผู้เรียน โดยการให้ลงมือปฏิบัติจริง เป็นการสอนที่มุ่งให้เกิดการผสมผสานระหว่างทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติ นอกจากนี้แล้วครูยังต้องมีการเสริมแรงบวก เช่น การยกย่อง การชมเชย ให้รางวัล เพื่อปรับเจคติและเสริมสร้างความมั่นใจ ในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียน เพราะเมื่อนักเรียนได้รับสิ่งเร้าที่พึงพอใจ และการ ได้รับการเสริมแรงทางบวกจะส่งผลให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและมีความคงทนอยู่นานยิ่งขึ้น
Step 4 P= Production การไปใช้หรือการบูรณาการความรู้ เป็นขั้นตอนที่ให้นักเรียนได้ใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ ด้วยตัวเอง และครูเป็นเพียงผู้กำหนดสถานการณ์ ชี้แนะ และช่วยเหลือเท่านั้น ซึ่งอาจทำเป็นแบบฝึกหัด การร้องเพลง หรือการละเล่นที่มีความ เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาที่ได้เรียนมา โดยอาจทำเป็นการบ้านหรือการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ จากความคิดของนักเรียนก็ได้
Step 5 C= Conclusion การสรุปความรู้ ความเข้าใจที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ การสรุปองค์ความรู้ที่นักเรียนได้รับจากกระบวนการในการจัดเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 4 Documenting Progress เป็นขั้นตอนการประเมินรวบรวมเอกสารหลักฐานที่แสดงถึง ความก้าวหน้าของงานตามเป้าหมาย
ผลการดำเนินการ
1) จากการที่ครูผู้สอนได้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้นักเรียน มีคุณลักษณะ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สามารถแก้ปัญหา และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะกระบวนการคิดมีกระบวนการในการทำงาน มีความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตาม ในการทำงาน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด ทำให้โรงเรียนผ่านการประเมินและได้รับการรับรองจาก สมศ.รอบสาม
2) นักเรียนมีทักษะการนำตนเอง มีความสามารถการใช้ทักษะภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ในชีวิตประจำวันได้
3) ผู้ปกครองเกิดความพึงพอใจ จากผลการจัดการเรียนรู้แบบ IPPPC Model
วิธีการประเมินผล
1). ตัดสินผลการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ระดับดี ร้อยละ 60 ขึ้นไป
2) การนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร การนิเทศภายในของโรงเรียนสมนึกพิทยา จะมีระบบการนิเทศเป็นขั้นตอน และนิเทศในหลายลักษณะ ได้แก่
2.1) นิเทศโดยการประชุม - แต่ละเดือนจะมีการประชุมครูประจำเดือน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้การนิเทศ จากฝ่ายบริหาร - ทุกวันจันทร์ เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป จะมีการประชุมหัวหน้ากลุ่มสาระ เพื่อรับการนิเทศจากฝ่ายวิชาการ เป็นการนิเทศแบบกัลยาณมิตร มีการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา โดยการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย - ฝ่ายบริหารโดยผู้อำนวยการ และหัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ เข้าร่วมประชุมกับกลุ่มสาระ แต่ละกลุ่มสาระ ทั้ง 8 กลุ่มสาระ เพื่อให้แนวคิด และรับฟังความคิดเห็นของครู ร่วมแก้ปัญหากับครูในกลุ่มสาระ - ในแต่ละกลุ่มสาระ จะมีการประชุมภายในกลุ่มสาระ เพื่อให้การนิเทศครูในกลุ่มฯและในแต่ละกลุ่มจะมีผู้ทำหน้าที่เป็นครูผู้นิเทศของกลุ่มสาระ
2.2) ผู้สอนในรายวิชาเดียวกันจะจับคู่เพื่อเป็นคู่นิเทศแบบกัลยาณมิตร เพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน ในรูปแบบการนิเทศทั้งหลาย การนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร เป็นวิธีการปฏิบัติ ที่เป็นเลิศ ในขั้นตอนการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ครูได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยครูในกลุ่มสาระเดียวกัน จะจับคู่สัญญาเพื่อเป็นคู่นิเทศที่คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการสังเกตการสอน ให้ข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงการเรียนกาสอน อย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง ผลการดำเนินงาน ทำให้เกิดบรรยากาศ ในการทำงานที่อบอุ่น จากการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความรัก ความจริงใจ และความร่วมมือในองค์กร ส่งผลให้โรงเรียนได้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาและบรรลุผลตามนโยบาย เป้าหมาย และทิศทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน
บทเรียนที่คาดว่าจะได้รับ
1) ด้านผู้เรียน
ผู้เรียนมีทักษะด้านภาษาอังกฤษ สามารถสื่อสารได้ในชีวิตประจำวันอันจะเป็นประโยชน์ในอนาคตแก่ผู้เรียน
2) ด้านครู
ครูมีนวัตกรรมกรรมในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษของผู้เรียน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สอน และส่งผลให้ครูสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้จากชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
3) ด้านผู้บริหาร
ผู้บริหารมีความเข้าใจ และสนใจในรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ IPPPC Model พร้อมทั้งส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตาม การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้แบบ IPPPC Model
4) ด้านสถานศึกษา
สถานศึกษามีความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกและมีแนวทางการพัฒนาสมรรถนะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ IPPPC Model
5) ด้านชุมชน
ชุมชนได้รับข้อมูลข่าวสาร จากการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโรงเรียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจได้มากขึ้น
ปัจจัยความสำเร็จ
1) ครู ผู้บริหาร และบุคลากรในโรงเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยมี somnuk model เป็นสิ่งที่สนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2) นักเรียนได้รับการติดตาม ดูแลอย่างทั่วถึง รวมทั้งนักเรียนที่หายไปจากระบบการเรียนในห้องเรียน โดยแนวคิด No Child Left Behind
3) ครู มีความกระตือรือร้นในการคิดค้นนวัตกรรมที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เป็นนวัตกรรมในกลุ่มสาระ