ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
สู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกุดชุม
วิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
ผู้วิจัย นายกิตติศักดิ์ อินไช ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
สถานศึกษา โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร 2) พัฒนารูปแบบสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร 3) นำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ไปใช้ และ
4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร มีองค์ประกอบของรูปแบบ 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดพื้นฐาน 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) เนื้อหา 5) กระบวนการ และ 6) การวัดผลประเมินผล มีองค์ประกอบของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 4 ด้าน คือ 1) ด้านการออกแบบการเรียนรู้ 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) ด้านการใช้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ และ 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อนำสู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 7 ขั้นตอน คือ 1) การรวมกลุ่ม PLC สร้างทีม 2) การวิเคราะห์สภาพปัญหา 3) ออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู/กิจกรรม/นวัตกรรม 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู และปรับปรุงแกไข 5) นำแผนสู่การปฏิบัติ/สังเกตการสอน 6) การสะท้อนผล และ 7) การรายงานผลการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายคือพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศภายใต้กรอบสมรรถนะของผู้เรียนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (2563) เพื่อนำมาสรุปเป็นกรอบตัวชี้วัดศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งประกอบด้วย 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามรถในการคิด 3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และ 4) ผลงานนักเรียน
มีการดำเนินการโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (Analysis) สำหรับการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ขั้นตอนที่ 2 ((Design and Development) การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 (Implementation) การนำรูปแบบไปทดลองใช้ และขั้นตอนที่ 4 (Evaluation) การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สำหรับรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธรพบว่า
1.1 องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้
เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ของโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร พบว่า
องค์ประกอบของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 4 ด้าน คือ 1) ด้านการออกแบบการเรียนรู้ 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) ด้านการใช้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ และ 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ องค์ประกอบด้านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 7 ขั้นตอน คือ 1) การรวมกลุ่ม PLC สร้างทีม 2) การวิเคราะห์สภาพปัญหา 3) ออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู/กิจกรรม/นวัตกรรม 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู และปรับปรุงแกไข 5) นำแผนสู่การปฏิบัติ/สังเกตการสอน 6) การสะท้อนผล และ 7) การรายงานผลการดำเนินงาน และองค์ประกอบด้านศักยภาพของผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามรถในการคิด 3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และ 4) ผลงานนักเรียน
1.2 แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพ
ผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ควรจัดโครงการพัฒนา
บุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เป็น
เครื่องมือในการพัฒนาครู ให้ครูสามารถนำไปสู่ชั้นเรียนได้จริงเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดประสิทธิผลตาม
เป้าหมายของโรงเรียน ให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เกิดเป็นพลังในการขับเคลื่อนคุณภาพ
การศึกษาทั้งคุณภาพของผู้สอน และ คุณภาพของผู้เรียน ทำให้ครูเกิดพัฒนาการด้านความรู้ และ
ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ร่วมมือร่วมใจ และการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนเกิด
การพัฒนาทั้งด้านความรู้ และทักษะต่าง ๆ
1.3 สภาพปัจจุบันสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่
ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร พบว่า สมรรถนะครูด้านการจัดการ
เรียนรู้เชิงรุกโดยรวมมีพฤติกรรมการปฏิบัติในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยได้ดังนี้
ด้านการออกแบบการเรียนรู้เป็นลำดับแรก ด้านการจัดการเรียนรรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการวัด
และประเมินผลการเรียนรู้ และด้านการใช้สื่อและการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ส่วนด้านการส่งเสริม
ศักยภาพของผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ โดยรวมมีพฤติกรรมการปฏิบัติในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็น
รายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติในระดับมากและปานกลาง โดยพฤติกรรมการปฏิบัติในระดับมาก คือ ด้าน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในด้านความสามารถในการคิด ส่วน
พฤติกรรมการปฏิบัติในระดับปานกลางคือ ด้านผลงานนักเรียน และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และครูมีการใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยรวมในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณากิจกรรมเป็นรายข้อ พบว่า มีพฤติกรรมการปฏิบัติในระดับปานกลางคือ การวิเคราะห์สภาพปัญหา การออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู/กิจกรรม/นวัตกรรม การ แลกเปลี่ยนเรียนรูและปรับปรุงแกไข การการรวมกลุ่ม PLC สร้างทีม การนำแผนสู่การปฏิบัติ/สังเกตการสอน การสะท้อนผล และการรายงานผลการดำเนินงาน
1.4 สภาพที่พึงประสงค์ คือสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นหรือความคาดหวังที่อยากให้เกิดเพื่อการ
พัฒนาและปรับปรุง เกี่ยวกับสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความ
เป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร พบว่า มีความคาดหวังโดยรวมอยู่ใน
ระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าความคาดหวังมากที่สุดคือด้านสมรรถนะครูด้าน
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีสภาพที่พึงประสงค์ระดับมากที่สุด
ทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ มีการออกแบบการเรียนรู้เป็นลำดับแรก การ
จัดการเรียนรรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การใช้สื่อและการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ และ การวัดและ
ประเมินผลการเรียนรู้ ส่วนความคาดหวังด้านการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ โดยรวม
ระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีสภาพความคาดหวังด้านสมรรถนะสำคัญของ
ผู้เรียนในด้านความสามารถในการคิด ด้านผลงานนักเรียน ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ส่วนความคาดหวังของครูด้านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง
วิชาชีพ (PLC) โดยรวมมีระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณากิจกรรมเป็นรายข้อ พบว่า มีความคาดหวัง
มากที่สุดเรียงลำดับได้ดังนี้อ ขั้นที่ 6 การสะท้อนผล ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรูและปรับปรุงแกไข ขั้นที่
7 การรายงานผลการดำเนินงาน ขั้นที่ 3 ออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู/กิจกรรม/ ขั้นที่ 5
นำแผนสู่การปฏิบัติ/สังเกตการสอน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในระดับมากมี 2 ข้อ คือ ขั้นที่ 1 การ
รวมกลุ่ม PLC และ ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์สภาพปัญหา
1.5 ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนา
ศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกุดชุม
วิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร พบความต้องการจำเป็น โดย
เรียงลำดับได้ดังนี้ ความต้องการจำเป็นในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทางวิชาชีพ (PLC) โดยต้องการพัฒนาขั้นการสะท้อนผล ขั้น การรายงานผลการดำเนินงาน ขั้นการ
ออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู/กิจกรรม/นวัตกรรม ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรูและปรับปรุงแกไข
ขั้นนำแผนสู่การปฏิบัติ/สังเกตการสอน ส่วนขั้นการรวมกลุ่ม PLC สร้างทีม และขั้นการวิเคราะห์สภาพ
ปัญหามีความต้องการเป็นลำดับสุดท้าย ส่วนด้านศักยภาพของผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ ต้องการพัฒนา
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ผลงานนักเรียน) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในด้านความสามารถ
ในการคิด และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และด้านสมรรรถนะครูด้านการจัดการ ต้องการพัฒนาด้านการ
ออกแบบการเรียนรู้ เป็นลำดับแรก ด้านการใช้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นลำดับสุดท้าย
2. ผลพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร พบว่ามีองค์ประกอบของรูปแบบ 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดพื้นฐาน 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) เนื้อหา 5) กระบวนการ และ 6) การวัดผลประเมินผล มีองค์ประกอบของสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 4 ด้าน คือ 1) ด้านการออกแบบการเรียนรู้ 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) ด้านการใช้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ และ 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อนำสู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 7 ขั้นตอน คือ 1) การรวมกลุ่ม PLC สร้างทีม 2) การวิเคราะห์สภาพปัญหา 3) ออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู/กิจกรรม/นวัตกรรม 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู และปรับปรุงแกไข 5) นำแผนสู่การปฏิบัติ/สังเกตการสอน 6) การสะท้อนผล และ 7) การรายงานผลการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายคือพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศภายใต้กรอบสมรรถนะของผู้เรียนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (2563) เพื่อนำมาสรุปเป็นกรอบตัวชี้วัดศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งประกอบด้วย 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามรถในการคิด 3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และ 4) ผลงานนักเรียน ซึ่งผลการประเมินองค์ประกอบของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ
3. ผลการนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธรไปทดลองใช้ พบว่า ความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.67/87.50 โดยมีค่าเฉลี่ยของ
คะแนนหลังการอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลการประเมิน
สมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า มีพฤติกรรมการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีการปฏิบัติในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมาก
ไปหาน้อยคือ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการออกแบบการเรียนรู้ ด้านการใช้และ
พัฒนาสื่อการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ส่วนด้านกระบวนการแห่งชุมชนการ
เรียนรู้พบว่า โดยรวมมีพฤติกรรมการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่า
มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุดทุกขั้นตอนโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยคือ ขั้นที่ 6 การ
สะท้อนผล ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรูและปรับปรุงแกไข ขั้นที่ 5 นำแผนสู่การปฏิบัติ/สังเกตการสอน
ขั้นที่ 7 การรายงานผลการดำเนินงาน ขั้นที่ 3 ออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู/กิจกรรม/
นวัตกรรม ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์สภาพปัญหา และ ขั้นที่ 1 การรวมกลุ่ม PLC สร้างทีม ส่วนผลการ
ประเมินความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อ
พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ โดยรวมมีความพึงพอใจมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อ
พัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของ
โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร พบว่า
4.1 ผลการประเมินศักยภาพของผู้เรียนหลังจากการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู
ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่ง
การเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ศรีสะเกษ ยโสธร ปีการศึกษา 2565 พบว่า ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรายวิชาในระดับ 3ขึ้นไป ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สูงกว่าค่าเป้าหมายทุกรายวิชา ส่วนผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการคิด ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 พบว่ามีผลการประเมินสูงกว่าค่าเป้าหมายทุกระดับชั้น ส่วนผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 พบว่ามีผลการประเมินสูงกว่าค่าเป้าหมายทุกระดับชั้น และด้านผลงานนักเรียน พบว่า ผลงานนักเรียนที่เกิดเป็นที่ยอมรับหรือบรรลุตามเป้าหมายได้เป็นอย่างดีเมื่อเทียบเคียงกับหน่วยงานชนิดเดียวกันหรือหน่วยงานอื่นและสามารถเป็นแบบอย่างหน่วยงานชนิดเดียวกันได้ พิจารณาจาก 1) ผลงานหรือรางวัลนักเรียนที่เกิดจากการพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการทั้งหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชน ไม่น้อยกว่า 5 รายการ 2) ผลงานหรือรางวัลนักเรียนที่เกิดจากการพัฒนาด้านคุณลักษณะอันพึงประสงคของผู้เรียนทั้งหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชน ไม่น้อยกว่า 5 รายการ และ 4) ผลงานดีเด่นของสถานศึกษา ไม่น้อยกว่า 5 รายการ
4.2 ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามแนวกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของ
โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร พบว่า
โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นได้ และด้านความครอบคลุม