ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ EDPTLES Model โดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวง รัชกาลที่ 10 เพื่อสร้างเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องสวยสะดุดตาด้วยผ้ามัดย้อม สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวกาญจนี บอลสิทธิ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนชุมชนบ้านแวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ EDPTLES Model โดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวง รัชกาลที่ 10 เพื่อสร้างเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องสวยสะดุดตาด้วยผ้ามัดย้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ EDPTLES Model โดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวง รัชกาลที่ 10 เพื่อสร้างเสริมทักษะปฏิบัติ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องสวยสะดุดตาด้วยผ้ามัดย้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 3) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สวยสะดุดตาด้วยผ้ามัดย้อม 4) เพื่อสร้างเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สวยสะดุดตาด้วยผ้ามัดย้อม5) ประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ EDPTLES Model โดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวง รัชกาลที่ 10 เพื่อสร้างเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องสวยสะดุดตาด้วยผ้ามัดย้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านแวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ครูและนักเรีย 2) แผนการการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพเพื่อสร้างเสริมทักษะปฏิบัติ เรื่อง สวยสะดุดตาด้วยผ้ามัดย้อม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดทักษะการสร้างเสริมทักษะปฏิบัติและ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของครู และนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ EDPTLES Model โดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวง รัชกาลที่ 10 เพื่อสร้างเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องสวยสะดุดตาด้วยผ้ามัดย้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีองค์ประกอบ คือ สาระความรู้ ทักษะกระบวนการและสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุนและหลักการตอบสนองซึ่งกระบวนการเรียนรู้แบบ EDPTLES Model มีขั้นตอน 7 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Engagement : E) ขั้นที่ 2 ขั้นสาธิต (Demonstration : D) ขั้นที่ 3 ขั้นให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย (Practice sub-skills : P) ขั้นที่ 4 ขั้นให้เทคนิควิธีการ (Techniques : T) ขั้นที่ 5 ขั้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงทักษะย่อย (Link sub-skills : L) ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) และ ขั้นที่ 7 ขั้นร่วมสร้างสรรค์สังคม (Socai creativity : S)
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ EDPTLES Model โดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวง รัชกาลที่ 10 เพื่อสร้างเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่อง สวยสะดุดตาด้วยผ้ามัดย้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.50/90.38 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ EDPTLES Model โดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวง รัชกาลที่ 10 เพื่อสร้างเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องสวยสะดุดตาด้วยผ้ามัดย้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การสร้างเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 88.89 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
5. ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ EDPTLES Model โดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 เพื่อสร้างเสริมทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องสวยสะดุดตาด้วยผ้ามัดย้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก
นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานโดยใช้ทักษะปฏิบัติบนพื้นฐานความรู้ ความ
เข้าใจด้วยตนเอง ส่งผลให้ชิ้นงานมีคุณภาพ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและร่วมสร้างสรรค์สังคมได้