ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC)
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองหอยโข่ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ผู้รายงาน สายใจ ชำนาญดง
ปีที่จัดทำ 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ เพื่อสร้าง เพื่อทดลองใช้ และเพื่อประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองหอยโข่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา ซึ่งดำเนินการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองหอยโข่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล โดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุป ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยยกร่างรูปแบบและจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบ จากนั้นประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การศึกษารูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยนำไปปฏิบัติจริงในปีการศึกษา 2566 กับครูครูโรงเรียนบ้านหนองหอยโข่ง จำนวน 10 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เพื่อประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และผลงาน/ชิ้นงานของนักเรียน โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูโรงเรียนบ้านหนองหอยโข่ง ปีการศึกษา 2566 จำนวน 10 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองหอยโข่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ซึ่งดำเนินการโดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า การขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมกัน การมุ่งเป้าหมายร่วมกันสู่การเรียนรู้ของนักเรียน การร่วมมือรวมพลัง/การทำงานเป็นทีม การชี้แนะการปฏิบัติ การสะท้อนผลการปฏิบัติ โครงสร้างสนับสนุนจากผู้บริหาร การมีภาวะผู้นำร่วม และชุมชนกัลยาณมิตร มีกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ ขั้นวิเคราะห์ ขั้นวางแผนการจัดการเรียนรู้ ขั้นเปิดชั้นเรียนและสังเกตชั้นเรียน ขั้นสะท้อนผลเพื่อการพัฒนา และขั้นสรุป แก้ไขปรับปรุง และพัฒนาต่อเนื่อง ส่งผลให้ครูมีความเข้าใจในหลักการและกระบวนการ PLC ทักษะการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก สามารถออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนได้ และผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ดีขึ้น มีเจตคติเชิงบวกต่อการเรียน และมีความรู้ทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองหอยโข่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การแบ่งปันคุณค่าและวิสัยทัศน์ (Shared Values and Vision) องค์ประกอบที่ 2 การร่วมมือรวมพลังมุ่งสู่การเรียนรู้ของผู้เรียน (Collective focus on student learning) องค์ประกอบที่ 3 การร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) องค์ประกอบที่ 4 การรับคำชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญและการสังเกตชั้นเรียน (Expert advice and study visit) องค์ประกอบที่ 5 การสนทนาสะท้อนผลการปฏิบัติงาน (Reflective dialogue) องค์ประกอบที่ 6 การจัดสภาพที่เอื้ออำนวย (Supportive Conditions) องค์ประกอบที่ 7 การสนับสนุนการเป็นผู้นำร่วมกัน (Supportive and Shared Leadership) และองค์ประกอบที่ 8 ชุมชนกัลยาณมิตร (Caring community) (4) กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวิเคราะห์ (Analyze) ขั้นวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan) ขั้นเปิดชั้นเรียนและการสังเกตชั้นเรียน (Teaching and Observation) ขั้นสะท้อนคิดเพื่อการพัฒนา (Reflect) และขั้นสรุป แก้ไขปรับปรุง และพัฒนาต่อเนื่อง (Revise) (5) การวัดและประเมินผล และ (6) เงื่อนไขความสำเร็จ
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองหอยโข่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่า (1) คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนจอมพระประชาสวรรค์ มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ครูมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) ผลงาน/ชิ้นงานของนักเรียนโรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองหอยโข่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ด้านความถูกต้องครอบคลุม ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด